SAR แบบเติมคำ


SAR ตามเกณฑ์ของ สกอ. สมศ. และ กพร.

ทีมงาน  สำนักประกันคุณภาพมรภ.กำแพงเพชร  ได้จัดทำแบบเติมคำรายงานการประเมินตนเอง  ตามเกณฑ์มาตรฐานของสกอ.  สมศ.  และกพร.  และเป็นข้อมูลที่ใช้อ้างอิงสำหรับผู้ประเมินได้  ทีมงานคิดว่าน่าจะเป็นประโยชน์กับผู้จัดทำ SAR  ของหน่วยงานไม่มากก็น้อย   หากผู้จัดทำ SAR  มีวิธีการอะไรที่สะดวกต่อการดำเนินการก็เสนอแนะมาบ้างนะคะ  เพื่อได้มีการแลกเปลี่ยนกันคะ  ขอบคุณล่วงหน้า  

 

      มีการใช้สื่อและเทคโนโลยีหรือนวัตกรรมในการสอนเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ทุกหลักสูตร :

     ชื่อหน่วยงาน/มหาวิทยาลัย  ดำเนินการ  ดังนี้

      3.1 มีการเรียนการสอนโดยใช้ประโยชน์จากเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Internet) โดยนำผลการประมวลรายวิชา............. สรุปคำสอน / แบบฝึกหัด/  การบ้าน/ ชิ้นงาน/ ตัวอย่างข้อสอบเก่าพร้อมเฉลยไปไว้บน Website (เอกสาร ..../..../..../.....)

      3.2 ใช้เอกสารผลงานทางวิชาการของผู้สอน หน่วยงาน สถาบัน องค์กรวิชาการ วิชาชีพ ที่

เสนออยู่บน website หรือ blog เป็น reference   (ระบุรายวิชา/ผู้สอน) (เอกสาร ..../..../..../.....)

       3.3 ใช้แบบฝึกหัดการบ้าน ตัวอย่างข้อสอบเก่า ของมหาวิทยาลัยชั้นนำทั้งในทวีป

เอเชีย อเมริกา ยุโรป ออสเตรเลีย ที่เสนออยู่บน website  (ระบุรายวิชา/ผู้สอน) เอกสาร ..../..../..../.....) เป็นสื่อส่งเสริมการเรียนรู้โดยให้นักศึกษาลงมือจัดทำจริงในห้องเรียน แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกับเพื่อนนักศึกษา และอาจารย์ช่วยตอบข้อซักถาม ตรวจ และเฉลย

        3.4 ใช้ email กระดานข่าว หรือ blog สื่อสาร อภิปรายแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน

ระหว่างนักศึกษากับนักศึกษาและนักศึกษากับอาจารย์ (ระบุรายวิชา) (เอกสาร ..../..../..../.....)

       3.5 มีการเรียนการสอนผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Internet)โดยใช้บทเรียน และการวัดผล

แบบ e-learning (ระบุรายวิชา/ผู้สอน) (เอกสาร ..../..../..../.....)

       3.6 มีห้องสมุด สื่อ อุปกรณ์การเรียนการสอน คอมพิวเตอร์ ระบบสืบค้นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์

และงบประมาณสนับสนุน พร้อมตารางการเปิดให้บริการนักศึกษาใช้ห้องสมุดและห้อง

คอมพิวเตอร์ต่อวันที่เพียงพอที่จะศึกษาหาความรู้ เพิ่มเติมได้ด้วยตนเอง (เอกสาร ..../..../..../.....)  และมีการเปิดบริการเพิ่มเติมช่วง 16.30-20.00  น.   (เอกสาร ..../..../..../.....)  

        3. 7 มีผลงานอาจารย์ที่เป็นงานวิจัยเพื่อพัฒนาสื่อและการเรียนรู้ของผู้เรียนและนำผลไปใช้

พัฒนาผู้เรียน (ระบุรายวิชา/ผู้สอน/ ชื่องานวิจัย) (เอกสาร ..../..../..../.....)  

        3.8  ใช้โปรแกรมต่าง ๆ ในการนำเสนอข้อมูล ในการเรียนการสอน  เช่น  Power point  (ระบุรายวิชา/ผู้สอน) (เอกสาร ..../..../..../.....)

        3.9   มีการเรียนการสอนผ่านโปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) โดยมีบทเรียน และการวัดผล (ระบุรายวิชา/ผู้สอน) (เอกสาร ..../..../..../.....)

        3.10  อื่น ๆ

 

มีการจัดการเรียนการสอนที่มีความยืดหยุ่นและหลากหลาย  ที่จะสนองตอบต่อความต้องการของผู้เรียน :

     ชื่อหน่วยงาน/มหาวิทยาลัย  ดำเนินงาน  ดังนี้   

     1. มีการจัดการเรียนจากกรณีปัญหา (Problem-based  Learning :  PBL)  โดยผู้เรียนมีความรู้เดิมสามารถเข้าใจข้อมูลใหม่ได้  สามารถควบคุมการเรียนของตนเอง  การคิดดำเนินการเรียนรู้  กำหนดวัตถุประสงค์ เลือกที่เรียนด้วยตนเอง  เป็นการแก้ปัญหามากกว่า  ผู้สอนมีหน้าที่ให้คำแนะนำ  ซึ่งเป็นการส่งเสริมการทำงานเป็นกลุ่มและพัฒนาทักษะสังคม  (ระบุรายวิชา/ผู้สอน/หมู่เรียน/โปรแกรมวิชา)  (เอกสาร ..../..../..../.....)

      2. มีการเรียนรู้เป็นรายบุคคล  (Individual  Study)  โดยใช้เทคนิค  ดังนี้

              2.1  ใช้เทคนิคการ  Concept  Mapping  โดยตรวจสอบความคิดของผู้เรียนว่าคิดอะไร  เข้าใจสิ่งเรียนและแสดงมาเป็นกราฟิก  (ระบุรายวิชา/ผู้สอน/หมู่เรียน/โปรแกรมวิชา) (เอกสาร ..../..../..../.....)

              2.2  ใช้เทคนิค  Learning  Contracts  โดยทำข้อตกลงร่วมกัน  ยึดหลักในการเรียนว่าจะเรียนอะไร  อย่างไร  เวลาใด  ใช้เกณฑ์อะไร (ระบุรายวิชา/ผู้สอน/หมู่เรียน/โปรแกรมวิชา)    (เอกสาร ..../..../..../.....)

             2.3  ใช้เทคนิค  Know-Want-Learned  โดยใช้ความรู้เดิมกับความรู้ใหม่ ร่วมกับการใช้  Mapping  ความรู้เดิม  ผู้เรียนได้ศึกษาค้นคว้าด้วยตัวเองและนำเสนอหน้าชั้นและมีทดสอบผู้ฟัง  (ระบุรายวิชา/ผู้สอน/หมู่เรียน/โปรแกรมวิชา) (เอกสาร ..../..../..../.....)

              2.4  ใช้เทคนิคกระบวนการกลุ่ม (Group  Process)  ผู้เรียนร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้  เพื่อบรรลุเป้าหมายและแก้ไขปัญหาให้สำเร็จ  (ระบุรายวิชา/ผู้สอน/หมู่เรียน/โปรแกรมวิชา)

     3. ใช้การเรียนรู้แบบสรรคนิยม  (Constructivism)โดยผู้เรียนสร้างความรู้โดยอาศัยประสบการณ์แห่งชีวิตที่ได้รับเพื่อค้นหาความจริง  ดังนี้

          3.1  มีนักเรียนที่เน้นการเรียนรู้เป็นรายบุคคล  รู้วิธีเรียน  และวิธีคิด  และสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง  (ระบุรายวิชา/ผู้สอน/หมู่เรียน/โปรแกรมวิชา)    (เอกสาร ..../..../..../.....)

          3.2  ในข้อนี้  ครูมีบทบาทเป็นผู้อำนวยความสะดวกในการเรียน  โดยมีนักเรียนที่สร้างความรู้โดยอาศัยปฏิสัมพันธ์ทางสังคม  โดยความรู้ต้องสัมพันธ์กับชุมชน  / ปัจจัยทางวัฒนธรรม  สังคม และประวัติศาสตร์  (ระบุรายวิชา/ผู้สอน/หมู่เรียน/โปรแกรมวิชา) (เอกสาร ..../..../..../.....)

4. การเรียนรู้จากการสอนแบบ SIP รูปแบบการสอนที่ฝึกทักษะทางการสอนระดับอุดมศึกษา สาขาการศึกษา มีผลที่เกิดกับผู้เรียนโดยตรง  โดยการฝึกทดลองฝึกอย่างเข้มข้น เป็นระบบตั้งแต่ต้นจุดจบ  โดยมีขั้นความรู้ความเข้าใจ   ขั้นสำรวจ  วิเคราะห์ออกแบบการฝึกทักษะ ฝึกทักษะ  ประเมินผล  ผู้สอนให้การช่วยเหลือ อย่างใกล้ชิด  และมีห้องปฏิบัติการ สื่อ  เครื่องมือโสต ฯที่สนับสนุนการเรียนการสอนทำให้การฝึกมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล  (ระบุรายวิชา/ผู้สอน/หมู่เรียน/โปรแกรมวิชา)    (เอกสาร ..../..../..../.....)

 

      5. การเรียนรู้แบบแสวงหาความรู้ได้ด้วยตนเอง  (Self-Study)  โดยให้ผู้เรียนศึกษาและหาความรู้ด้วยตนเอง   ได้แก่  อ้างถึง ที่มา http://gotoknow.org/file/buppawun  (ระบุรายวิชา/ผู้สอน/หมู่เรียน/โปรแกรมวิชา)   (เอกสาร ..../..../..../.....)

              1) กระบวนการสืบค้น (Inquiry Process) 

              2) การเรียนแบบค้นพบ   (Discovery Learning)

              3) การเรียนแบบแก้ปัญหา (Problem-solving)

              4) การเรียนรู้เชิงประสบการณ์  (Experiential  Learning)

      6.  การเรียนที่เน้นการวิจัยเพื่อสร้างองค์ความรู้ (Research-based Learning)  เป็นการเรียนที่เน้นการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง  โดยการแสวงหาความรู้  การทดสอบความสามารถทางการเรียน  โดยใช้รูปแบบการเรียนดังนี้

                       1) ใช้วิธีวิจัยเป็นวิธีสอน (ระบุรายวิชา/ผู้สอน/หมู่เรียน/โปรแกรมวิชา) (เอกสาร ..../..../..../.....)

                       2) สอนโดยให้ผู้เรียนร่วมทำโครงการวิจัยกับอาจารย์หรือเป็นผู้ช่วยของอาจารย์   (ระบุ   ชื่อเรื่องงานวิจัย / ผู้ทำวิจัย)    (เอกสาร ..../..../..../.....)

                       3)  การสอนโดยผู้เรียนศึกษางานวิจัยของอาจารย์หรือนักวิจัยชั้นนำ   (ระบุ   ชื่อเรื่องงานวิจัย / ผู้ทำวิจัย)    (เอกสาร ..../..../..../.....)  

                        4)  ค้นคว้าวิจัยโดยใช้ผลการวิจัยประกอบการสอน  (ระบุรายวิชา/ผู้สอน/หมู่เรียน/โปรแกรมวิชา)    (เอกสาร ..../..../..../.....)  

     7. การเรียนรู้จากการทำงาน  (Work –based Learning)   การเรียนการสอนที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดพัฒนาการด้านการเรียนรู้เนื้อหาสาระ  การฝึกปฏิบัติการเรียนรู้ ฝึกฝนทักษะทางสังคม  ทักษะชีวิต  ทักษะวิชาชีพ  การพัฒนาทักษะการคิดขั้นสูง  โดย  ชื่อหน่วยงาน  ร่วมมือกับสถานประกอบในชุมชน  รวมถึงการฝึกงานทั้งในแบบสถานประกอบการจำลองและการจริง (ระบุ รายวิชา/ชื่อผู้สอน/หมู่เรียน/โปรแกรมวิชา/ชื่อสถานประกอบการ)   (เอกสาร ..../..../..../.....)

     8. การเรียนรู้ที่ใช้วิธีสร้างผลงานจากการตกผลึกทางปัญญา  (Crystal-based  Approach)

  นักศึกษาคิด  รวบรวม  ทำความเข้าใจ  สรุป  วิเคราะห์เจาะลึกจนตกผลึก  และสังเคราะห์จากการศึกษาด้วยตนเอง  และได้องค์ความรู้ใหม่   ได้แก่ .......... (ระบุ   ชื่อชิ้นงาน  ชื่อนักศึกษา) (เอกสาร ..../..../..../.....)

     9. วิธีการสอนอื่นๆ (รายละเอียดวิธีสอนในภาคผนวก)  ได้แก่.. (ระบุรายวิชา/ผู้สอน/หมู่เรียน/โปรแกรมวิชา)

 

หมายเลขบันทึก: 184609เขียนเมื่อ 26 พฤษภาคม 2008 18:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 15:17 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

สวัสดีครับ

  • แวะมาทักทาย
  • และมาอ่านบันทึกครับ

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท