การบริหารเชิงยุทธศาสตร์


 ปัจจุบันเรามักได้ยินคำว่า  การบริหารยุทธศาสตร์  การบริหารยุทธศาสตรเป็นการนำแนวคิดเชิงระบบมาใช้  คือมี input process และ output แต่จะเริ่มต้นที่ output นั่นคือ  

1.     ไม่ว่าเราจะวางแผนทำเรื่องใดก็ตาม  เราต้องรู้ผลลัพธ์ที่เราต้องการก่อน  นั่นคือเราต้องรู้ก่อนว่าผลลัพธ์ที่เราต้องการนั้นคืออะไร เช่น หน่วยงานเราต้องการเป็นองค์กรที่มีผลงานยอดเยี่ยม หรือ Hi performance Organization

2.     ตามด้วยเราต้องมาวิเคราะห์จุดอ่อนจุดแข็งของเราเช่นสู่ผลลัพท์ที่ต้องการนั้น เรามีคนพอไหม  ศักยภาพถึงไหม  มีงบประมาณสนับสนุนหรือเปล่า  มีเทคโนโลยีอะไรที่มาเอื้อบ้างหรือเปล่า มีโอกาสหรือสิ่งคุกคามจากภายนอกหรือไม่ การทบทวนงานของเราสุดท้ายเราต้องรู้ว่างานไหนเราทำเองได้  งานไหนเราควร outsource โดยประเด็นในการคิดง่ายๆ ก็คืองานที่ต้องมีเรา  งานที่ใครทำแทนไม่ได้  นั่นคืองานที่เราต้องทำเอง  พูดง่าย ๆ คือ Core  function ถ้า non-core function ก็ outsource ได้

3.     ภาระงานกับคนของเราสมดุลหรือไม่ พิจารณา HR ของเราที่มีอยู่  แบ่งเป็นกลุ่ม ประเภท จำนวน กลุ่มอายุ ทักษะ สมรรถนะ ออกมา เราก็จะเห็นว่ากลุ่มไหนเหมาะสมกับงานไหนตามผลลัพท์ที่ต้องการในข้อ 1 และพิจารณาต่อว่าภาระงานและคนของเราสมดุลไหม  เราต้องพัฒนาคนของเราในเรื่องใดบ้าง à Training need  ให้ตรงกับภาระงาน มี competency เหมาะสมกับบทบาทภาระงานเขารับผิดชอบเพื่อทำงานได้ตามผลลัพท์ที่ต้องการในข้อ

4.     ถ้าสิ่งต่าง ๆเหล่านี้เราพร้อมเราก็มาพิจารณาต่อว่าทุกวันนี้เราทำอย่างไร  ถ้าต้องการผลลัพท์ตามที่ตั้งไว้เราต้องปรับกระบวนการทำงานหรือไม่  เราลดขั้นตอนอะไรลงได้บ้างเพื่อความคุ้มค่า

5.     ตามด้วยประเมินผลงานของเราว่าได้ตามผลลัพท์ที่ตั้งไว้หรือไม่  ถ้าทำได้ดีแล้วเราจะทำให้ยั่งยืนได้อย่างไร ผลออกมาดีเราก็ต้องไม่ลืมที่จะ reward เพื่อรักษาคนเก่ง คนดีให้อยู่กับองค์กร เราต้องจูงใจคนของเราในเรื่องใดบ้างเพื่อให้สิ่งที่เราพัฒนานั้นยั่งยืน  แนวคิดการมองเชิงระบบคือการทำอย่างไรให้การปฏิบัตินั้นคงอยู่อย่างยั่งยืน  จึงต้องมียุทธศาสตร์ในการเสริมแรงจูงใจเพื่อรักษาคนเก่ง คนดี ของเราให้ทำงานอย่างทุ่มเทเต็มศักยภาพอาจใช้หลัก 3Ps ในการ reward คือ

    Pay for position

    Pay for competency

    Pay for performance

 

แนวคิดการมองเชิงระบบ  ให้ความสำคัญกับระบบประเมินผลงาน

(Performance Appraisal)

ไม่ว่าผลการประเมินออกมาจะดีหรือไม่ดีก็ตาม  เพื่อให้เห็นได้ว่าปัจจัยสู่ความสำเร็จ

โดยการทบทวน 6Rs

    Review work load and manpower

    Retain อนุรักษ์กำลังคน  เราต้องพัฒนาใคร

    Retrain  พัฒนาในเรื่องใด

    Relocate  จัดสรรคนไปอยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสมกว่า

    Review performance &competency  เพื่อให้ทราบว่าใครต้องพัฒนาเพิ่มเติมเพื่อ

   ทำงานใหม่ได้ บางคนมี Competency แต่ผลการปฏิบัติงานไม่ดี บางคนขยันทำงานแต่ไม่มี

   Competency

    Reward  ใครควรได้รับการปรับค่าตอบแทน

    Survival องค์กรเราอยู่รอดหรือไม่  ถ้า  6Rดี  เหมาะสม  องค์กรก็จะอยู่รอด 

    ถ้ายังไม่ดีก็ทบทวนใหม่

ก็จะเป็นวงรอบการคิดอย่างเป็นระบบค่ะ 

 

 ...............................

คนึงนิจ อนุโรจน์

 

 

หมายเลขบันทึก: 186926เขียนเมื่อ 8 มิถุนายน 2008 19:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 29 พฤษภาคม 2013 09:14 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ขอบคุณครับ สั้นและง่าย เข้าใจง่ายดีมาก

ท่านได้ทำหน้าที่ของคนเก่งแล้ว ที่ทำเรื่องยากให้ง่ายครับ

การปฏิรูประบบราชการแบบเข้าแท่งก็มีการประเมินผลงานเป็นรายบุคคล โดยกระจายค่างานลงไปจนถึงผู้ปฏิบัติ ก็น่าจะดีกว่าการประเมินแบบเก่า (เด็กใคร เด็กมัน ใครเสียงดังกว่าจะได้ ใช้ความรู้สึกประเมิน)

ก็ไม่ค่อยเข้าใจชัดเจนเท่าไร ว่าจะลองนำมาใช้ในองค์กรในปีนี้ จะได้เรียนรู้จากการปฏิบัติจริง

ท่านใดพอจะให้คำแนะนำได้บ้างครับ?

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท