เข้ายาก เรียนยาก จบยาก


หลักสูตรของมหาวิทยาลัยใดที่มีลักษณะ "เข้ายาก เรียนยาก จบยาก" คงไม่มีนักศึกษาคนไหนอยากเลือกมาเรียน

"เข้ายาก" เช่น เป็น international programme ต้องสอบภาษาอังกฤษให้ผ่านตามเกณฑ์ก่อน แต่เรื่องนี้ถือเป็นการพัฒนาทั้งตัวหลักสูตรและตัวผู้สมัคร หากมหาวิทยาลัยใดต้องการแข่งขันในระดับสากล

"เรียนยาก" เช่นสอนเป็นภาษาอังกฤษ ยกตัวอย่างเช่น หลายหลักสูตรของคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และมีหลาย course work ที่นักศึกษาต้องเรียนในชั้นปีที่ 1 เพื่อปรับฐานให้ดีก่อนเข้าไปเรียนในแต่ละภาควิชา อันนี้อ่จเป็นอุปสรรคหากมีนักศึกษาด้าน computational science อยากมาทำวิจัยด้าน bioscience หรือ life science

"จบยาก" อาจมาจากหลายสาเหตุที่สนับสนุนกัน เช่น

1. เสียเวลาเรียน course work ที่เป็น classroom-based หรือ lecture-based ไป 1 ปีตอนปี 1 ทำให้ ป.โทเหลือเวลาทำวิจัยเพียง 2 ปี, ป.เอกเหลือ 3-4 ปี

2. advisors บางคน ไม่มี projects ที่ชัดเจน คือแล้วแต่ว่านักศึกษาอยากทำอะไร

3. projects ไม่เหมาะสมกับระดับนักศึกษา แยกไม่ชัดเจนว่าแค่ไหนควรเหมาะสำหรับป.โท แค่ไหนป.เอก ทำให้ป.โททำมากหรือยากเกิน จนไม่จบเสียที หรือป.เอกทำเรื่องง่ายเกินจนจบไม่ลง

4. โครงการวิจัยพึ่งพาต่างชาติ คือส่วนที่สำคัญของงานไปทำที่ต่างประเทศ พอครบเวลากลับยังทำไม่เสร็จดี แล้วมาทำต่อในประเทศไม่ได้ หรือเป็นโครงการที่ไม่ได้คิดเอง

หมายเลขบันทึก: 185548เขียนเมื่อ 1 มิถุนายน 2008 11:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 00:19 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท