KM รูปแบบการบริการวิชาการด้านสุขภาพ ครั้งที่ 2/2551


การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ครั้งที่ 2/2551

                สืบเนื่องจากงานเวชกรรมสังคม  โรงพยาบาลศรีนครินทร์  ได้จัดประชุมการจัดการความรู้  (Knowledge  Management  : KM)  ครั้งที่ 1/2551 ในวันที่  22  เมษายน 2551  เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน    ระหว่างบุคลากรในหน่วยงาน   ซึ่งในการประชุมได้กำหนดชื่อกลุ่ม  วัตถุประสงค์และรายละเอียดต่างๆ  ไปแล้วนั้น

โดยครั้งนี้เป็นครั้งที่ 2/2551 งานเวชกรรมสังคมได้เชิญหน่วยงานต่างๆ  เข้าร่วมประชุม  เช่น ภาควิชาเวชศาสตร์ชุมชน   งานบริการพยาบาล  และงานประชาสัมพันธ์   เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันมากยิ่งขึ้น

การประชุมการจัดการความรู้ครั้งนี้ งานเวชกรรมสังคม ขอรายงานความก้าวหน้าของการประชุม โดยสรุปหัวข้อได้ดังนี้

 

ผลการประชุมและแลกเปลี่ยนเรียนรู้

                จากการประชุมการจัดการความรู้  ครั้งที่2/2551 วันที่ 27 พฤษภาคม 2551  เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันระหว่างบุคลากรงานเวชกรรมสังคม  เรื่อง  รูปแบบการให้บริการวิชาการด้านสุขภาพแก่สังคม  นั้น  โดยครั้งนี้ ที่ประชุมได้พิจารณาเพื่อเน้นการให้บริการวิชาการทางสังคมในเชิงรุกสำหรับผู้รับบริการ   ในการให้บริการนอกสถานที่   ซึ่งสมาชิกในกลุ่มได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้กันพอที่จะสรุปได้ ดังนี้ 

 

1.       การจัดกิจกรรมควรพิจารณาฤดูกาลด้วยหรือไม่   เพราะอาจจะส่งผลต่อจำนวนผู้เข้ารับบริการ          ที่ประชุมเห็นว่าฤดูกาลไม่น่าจะเป็นอุปสรรค ขึ้นอยู่กับกลุ่มเป้าหมาย  กรณีชุมชนในเมืองคงไม่มีปัญหา   แต่หากเป็นชนบทอาจมีปัญหาในช่วงฤดูกาลที่จัดกิจกรรม

2.       สถานที่จัดควรสะดวกต่อการเดินทางหรือไม่

3.       ควรมีค่าใช้จ่ายในการเดินทางสำหรับผู้รับบริการ  ที่ประชุมให้ข้อมูลเพิ่มเติม สมควรให้หาแหล่งและสถานที่ แล้วแต่งบประมาณและกลุ่มเป้าหมาย

4.       ควรมีการประชาสัมพันธ์และแถลงข่าวให้ทราบก่อนล่วงหน้า  เช่น  กำหนดการการจัดกิจกรรม รายละเอียดต่างๆ ของกิจกรรมเพื่อให้ผู้รับบริการมีความเข้าใจมากยิ่งขึ้น

5.       สื่อควรน่าสนใจมากขึ้นกว่าเดิม เช่น แสง สี เสียงชัดเจนและเป็นภาพเคลื่อนไหว  ตัวหนังสือน้อยลง  

       เพื่อดึงดูดความสนใจของผู้รับบริการ

6.       หากเป็นภาพนิ่งควรเป็นภาพที่ทันสมัย  เป็นความจริง  และมีสีสันสวยงาม น่ามอง  

7.       ควรมีเอกสารแจกในงาน เช่น แผ่นพับ  โปสเตอร์ และอื่นๆ


8.       การให้ความรู้ด้านสุขภาพนั้น ควรให้องค์ความรู้ที่ตรงตามความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย

9.       ควรมีการนำเสนอภาพกิจกรรมในรูปแบบของคลิปวีดีโอหรือสไลด์มัลติมิเดียในเรื่องที่เคยดำเนินการมาแล้ว เพื่อเสนอในขณะดำเนินกิจกรรม ทั้งนี้ผู้รับบริการจะได้ทราบและกระตุ้นให้ผู้ข้าร่วมกิจกรรมเห็นภาพ และสนใจที่อยากจะเข้าร่วมในครั้งต่อไป

                สรุปผลการประชุมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของบุคลากรงานเวชกรรมสังคมครั้งนี้   ทำให้บุคลากรทุกท่านได้แสดงความคิดเห็นและเล่าประสบการณ์ร่วมกัน   เพื่อหาแนวคิดใหม่ๆ ในการที่จะนำมาพัฒนารูปแบบของการบริการวิชาการด้านสุขภาพแก่สังคมให้บังเกิดผลดีมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

หมายเลขบันทึก: 185680เขียนเมื่อ 2 มิถุนายน 2008 10:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 00:20 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ดีใจครับ งานเวชกรรมได้นำ Km มาเติมเต็มงานประจำ CQI เกิดขึ้นแน่นอนครับ

เรียน อ.จิตเจริญ

ขอบคุณคะ ขอกำลังใจจากอาจารย์ในการทำ KM

และขอปรึกษาอาจารย์

ประกาย พิทักษ์

เลขากรรมการ KM งานเวชกรรม

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท