KM กับภาคีเครือข่ายของกรมอนามัย


การสร้างการมีส่วนร่วม มันก็จะใช้สิ่งที่เราจัดการความรู้ เป็นเครื่องมือของการทำงาน คือ การที่เราสามารถปรับงานของเขาได้ ก็หวังว่าจะได้งานที่เป็น Unique คือ เราก็ได้ เขาก็ได้ด้วย ไม่ใช่ให้เขาทำงานที่เราอยากได้ แต่ทำให้งานที่เราอยากได้เป็นของเขา

 

ขอว่าด้วยเรื่องการทำงาน KM กับภาคีเครือข่ายของกรมอนามัย

นพ.สมศักดิ์ ชุณหรัศมิ์จากข้อเสนอที่ต่อมาเรื่อยๆ จาก blog หลากบทเรียนการสร้างงาน KM ของกรมอนามัย / ขับเคลื่อน CKO และค้นหาความสำเร็จ ในการทำงาน KM และอื่นๆ ก็มีข้อคิด วิเคราะห์ของอาจารย์สมศักดิ์ในที่ประชุมมาเล่าให้ฟังต่อนะคะ ...

คำว่า “ภาคี” “การสร้างการมีส่วนร่วม” แปลว่าอะไร

ประเด็นที่ 1 พูดชัดๆ คือ เป็นการพูดถึงเรื่อง การชวนคนมาทำงานด้วยกัน และมีความสัมพันธ์กันผ่านการทำงาน เป็นการทำให้เขากับเราทำงานไปด้วยกันได้

ประเด็นที่ 2 ที่ผมได้จากพวกเราคือ ... การทำงานกับภาคี คือ สร้างความสัมพันธ์ที่ดี ก็แปลว่า ... ทำยังไงจะทำงานกับเขาได้ แต่ก็มีวงเล็บว่า (ที่เราต้องทำอย่างนี้ก็เพราะว่า งานของเรานั้นไปขึ้นอยู่กับเขา ถ้าเขาทำงานของเขาให้ดีได้ งานของเราก็ได้ด้วย) ... แต่ถ้าจะเอางานไปถ่ายทอดโดยที่เขาไม่เห็นด้วยว่าเป็นงานของเขา ก็ไม่น่าสำเร็จ เพราะฉะนั้น ความสำเร็จของการสร้างภาคีเครือข่ายก็คือ การที่เราอยากเห็นเป็นยังไง ซึ่งจากที่เราพบเจอเหตุการณ์จริงสารพัดอย่าง ตั้งแต่ ... โดนต่อว่า ... ไปรู้จักช่วงจังหวะเวลาการทำงานของเขา ไปหาทางพูดกับเจ้านายเขา เป็นต้น

ประเด็นที่ 3 ที่ผมพบว่า พวกเราพูดเกี่ยวไปเกี่ยวมา คือ กระบวนการทำงานสร้างการมีส่วนร่วม เพื่อให้งานของเรา ทำให้เขาได้รู้ ว่าเป็นงานของเขานั้น ... มีสิ่งที่เรียกว่าการจัดการความรู้อยู่ในนั้น ถ้าพวกเราบอกว่า ไม่เห็นเกี่ยวเลย ไม่เห็นเป็นการจัดการความรู้เลย
ผมก็อยากจะบอกว่า ผมก็ได้ยินทั้งสองส่วนครับว่า ... ส่วนหนึ่งที่ผมเรียกว่า การพยายามทำงานร่วมกับภาคี โดยทำงานของเราให้เป็นงานของเขา ที่อาจจะไม่ได้แอบอิง ไม่ได้อยู่บนแนวคิดเรื่องการจัดการความรู้เท่าไรนัก แต่ใช้หลักอื่น เช่น หลักประชาสัมพันธ์ หลักต่อรอง หลักจูงใจ หลักหลอกล่อ แต่ก็มีตัวอย่างจำนวนหนึ่งที่สะท้อนว่า ใช้หลักของการจัดการความรู้ ... อธิบายว่า เวลาผมวิเคราะห์ว่า จะใช้หลักอะไรก็ง่ายๆ ... การทำให้คนอื่นที่ไม่ใช่ลูกน้องเรา มาทำงานร่วมกับเราได้ เรียกว่า การสร้างภาคีเครือข่าย การมีส่วนร่วม โจทย์นี้ มันสร้างได้โดยใช้เครื่องมือ 3 อย่าง คือ 1) อำนาจ 2) ใช้เงิน 3) ใช้ความรู้ และการใช้ความรู้มี 2 วิธี วิธีที่ 1 คือ ให้ความรู้ วิธีที่สอง คือ จัดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ถ้าเราสร้างความมีส่วนร่วมโดยใช้อำนาจ สั่งเขา หรือบอกพักพวกเราที่เป็นนายกเทศมนตรี หรือใครก็แล้วแต่ ก็ทำให้มีส่วนร่วมได้ ถ้ามีเงินให้ ก็บอกว่ามีเงิน มาช่วยกันทำงานหน่อย ... แต่ถ้าเราสร้างความมีส่วนร่วมได้โดยการใช้ความรู้ก็จะดี ซึ่งมี 2 แบบ แบบที่หนึ่งคือ ไปอบรมเขา โดยการให้ความรู้ผ่านการอบรม ก็มักไม่ค่อยได้ผล อบฯ ให้ตาย ถ้าไม่ใช่เป้าฯ ของเขา ถ้าเลยเวลาเขา ถ้าเขาไม่สนใจ ไม่มีใครมาด่าเขา เขาก็ไม่สนใจ เพราะฉะนั้น การทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้จึงสำคัญ เพราะว่าเขาก็จะตระหนัก ... ทั้งตระหนัก ทั้งมองเห็นศักยภาพ แต่ไม่ใช่ว่า ทั้ง 3 อย่างนั้นไม่ต้องใช้นะ ใช้อำนาจก็จำเป็น ใช้เงินก็จำเป็น การอบรมก็จำเป็น แต่ว่าการ ลปรร. ก็จะเป็นเครื่องมือที่สำคัญที่สุด

ภายใต้คำว่า ภาคี เขาเกิดการ ลปรร. กับเรา มันมีเทคนิคอะไร ที่ชัดเจนมากคือ เทคนิคที่เราใช้ใช้อยู่ใน 2 step ใหญ่ๆ และใช้แตกต่างกันเล็กน้อย

อันที่ 1 คือ เทคนิคทั่วๆ ไป ที่เรารู้จักกัน คือ เทคนิคแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ในระหว่างการแก้ปัญหา เช่น ชวนมาคุยกัน ว่าจะทำเรื่องนี้ได้ยังไง ใครมีเทคนิคอะไรดีๆ บ้าง จะสร้างเมืองน่าอยู่ สร้างอะไรดี สร้างตรงไหน จะทำเรื่องตลาดสด จะทำยังไงให้มัน work จับมาคุยกันแล้ว เอกชนบอกว่าเสียเงินตั้งเยอะแยะ เทศบาลก็บอกว่า มีรถอยู่ ก็ลดค่าใช้จ่ายลงไปได้ อันนี้ก็เป็นกระบวนการ ลปรร. ที่ทำให้เกิดกระบวนงานร่วมกัน ในระหว่างที่ตัดสินใจทำงานร่วมกัน อันนี้พวกเราคงทำได้ไม่ยาก พอรู้เรื่องกระบวนการเรียนรู้ก็ไปจัดเรื่อง Telling story หรืออะไรก็แล้วแต่ ก็ทำต่อไปได้

อันที่ผมจับได้ต่อคือ มีการจัดการความรู้อีก Step หนึ่งก็คือ step การทำแผน พูดง่ายๆ ก็คือ บางทีในแบบแรกที่ว่า คือ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ทำงานด้วยกันยังไง มันก็ทำงานกันแบบปลอมๆ เพราะว่ามันไม่ได้เริ่มจากเขา มันเริ่มจากเรา ที่เริ่มจากเขา ในการ ลปรร. ต้องไปจัดการความรู้นี้ หรือ ลปรร. จนทำให้เกิดเป็นแผน คือ เริ่มจากการไปเรียนรู้เสียก่อนว่า ธรรมชาติหน่วยงานของเขาเป็นยังไง เขาสนใจเรื่องอะไร เคยถูกด่าเรื่องอะไร เป็นกังวลเรื่องอะไร ในทางกลับกัน เรื่องที่เราสนใจ เราเป็นห่วง เขายังไม่เห็น ก็ไปหาข้อมูลปัญหามาให้เขารู้ เขาเห็น ที่คุณว่าไม่มีปัญหา ที่แท้จริงมันมีปัญหา แต่ทั้งหมดนี้ต้องทำให้ทันเวลา ไม่ใช่ไปพูดตอนที่เขาทำแผนไปแล้ว เพื่อช่วยในการตั้งงบประมาณของเขา และก็พูดให้ถูกคนด้วย

คุณศรีปราชญ์ สำนักอนามัยสิ่งแวดล้อม กรมอนามัยผมเรียกกระบวนการนี้ว่า กระบวนการจัดการความรู้เพื่อสร้างเป้าหมายร่วมกัน ตรงนี้สำหรับผม ผมฟังพวกเราเล่า และก็ชัดเจนว่า ถ้าเราต้องไปทำงานกับภาคี ซึ่งส่วนใหญ่เขาก็ไม่ได้สนใจ เราต่างหากที่คิดไปว่า เขาน่าจะสนใจ วิธีการทำงานกับภาคีในกรณีแบบนี้ก็คือ ไปทำให้เกิดเป้าหมายคืออะไร ทำให้เกิด common goal ให้ได้ ถ้าเกิดเป้าหมายร่วมได้แล้ว ดีกว่านั้นคือ วิเคราะห์ทำให้เขาได้เป้าหมายขององค์กร ดีกว่านั้นคือ ช่วยเขาวิเคราะห์ให้เขาทำแผนดำเนินการด้วยตัวเอง ถ้าเราทำให้เขาเกิด 3 อย่างนี้ได้ ก็จะดีมาก ซึ่ง 3 อย่างนี้มันไม่ได้เกิดขึ้นมาลอยๆ ไม่ได้เกิดจากการอบรม ถ้าบอกให้เขาเขียนเองก็คงเขียนไม่ได้ เราก็มีหน้าที่ไปช่วยเขาหาข้อมูล เรียนรู้เกี่ยวกับตัวเขา เรียนรู้เกี่ยวกับข้อจำกัดของเขา ลองเสนอความคิดความรู้ของเรา แล้วดูว่าเขารับได้แค่ไหน ถ้าเขารับไม่ได้ โต้แย้งกลับมา เราก็ปรับ ทั้งหมดนี้คือ กระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เหมือนกับการทำแผนแบบมีส่วนร่วม ก็คือไม่ใช่แผนเรา ไม่ใช่แผนเขา เราช่วยกันดู ตรงนี้ที่คุณศรีปราชญ์พูดว่า มันช้าไป ผมก็ว่า ที่มันช้าไป เพราะว่าเรารอกรมสั่ง แล้วค่อยไปบอก ไปชวนเขา เราไม่ได้ใช้ภารกิจของกรมนำ  เราไปใช้แผน และเป้าฯ ของกรมไปทำงานกับภาคี ... ภารกิจของเราชัดเจน คือ การสร้างเสริมสุขภาพ เราก็รู้ว่า แปลว่าอะไร ก็ควรไปดูในบริบทของเขา เขาจะแปลภารกิจของเราในแง่ของเขาเป็นยังไง เราก็ไม่น่าตะพลาดกับการทำงานกับภาคี

เพราะฉะนั้นการทำงานกับภาคี ถ้าพวกเรา sensitive กับเรื่องพวกนี้ เราก็เห็นพลังของการจัดการความรู้ .ซึ่งจะทำให้เกิดแผน (ของเขา) ร่วมกัน ที่เรียกว่า เป้าหมายใหญ่ของกรม ไม่ใช่เป้าหมายเฉพาะเรื่อง ซึ่งตรงนี้เราก็จะได้แสดงฝีมือความรู้ ช่วยเขาวิเคราะห์ ดู ตัดสินใจ ว่า เรื่องอย่างนี้ทำได้กี่วิธี ต้องใช้เงินเท่าไร ทำอย่างไหนใช้เงินน้อยกว่ากัน เมื่อเป็นแบบนี้จะเป็นยังไง หาข้อมูลภาคี ทางนั้นทางนี้มีทรัพยากรอย่างนี้นะ ก็กลับมาช่วยกัน มันก็จะออกมาเองได้

นี่คือ สิ่งที่ผมได้จากที่พวกเราคุยกัน ในที่สุด การสร้างการมีส่วนร่วม มันก็จะใช้สิ่งที่เราจัดการความรู้ เป็นเครื่องมือของการทำงาน คือ การที่เราสามารถปรับงานของเขาได้ ก็หวังว่าจะได้งานที่เป็น Unique คือ เราก็ได้ เขาก็ได้ด้วย ไม่ใช่ให้เขาทำงานที่เราอยากได้ แต่ทำให้งานที่เราอยากได้เป็นของเขา

กลุ่ม ลปรร. กรมอนามัย

 

หมายเลขบันทึก: 18533เขียนเมื่อ 11 มีนาคม 2006 22:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:17 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

คุณหมอครับ   สคส.  จะจัดงานรวมพล "คุณอำนวย"   ในวันที่ 17-18 เมษายน  2549   ณ  ศูนย์ฝึกอบรมบ้านผู้หว่าน  จ. นครปฐม     ทั้งนี้  เพื่อจะมาคุยแลกเปลี่ยน "ความรู้หน้างาน" ของแต่ละคน  ว่าใครใช้เทคนิคอะไรบ้าง  อย่างไร  ผลตอบสนองเป็นอย่างไร?     และที่สำคัญ   หากว่าส่วนรวมเห็นพ้องกันว่า   หากต้องการจะเกาะกลุ่มกันเป็น  "CoP คุณอำนวย"   เราจะต้องทำอะไรกันบ้าง  อย่างไร?

จากที่ได้ติดตามอ่านบันทึกของคุณหมอ  ทำให้เชื่อว่าคุณหมอเล่นบท  "คุณอำนวย" เช่นกัน    จึงใคร่อยากจะเชิญคุณหมอ  มาสร้างสุนทรีสนทนาร่วมกันกับ คุณอำนวย  จากหลากหลายองค์กรในเวทีครั้งนี้

ผมจะโทรคุยรายละเอียด  แต่ยังหาเบอร์ไม่ได้ครับ   

ขอบคุณครับ

ยินดีค่ะ แต่ขอไปเช็คเวลาก่อนนะคะ ว่าช่วงนั้นมีกิจกรรมอะไรอยู่หรือเปล่า โทรได้ที่ 09-5192939 ค่ะ ส่วนโทรที่ทำงาน ช่วงนี้ไม่ค่อยอยู่กับที่ค่ะ เดี๋ยวจะเสียเวลา

ขอบคุณค่ะ แต่ตัวจริงไม่ทราบว่า จะใช่ "คุณอำนวย" หรือเปล่านะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท