เกณฑ์คุณภาพสู่การนำองค์กร


การนำองค์กร มีความจำเป็นอย่างยิ่งและมีผลต่อความสำเร็จขององค์กร ที่เป็นหน้าที่ของผู้นำและทีมองค์กร

เกณฑ์คุณภาพสู่การนำองค์กร : การประชุมวิชาการกระทรวงสาธารณสุข 2551

การพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ ตามแนวทาง PMQA (Public Sector Management Quality Award)

 

การนำองค์กร มีความจำเป็นอย่างยิ่งและมีผลต่อความสำเร็จขององค์กร ที่เป็นหน้าที่ของผู้นำและทีมองค์กร มีคำถามที่เรามักจะได้ยินกันบ่อยเสมอก็คือ

 

เรานำองค์อย่างไร? หลายคนจะตอบว่านำด้วยวิสัยทัศน์

คำถามที่ตามมาก็คือ องค์กรทำอย่างไรที่จะได้มาซึ่งวิสัยทัศน์?

และมีอีกหลายคำถามจะตามมา เช่น แล้วเป้าประสงค์ว่าอย่างไร? ในแต่ละระยะทั้งสั้น และยาว?

แล้วค่านิยม และผลการดำเนินที่คาดว่าที่คาดหวังเป็นอย่างไร?

ผลการดำเดินงานดังกล่าวผู้บริหารคำนึงถึงความต้องการของผู้รับบริการ และผู้มาส่วนได้เสีย โดยคำนึงถึงความโปร่งใส่ชัดเจนอย่างไร?

 

จากประสบการณ์ทำงานด้านคุณภาพมาระยะหนึ่ง ผมได้มีโอกาสนำพาการเรียนรู้ของโรงพยาบาลหลายแห่งให้ทำความเข้าใจลักษณะสำคัญขององค์กร สภาพแวดล้อม ความสัมพันธ์ และความท้าทาย หรือเรียกตรงนี้ว่า การวิเคราะห์องค์กร (Organization Context analysis) ที่เป็นองค์กรนั้นๆ โดยการใช้สารสนเทศที่สำคัญในแต่ละด้าน ที่เป็นจุดแข็ง จุดอ่อน หรือ OFI (Opportunity for improvement) โอกาสพัฒนาที่ต้องพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ที่เป็นปัจจัยภายในองค์กรที่ทีมต่างๆขององค์กรสามารถควบคุมและจัดการกับมันได้ และจากปัจจัยจากภายนอกที่เป็นทั้งโอกาส และอุปสรรค ที่ส่วนใหญ่จะไม่ได้นำมาใช้กันเท่าไรนัก ตรงนี้ผมเน้นการใช้สารสนเทศที่สำคัญโดยเฉพาะที่เป็นปัจจัยภายในองค์กร

ทุกท่านพอจำผลการดำเนินงานได้นะครับ เราจะใช้ตรงนั้นก็ได้ แต่อาจจะไม่เพียงพอ เราต้องดูในรายละเอียดในแต่ละระบบงานสำคัญที่เป็นสิ่งจำเป็นพื้นฐานและจะส่งผลต่อผลผลิต ผลลัพธ์ที่ออกมาจากการทำงานของแต่ละองค์กร ในองค์กรทางสาธารณสุขโดยเฉพาะในโรงพยาบาลที่อาจจะไม่ต่างกันมามากนัก มีระบบต่างๆที่เป็นพื้นฐานการให้บริการมากมาย และแต่ละระบบก็มีประเด็นสำคัญของระบบ เช่น การดูแลผู้ป่วยที่มีกระบวนการตั้งแต่ แรกรับ     การประเมิน การวางแผน การดูแล การให้ข้อมูลและเสริมพลัง การวางแผนจำหน่าย/ดูแลต่อเนื่อง ที่ทีมต้องดูว่ากลุ่มผู้ป่วยหลักๆที่สำคัญ ผู้ป่วยที่เกิดอุบัติการณ์ที่อยู่ในระดับ E ขึ้นไป (ดูเรื่องที่เป็นนโยบายที่เป็นปัจจัยภายนอกประกอบด้วย) ประเด็นที่เน้น เรื่องความปลอดภัย การรับรู้และการมีส่วนร่วมของผู้ป่วยและญาติ การสร้างเสริมสุขภาพ ที่สำคัญคือการเรียนรู้ของผู้ที่เกี่ยวข้องไม่ว่าจะเป็นผู้ป่วย ญาติ หรือเจ้าหน้าที่ ที่ได้กล่าวมานั้นจุดแข็งมีอะไรบ้าง และ OFI มีอะไรบ้าง แล้วระบบงานต่างๆแต่ละระบบในประเด็นหลักๆมีอะไรเป็นจุดแข็ง และเป็น OFI บ้าง ระบบต่างๆ ได้แก่ระบบความเสี่ยง ความปลอดภัย คุณภาพการกำกับดูแลวิชาชีพ โครงสร้างภาพและสิ่งแวดล้อม การป้องกันการติดเชื้อ ระบบเวชระเบียน ระบบยา ห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ การทำงานกับชุมชน ตรงนี้เป็นปัจจัยในองค์กร

อีกส่วนเป็นเรื่องของโอกาส และอุปสรรค ตรงที่ส่วนใหญ่แล้วไม่ได้มองหรือรับรู้หากไม่ได้นำมาใช้อย่างจริงจัง และหากเราเอาไปใช้ตรงนี้เป็นโอกาสจริงของกงค์กรที่ไม่ต้องออกแรงมาก แต่ข้อสำคัญก็คือผู้นำและทีมนำต้องสื่อสารลงไปให้ถึงแต่ละทีม หน่วยงาน ตลอดจนผู้คนต่างๆที่เกี่ยวข้อง ตรงนี้เป็นพลังขององค์กรที่มีอยู่ เช่นหากเราสามารถพัฒนาคุณภาพทาง กพร.ก็ดี สปสช.ก็ดี ก็จะมอบอะไรบางอย่างเป็นสิ่งตอบแทนแก่เรา และองค์ของเราเป็นต้น หรือผมพึ่งกลับมาจากการนำการเรียนรู้ที่โรงพยาบาล แห่งหนึ่งทางภาคตะวันออก ความรู้สึกของคนทำงานว่า 3-4 ปีมานี้โรงพยาบาลแถบจะไม่มีการพัฒนาอะไรเลย เครื่องมือที่จำเป็นทดแทนชื้อไม่ได้ทั้งที่งบประมาณก็มี เจ้าหน้าที่ไม่รู้ว่าการใช้จ่ายเงิน 3 หมื่นบาท อำนาจนั้นทางจังหวัดเอากับคืนไปแล้ว มิได้มอบให้ สสจ.อย่างในอดีต ปัจจุบันคลี่คลายแล้ว (ผู้ว่าย้าย)

          ตรงนี้แหละครับที่จะเอาเข้าระบบมาเป็น ปัจจัยนำเข้าในการนำองค์กร การวางแผน

กลยุทธ์(รวมถึงการกำหนดเป้าหมาย) การมุ่งเน้นผู้ป่วยและสิทธิผู้ป่วย  การจัดการสารสนเทศและความรู้ การมุ่งเน้นพนักงาน การจัดการกระบวนการ (ระบบงานสำคัญของ รพ.)  ตลอดจนถึงผลลัพธ์ (ด้านคลินิก ด้านผู้ป่วยและลูกค้า ด้านการเงิน ด้านพนักงาน และระบบงาน ด้านประสิทธิผลองค์กร  ด้านธรรมาภิบาลและสังคม ด้านสร้างเสริมสุขภาพ)

 

            จะเห็นว่าหากทีมเราใช้สารสนเทศในทุกเรื่องที่เราได้ทำการวิเคราะห์เอาไว้มาใช้ในการนำชัดเจนการนำที่มีรากฐานของสารสนเทศมาจากองค์กรจริงๆ และสิ่งที่ผมบอกมาทั้งหมดตรงนี้แหละครับ ทาง TOA หรือ PMQA เรียกว่า Organization description และ Organization challenges นี้แหละครับหากทำตรงนี้ได้ดีแล้วละก็ การวางแผนเชิงยุทธศาสตร์และกลยุทธ์ การให้ความสำคัญกับผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย การวัด การวิเคราะห์และการจัดการความรู้  การจัดการกระบวนการ  และผลลัพธ์การดำเนินการ เป็นกระบวนการที่ต่อเนื่องจากการทำงานของทีม ในตอนแรกที่เป็นรากฐานสำคัญของการดำเดินตามเกณฑ์รางวัลคุณภาพ ตรงนี้แหละที่เรียกว่า Organization description และ Organization challenges  นี้แหละที่มีความสำคัญเป็นอย่างมากและเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญของ PMQA

            ประเด็นที่น่าเก็บเอาคิดเพื่อสักวันที่เราจะต้องพบกับมันก็คือ SDI (Sustainable Development Indicators) ที่กำลังจะได้รับการพัฒนาจากจาก KPI (Key Perfornamce Indicators) ซึงทางสภาพัฒนาฯ ที่กำลังจะให้เราเอามาใช้ในเร็วนี้......

 

ยงยุทธ สงวนชม

[email protected]

 

 

 

 

 

    

 

 

 

 

 

 

 

 

 

คำสำคัญ (Tags): #pmqa
หมายเลขบันทึก: 184886เขียนเมื่อ 28 พฤษภาคม 2008 08:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:06 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

เรียน ท่านอาจารย์ยงยุทธ มาเยี่ยมยาม เรียนรู้ ช่วงเช้าครับ

สวัสดีครับท่านอาจารย์จิตต์เจริญ ที่เคารพ ครับ

ในวันที่ 12-13 มีการเรียนรู้เรื่อง การพัฒนาคุณภาพด้วยความรัก ขออนุญาตเรียนเชิญอาจารย์ด้วยครับที่เจริญธานี เพื่อแบ่งปันเรื่องราวดีๆที่มีอยู่

มีเรียนราวมากมายที่เอามาแบ่งปันกัน ด้วยความรัก ความเข้าใจ ความเกื้อกูลเป็นฐานและจะทำให้คุณภาพในพื้นที่ยั่งยืน

เรียนเชิญนะครับ

อาจารย์คะดิฉันจะขอทฤษี่ที่อาจารย์นพ.วรวุฒิ โฆวัชรกุลทีจัดสอนแบบ wold cafeทีโรงแรมโนโวเทลเชียงใหม่วันที่29-30พ.ค51คะ

PMQA ไม่ใช่กระแสการพัฒนาจริงหรือ?

      ได้มีโอกาสได้ Dialogue กันกัลยาณมิตร  ที่ทำการพัฒนาคุณภาพขององค์กรต่างๆมามากกว่า 20 ปีแล้ว ตั้งแต่ QC ที่ทุกองค์กรทำกันมา 5 ส. ISO.PSO หรือแม้แต่ HA ที่ทำกันอยู่ในโรงพยาบาลต่างๆอยู่ในขณะนี้ PMQA เป็นนโยบายที่ กพร.กำหนดให้ส่วนราชการต่างๆ ได้เอาไปเป็นเครื่องมือการพัฒนาองค์กร ถูกขับเคลื่อนออกมาเป็นนโยบายให้ส่วนราชการระดับกรมนำมาทำในปีนี้ และในปี 2552 จะถูกนำไปปฎิบัติในส่วนราชการตำกว่ากรม ในทุกกระทรวง ทั้งนี้ภายใต้ความคิดที่ว่า PMQA จะสามารถตอบสนองความต้องการของผู้รับบริการได้และจะเกิดประสิทธิภาพ ประสิทธผลต่อการดำเนินงานของกงค์กร ที่สำคัญที่เหมือนกับเป็นตัวเร่งก็คือ การติตามผลงานตามPMQAของแต่ละองค์กรจะนำมาแปรกลับเป็นค่าตอบแทนของคนทำงานในองค์กรนั้นๆ ที่ถูกผูกโยงกันมาตั้งแต่ระดับกระทรวง กรม ลงไปตามหน่วยงานทุกระดับที่อยู่ภายใต้กรมนั้นๆจนไปถึงห่วยย่อยที่สุดที่มีอยู่ในท้องถิ่น.....

        แล้วองค์ฏณต้องทำอย่างไร?เป็นคำถามที่ฝากให้กัลยาณมิตรนำกับไปคิดใคร่ครวญ........ในหน่วยงานของแต่ละท่าน..........

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท