ก้าวที่สอง....ประสบการณ์ Focus group ...สะดุดปัญหา...แต่ปิ๊งในแนวคิด...


ค้นพบ...ช่องว่างของปัญหา

ก้าวที่สอง....ประสบการณ์ Focus group ...สะดุดปัญหา...แต่ปิ๊งในแนวคิด... เกิดขึ้นจากการทำกิจกรรม ซึ่งครั้งนี้เป็นของ งานชีวเคมี หลังจากก้าวแรกที่ทำไปนั้นต่างจากการทำในครั้งนี้โดยสิ้นเชิง ซึ่งแตกต่างตรงผลการสำรวจที่พบกับข้อมูลที่ได้หลังการทำ Focus group นั้นมันต่างกัน ทำให้เห็นว่าการสำรวจข้อมูลนั้นมีการคลาดเคลื่อนในแนวคิดเห็นได้อย่างชัดเจน และต้องขอขอบคุณบุคลากรงานชีวเคมีทุกท่านที่ให้ความร่วมมือ ครบ 100%

การเตรียมพร้อมและการเปลี่ยนแปลง

1. ในการทำกิจกรรมนั้น พร้อม(ทำใจ)ปรับเปลี่ยนเวลาที่เหมาะสมได้ตลอด เนื่องจากมักจะมีกิจกรรมด่วนอย่างอื่นมาแทรกทำให้สมาชิกไม่ครบ

2. จำนวนคนเป็นสิ่งสำคัญในการทำกิจกรรม ซึ่งคราวนี้ก็ได้ครบ 100%  ซึ่งเป็นการยอมรับในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และแสดงความคิดเห็นร่วมกัน สิ่งสำคัญคือทุกคนมีส่วนร่วม

3.ทำให้ค้นพบว่าห้องปฏิบัติการจะสามารถทำกิจกรรมร่วมกันได้พร้อมโดยไม่มีอุปสรรค์คือ เวลาที่เหมาะสม 14.30 .- 15.30 น.

ผลการสำรวจสภาพการจัดการความรู้ในห้องปฏิบัติการงานชีวเคมี

          ซึ่งพบว่ามีการจัดการความรู้ (ตามแนวคิดบุญดี บุญญกิจและคณะ : KM Process) อยู่ในระดับน้อย ซึ่งมีจุดแข็ง 2 ด้าน คือด้านการจัดการความรู้ให้เป็นระบบและด้านการเรียนรู้ และพบจุดอ่อน 5 ด้านคือด้านการค้นหาความรู้ การสร้างและแสวงหาความรู้ การประมวลและกลั่นกรองความรู้ การแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้ และการเข้าถึงความรู้ ซึ่งในตอนแรกที่ผลการสำรวจออกมาก็รู้สึกแปลกใจว่า(ความจริง)น่าจะอยู่ในระดับที่ดีกว่านี้ ทำให้รู้สึกกังวลกับข้อมูลที่พบ เป็นการสะดุดปัญหาเป็นสิ่งแรก

อย่าพึ่งด่วนสรุป....จากแบบสำรวจที่ได้มา...เนื่องจากเมื่อมาทำสนทนากลุ่ม พบว่ามีความคลาดเคลื่อนของข้อมูลมากพอสมควร เนื่องจากในห้องปฏิบัติการชีวเคมีมีการศึกษาหลายระดับปะปนกัน อาจทำให้การสื่อความหมายในแต่ละคนแตกต่างกัน ทำให้มีความแปรปรวนในคำตอบที่ได้

เมื่อได้ทำสนทนากลุ่ม พบว่า สิ่งที่เป็นปัญหาที่พบ เป็นจุดอ่อนนั้นเป็นปัญหาเทียม จากการพูดคุยพบว่าที่จริงแล้วการปฏิบัติของเขานั้นเนียนไปกับเนื้องานอยู่แล้ว จากการที่หัวหน้างานชีวเคมี อธิบายนั้นต้องขอยกย่อง คุณศิริรัตน์ ตันสกุล ซึ่งมีความรู้ความสามารถในการอธิบายในสิ่งที่ยากให้เข้าใจง่าย ทำให้บุคลากรในงานทุกระดับ ปฏิบัติได้ในความหมายเดียวกัน สำหรับการอธิบายเป็นตัวหนังสืออาจทำให้ลังเลในการตอบแบบสำรวจ เมื่อได้พูดคุยกัน ทำให้พบว่าช่องว่างของปัญหานั้นหมดไปหลายด้านที่เดียวและยังได้พบแนวทางการพัฒนางานที่คิดร่วมกันอีกด้วย

การสะดุดปัญหาที่สอง

ซึ่งสภาพการจัดการความรู้ของกลุ่มงานพยาธินั้น จากการสำรวจมีการพบปัญหาในหลายด้าน ซึ่งในส่วนผู้รับผิดชอบยังไม่ชัดเจน ยังไม่ได้ตั้งกรรมการ KM อย่างทางการในกลุ่มงาน จึงไม่มีผู้คอยประสานงานและกระตุ้นการรวมกลุ่มการทำกิจกรรมของKM และเป็นผู้นำเสนอปัญหาและแผนการพัฒนาให้ผู้บริหารได้รับทราบ เพื่อจัดงบประมาณในการสนับสนุน

มองเห็นทาง...ตั้งเป้าหมาย...

ประโยชน์ของการสำรวจการจัดการความรู้และการสนทนากลุ่มนั้น ทำให้เห็นจุดอ่อน จุดแข็ง และมองเห็นทาง...ทำให้ตั้งเป้าหมายในการพัฒนางานได้ชัดเจนขึ้น ซึ่งการมองเห็นทาง....สามารถตั้งเป้าหมาย...เหลือเพียงวางแผนการเดินทาง..เพื่อให้บรรลุเท่านั้น   (เปรียบเหมือนเราจะเดินทางไปเชียงใหม่..มีหลายเส้นทางในการเดินทางไปถึง...KM ก็เช่นกัน)

จากก้าวที่สอง...ประสบการณ์ Focus group ...สะดุดปัญหา...แต่ปิ๊งในแนวคิด ...ทำให้ได้ค้นพบ....ช่องว่างของปัญหา...การพบปัญหาทำให้เห็นหนทางในการแก้ไขและพัฒนาตนเอง ซึ่งเป็นข้อดี ถ้าไม่พบปัญหาอาจคิดว่าเราดีแล้วจนลืมพัฒนาตนเอง เหมือนนิทานกระต่ายกับเต่า จนตัวเองล้าหลังยังไม่รู้ตัวได้เช่นกัน.

หมายเลขบันทึก: 184862เขียนเมื่อ 27 พฤษภาคม 2008 23:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:06 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)
  • ตามการสนทนากลุ่มมาครับ
  • ขอบคุณครับที่นำมาแลกเปลี่ยน

สวัสดีค่ะคุณสิงห์ป่าสัก

  • ขอบพระคุณค่ะที่อาจารย์ให้เกียรติตามมาดู...ในก้าวที่สอง ของการสนทนากลุ่มค่ะ.
  • เป็นมือใหม่...แต่ก็จะพยายามปรับปรุงให้ดีขึ้นค่ะ.
  • ขอคำแนะนำจากทุกท่านใน G2K ช่วยชี้แนะด้วยจะเป็นพระคุณยิ่งค่ะ.
  • ขอบคุณที่ท่านแวะมาเยี่ยมอีกครั้งค่ะ.

นำภาพบรรยากาศสมานฉันท์...ของงานชีวเคมี....มาให้ชม

              

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท