การทดลองที่มุ่งให้นักเรียนคิดต่างออกไป


ส่งเสริมทักษะการคิดสร้างสรรค์

วันนี้ครูนกกับนร.ห้อง 2 ทำการทดลองเพื่อศึกษาอัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี จากปฏิกิริยาระหว่างโลหะแมกนีเซียมกับสารละลายกรดไฮโดรคลอริก....ปกติที่ผ่านมาการสอนจะเน้นการ Talk Lab ทำให้นักเรียนเกิดมั่นใจในขั้นตอนการทำการทดลอง และเพิ่มความปลอดภัยในห้อง Lab แต่เมื่อใช้ไปหลายๆ ปี ครูนกก็มองว่าเป็นเรื่องกิจวัตร...ให้นักเรียนเรียนรู้การ Talk Lab จากครู...หน่วยที่ 1 ครูทำให้ดู หน่วยที่ 2 ครูบ้างนักเรียนบ้างสลับกัน หน่วยที่ 3 นักเรียนทำได้ด้วยตนเอง...พอภาคเรียนที่ 2 การ Talk Lab ก็กลายเป็นระบบอัตโนมัติของนักเรียนไปโดยปริยาย....ปีนี้ครูนกอยากให้นักเรียนคิดนอกกรอบ...มีความคิดสร้างสรรค์...เลยใช้กลยุทธ์ใหม่.....สอนให้เขาเข้าใจหลักการ และความรู้พื้นฐานของปฏิกิริยา...จากนั่นก็กระตุ้นให้เขาอยากทำการทดลองด้วยตนเอง...แต่เน้นตรงที่ครูนกได้นำเสนอการทดลองหลากหลายรูปแบบใน "หัวข้อเดียวกัน : ปฏิกิริยาระหว่างแมกนีเซียมกับสารละลายกรดไฮโดรคลอริก"  โดยครูนกค้นหาข้อมูลการทดลองเพิ่มเติมจากคลังความรู้ใหญ่ของโลกคือ google แล้วนำมาจัดทำเป็นชุด presetation ง่ายๆ อย่างที่เคยใช้...ผลปรากฏทางกายภาพ "นักเรียนมีแววตาสดใส อยากรู้อยากเห็น...." สุดท้ายครูนกก็เลยประเมินโดยตั้งคำถาม ทำไมเราต้องเลือกใช้การทดลองลักษณะแบบนี้ ถ้าเราทำแบบที่เราเห็นในสไลด์จะได้หรือไม่อย่างไร...ถ้ามีปัญหาในการทดลองลักษณะอย่างนี้...เราจะแก้ปัญหาอย่างไร......นักเรียนตอบได้...และเข้าใจสิ่งที่เกิดขึ้นกับสภาพความเป็นจริง  รู้จักที่จะเลือกใช้หรือแก้ปัญหาด้วยตนเองได้....เป็นอันนี้ว่าวันนี้เราบรรลุเรื่องการหาอัตราการเกิดปฏิกิริยาทั้งครูและศิษย์ค่ะ....

หมายเลขบันทึก: 184730เขียนเมื่อ 27 พฤษภาคม 2008 13:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 ตุลาคม 2013 20:01 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท