หมากหลุม


   เวลาหนึ่งทุ่มกว่าๆ ของวันพุธที่ ๕ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๕๑ อาได้พูดถึง "หมากหลุม" ที่ย่ากับปู่เล่นกันทุกวัน และพูดในเชิงตลกขบขันว่า ปู่นั้นแพ้วัวเป็นพันไม่เห็นจะรู้สึกอะไร แต่พอมาแพ้หมากหลุมให้กับย่า กลับทำหน้าตาโกรธเคือง พร้อมกับหัวเราะฮาฮา "หล๊ก..คงเสียเชิง" (ตลก) และเอ่ยต่อว่า ย่านั้นเล่นหมากหลุมเก่ง

   จากนั้นวงสนทนาก็กลายเป็นวงเอ่ยถึงอดีตที่เคยเป็นตัวเอกในการชนะหมากหลุม จากนั้นจึงชวนกันไปเล่นหมากหลุมกันที่บ้านย่า ผมทราบมาว่า เด็กจำนวนหนึ่งในหาดใหญ่ยังอนุรักษ์การละเล่นแบบไทยๆ อย่างหมากฉุด หมากเก็บ กระโดดยาง ผมจึงเอ่ยให้อาฟังไปว่า "อ้าว ผมนึกว่าเด็กเดี๋ยวนี้เขาอยู่แต่หน้าจอโทรทัศน์หรือหน้าจอคอมพิวเตอร์กันหมดแล้ว" การเอ่ยคำนี้ขึ้น เพื่อจะบอกว่า ผมดีใจที่ยังมีการอนุรักษ์การละเล่นพื้นบ้านนี้ อนุรักษ์นี้ไม่ใช่อนุรักษ์โดยกระบวนการของรัฐหรือการจัดการเพื่อการอนุรักษ์ไว้เท่านั้น แต่เกิดจากเด็กยังนิยมชมชอบกับการละเล่นแบบนี้

  เราขับรถตามกันไปบ้านย่าซึ่งเปิดร้ายขายของอยู่หน้าควน เห็นปู่กับอาอีกคนหนึ่งกำลังเล่นกันอย่างสนุก และย่าก็นอนดูอยู่บนพนักอิง เราเข้าไปไหว้ย่าและปุ่เสร็จ จึงนั่งดูด้วย จากนั้นจึงมีการประลองเชิงหลังจากที่พยายามดูและเรียกความรู้สมัยเด็กกลับคืนมา "ธรรมดา ความรู้หากไม่ได้ทบทวน เวลาจะทำให้ความรู้แม้จะชำนาญนั้นหายไป แต่ความรู้เหล่านั้นไม่ได้อยู่ที่ไหน ยังคงซุ่มอยู่ในตัวบุคคลนั่นเอง"

  ย่าและอานั่นเอง คอยสอนผม...ขอบคุณครับสำหรับความรู้ที่ได้ถ่ายทอดให้มานี้

หมายเลขบันทึก: 186287เขียนเมื่อ 5 มิถุนายน 2008 09:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 ตุลาคม 2015 10:42 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

สวัสดีค่ะ

* อยากเล่นหมากหลุมบ้าง....ช่วยอธิบายกติกาการเล่นหน่อยนึงนะคะ

* ชอบบทสรุปมากเลยค่ะ "ธรรมดา ความรู้หากไม่ได้ทบทวน เวลาจะทำให้ความรู้แม้จะชำนาญนั้นหายไป แต่ความรู้เหล่านั้นไม่ได้อยู่ที่ไหน ยังคงซุ่มอยู่ในตัวบุคคลนั่นเอง"

* ฟังเล่าแล้ว...เห็นภาพครอบครัวที่มีความสุขสนุกสนานแบบพื้นบ้านจริงๆ

* ต้องขอบคุณคุณปู่คุณย่าที่ยังอนุรักษ์วัฒนธรรมเช่นนี้และพยายามมอบไว้ให้แก่เด็กๆ สืบไป

* ฝากธุท่านทั้งสองด้วยค่ะ

หมากหลุมที่ว่าใช่หมากขุมของคนนครใช่หรือเปล่าค่ะ  ที่มีแม่เริน และลูกฝ่ายละ 7 ขุม ไม่แน่ใจว่าอันเดียวกันหรือเปล่า ตอนเด็กๆเคยเล่นกับพี่ชายแล้วแพ้ทุกที แต่พี่แกขี้โกงหากว่าไปถึงขุมที่ว่างก็จะตายเดินต่อไม่ได้ แกก็เลยใส่ควบเลย 2 ลูกแล้วก็ไม่เห็นตอนที่กำขึ้นมาด้วยความที่เราเป็นเด็กกว่าอย่างนี้ก็มี

ที่บ้านยังมีอุปกรณ์เล่นหมากหลุมอยู่เลยคะ

เมื่อก่อนตอนเด็กๆ เล่นกับแม่ประจำ แต่เดี๋ยวนี้ไม่ค่อยได้เล่นแล้ว

มาอ่านบันทึกนี้ของอาจารย์แล้วอยากเล่นอีกจังคะ สนุกไม่น้อยเลย

สวัสดีครับ อาจารย์พรรณา

  • ผมก็แปลกใจเหมือนกันครับว่า เขายังอนุรักษ์สิ่งเหล่านี้อยู่ในวิถีชีวิตได้อย่างไร
  • เกือบสามสิบปีแล้วที่ห่างจากหมากหลุม เมื่อคืนได้มีโอกาสไปทบทวนอีกครั้งหนึ่ง ต้องให้ย่าคอยนั่งสอน แต่ผมก็ดาวซินโดมบ่อยๆ
  • ในสมัยผมเด็กๆ ผมใช้หลุมดินที่ขุดขึ้นเอง โดยใช้เม็ดเยี่ยวหวาด..(เม็ดหวาด..ไม่รุ้เขียนถูกหรือไม่ เดี๋ยวให้ครุภาษาไทยมาตรวจอีกทีนะครับ) เป็นเม็ดกลมๆสีออกขาวคล้ำ แต่ตอนนี้เขามีตารางหมากขุมที่มีการขุดบนไม้ด้วยเครื่องมือสมัยใหม่แล้ว คนมือใหญ่อาจเล่นยากหน่อยนะครับ ส่วนลูกที่นำมาเล่นคือ ลูกแก้ว
  • แต่ละหลุมเราต้องใส่ลูกแก้วหลุมละ ๗ เม็ด แล้วเริ่มเดินครับ
  • หลุมนั้นมีอยู่ ๒ ฝ่าย ถ้าเกิดเดินไปหมดที่ฝ่ายเรา ซึ่งฝ่ายตรงข้ามมีลูกอยู่ เราก็กินได้ แต่ถ้าเดินไปหมดที่ฝ่ายตรงข้าม เราก็จะไม่ได้อะไร

สวัสดีครับ คุณตุ๊กตา

  • ที่ชุมพรเรียกว่า หมากขุม ครับ น่าจะมาจากย่างสามขุมหรือไม่ก็ไม่ทราบนะครับ ส่วนหมากหลุมก็น่าจะใช่ เพราะเราขุดหลุมลงดินก่อนเดินหมาก
  • ใช่ครับ มีแม่เริน มีการกินเมือง มีการโกงอย่างนั้นจริง แต่ที่จะได้คือ การใช้ตรรกะ

สวัสดีครับ คุณมะปรางเปรี้ยว

  • หลังจากเล่นเมื่อคืนแล้ว ผมก็ยังอยากเล่นอีก เป็นเสน่ที่ดีทีเดียวครับ
  • วันหลังค่อยมาเล่นอีก ประมาณว่า ติดใจ
  • คงแก่ตัวแล้วละมั้งครับ ผมถึงมานั่งทบทวนความหลังอันหวานชื่นกับการละเล่นแบบไทยๆ ยังตั้งใจอยู่ว่า จะจัดให้มีการแข่งขันการละเล่นแบบไทย-พื้นบ้าน ระหว่างอาจารย์กับอาจารย์หรือนักศึกษาแข่งขันกันเอง แต่คงต้องรออธิการบดีที่มีความรู้สึกอยากอนุรักษ์ไว้ก่อนครับ มิฉะนั้นนโยบายนี้จะไม่ได้รับการตอบสนอง
  • ไม่รู้ว่าในอินเตอร์เน็ตจะมีหมากหลุม-ขุม อยู่หรือไม่นะครับ ถ้ายังไม่มี คุณมะปรางก็เขียนโปรแกรมนี้มาเลยนะครับ ผมจะได้อุดหนุนการเล่นด้วย :-)

เป็นการละเล่นที่ส่งเสริมทักษะการคำนวณได้เป็นอย่างดีเลบค่ะ แล้วเด็กสมัยนี้ไม่รู้จักแล้วด้วย ดิฉันหามาให้นักเรียนเล่นที่โรงเรียนเด็ก ๆ ชอบมากเลยค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท