beeman 吴联乐
นาย สมลักษณ์ (ลักษณวงศ์) วงศ์สมาโนดน์

The Toyota Way (BM 4) : Respect for People


Mutual trust มีความไว้วางใจซึ่งกันและกัน

   ขยายความเสาหลักที่ 2 คือ Respect ได้แก่ 4. Respect (for people) และ 5. Team work

4. Respect (for people)

    ที่ Toyota เขา Respect พนักงาน เขามองว่าพนักงานเป็นทรัพย์สินที่สำคัญที่สุด (ยอมรับความสามารถเบื้องต้นของพนักงาน มีวิธีการทำให้พนักงานกล้าแสดงออก) ซึ่งอาจมองเห็นจากข้อความต่อไปนี้

"ช่วงเศรษฐกิจตกต่ำ (ค.ศ.1997) บริษัทฯ เป็นองค์กรเดียวที่ไม่ได้ปลดพนักงานออก แต่แก้ปัญหาโดยการผลิตให้ช้าลง เนื่องจากบริษัทฯ มองว่าคนเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุด และมองการณ์ไกลไปถึงช่วงที่เศรษฐกิจฟื้นตัวว่า หากปลดพนักงานออกในช่วงเศรษฐกิจตกต่ำแล้ว เมื่อเศรษฐกิจดีขึ้นจะไม่มีคนทำงาน การตัดสินใจดังกล่าวทำให้บริษัทฯ ได้รับการยอมรับมากขึ้น "

    ผู้บริหารสูงสุดของบริษัทโตโยต้า คือ ประธานเบอร์หนึ่งของประเทศญี่ปุ่นอายุ 80-85 ปี จะมาประเทศไทยทุกปี และต้องมีกิจกรรมเข้าเฝ้าในหลวง แต่ที่มีความสำคัญและต้องปฏิบัติทุกปีเหมือนกันคือเดินจับมือกับพนักงานทุกคน

   เวลา Toyota มีพิธีเปิดงาน ประธานบริษัทก็จะตัดริบบิ้นคู่กับประธานสหภาพแรงงาน (ให้ความสำคัญกับพนักงาน) เวลามีปัญหากรณีพิพาท ก็จะมีการประชุมเพื่อหาข้อสรุปกันหลายครั้ง และจะต้องมีตัวเลขที่ไม่ปกปิด คือ ตัวเลขในมือผู้บริหารกับพนักงานเป็นตัวเลขแบบเดียวกัน

Key word ในที่นี้คือ Mutual trust มีความไว้วางใจซึ่งกันและกัน (ดูจากภาพประกอบ)

   
   ภาพความสัมพันธ์ระหว่างบริษัทกับพนักงาน ซึ่งมีวัฒนธรรมไว้ใจซึ่งกันและกัน  
     

   ช่วงเศรษฐกิจ ตกต่ำ ซึ่งบริษัทฯ เป็นองค์กรเดียวที่ไม่ได้ปลดพนักงานออก แต่แก้ปัญหาโดยการผลิตให้ช้าลง เนื่องจากบริษัทฯ มองว่าคนเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุด และมองการณ์ไกลไปถึงช่วงที่เศรษฐกิจฟื้นตัวว่า หากปลดพนักงานออกในช่วงเศรษฐกิจตกต่ำแล้ว เมื่อเศรษฐกิจดีขึ้นจะไม่มีคนทำงาน การตัดสินใจดังกล่าวทำให้บริษัทฯ ได้รับการยอมรับมากขึ้น

5. Teamwork (ทำงานเป็นทีม)

    Respect for individual; Realizing Consolidated Power as a Team ที่โตโยต้าเขาเคารพในความเป็นปัจเจกบุคคล แต่ในขณะเดียวกันเขาก็เชื่อมั่นในพลังของทีม

   ตัวอย่าง คือ เมื่อมีปัญหาบางครั้งผู้บริหารอาจมีคำตอบอยู่ในใจแล้ว แต่เขาจะทำเป็นขั้นๆ คล้ายๆ นี้

 ปัญหา ----> เช็คคำตอบจากพนักงานหลายๆ คน ----> คำตอบคล้ายกัน ---> ตัดสินใจ

(คือให้ทุกคนยอมรับคำตอบและการตัดสินใจก่อน จะได้ไม่มาทะเลาะกันภายหลัง)

ถ้า Make decision แล้ว ติดสินใจแล้ว Implimentation เร็วมาก

ที่ Toyota เขาคิดช้า (รอฉันทามติ) แต่ ทำเร็ว

   ตัวอย่าง การตัดสินใจสร้างโรงงานผลิตรถยนต์แห่งใหม่ ใช้เวลาตัดสินใจหลายเดือนมาก แต่เมื่อตัดสินใจสร้างแล้วเร็วมาก โรงงานขนาดกำลังผลิต 3-5 แสนคัน ใช้เวลาสร้างไม่ถึง 1 ปี (คนญี่ปุ่นละเอียดมาก ตัดสินใจแล้วผิดพลาดน้อยมาก)

note : บันทึกนี้เป็นบันทึกที่ 330 และมีข้อคิดเห็นแล้ว 406 ข้อคิดเห็น ขณะที่อาจารย์หมอวิจารณ์มีบันทึก 999 บันทึก และ 627 ข้อคิดเห็น

หมายเลขบันทึก: 18534เขียนเมื่อ 11 มีนาคม 2006 23:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:17 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ดิฉันขอยกนิ้วให้อาจารย์สมลักษณ์สุดยอดคุณลิขิตจริงๆ ค่ะ

ท่านที่ไม่มีโอกาสได้ไปดูงานกับพวกเรา  เหมือนจะได้ไปด้วย จริงไหมค่ะ  เพราะ อาจารย์เก็บรายละเอียดกลับมาเล่าให้พวกเราได้รับรู้อย่างครบถ้วน รายละเอียดบางอย่าง มาจากการค้นคว้าเพิ่มเติมของอาจารย์เองด้วย ซึ่งมากเกินกว่าที่วิทยากรเขาให้ในวันนั้นจริงๆ เสียอีก ทั้งนี้ในเวลาอันรวดเร็วอีกต่างหาก

โอ้!  สุดยอด สุดยอด จริงๆ

ดิฉันอยากำให้สหภาพโตโยต้าเข้ามาช่วยเหลือพนักงานที่บริษัทไทยอาคาซาวาเพราะดิฉันเป็นพนักงานSUB คอนแทค โดยมีกฎหมายออกมาให้บริษัทปรับพนักงานSUB เป็ฯพนักงานประจำ แต่เราได้ขอทางบริษัทไทยอาคาซา จ ระยองไปแล้ว แต่บริษํทไม่ยอมรับเงื่อนไข ดิฉันจึงิยากให้ช่วย

  • ผม (beeman) คงไม่สามารถช่วยอะไรได้ครับ...
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท