การประเมินโครงการค่ายการเรียนรู้สู่ประสบการณ์ใหม่


การประเมินโครงการ

ชื่อเรื่อง         การประเมินโครงการค่ายการเรียนรู้สู่ประสบการณ์ใหม่ 

ผู้ประเมิน       นางฐิติยา    อัลอิดรีสี

หน่วยงาน       โรงเรียนบ้านลางา  ม.5  ต.หนองแรต  อ.ยะหริ่ง  จ.ปัตตานี

ปีการศึกษา     2550

 

 

บทคัดย่อ

 

                  

การประเมินโครงการค่ายการเรียนรู้สู่ประสบการณ์ใหม่   โรงเรียนบ้านลางา ครั้งนี้   มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินโครงการค่ายการเรียนรู้สู่ประสบการณ์ใหม่  ในด้านบริบท  ปัจจัยเบื้องต้น  กระบวนการ    และผลผลิต    โดยใช้รูปแบบการประเมินที่เน้นการตัดสินใจ   รูปแบบซิปป์ (CIPP  model)          ประชากรที่ใช้ในการประเมินโครงการครั้งนี้ได้แก่     ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านลางาและครูโรงเรียนบ้านลางา  จำนวน 10 คน   นักเรียนโรงเรียนบ้านลางา  จำนวน 117 คน    กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการประเมินโครงการครั้งนี้ได้แก่   ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านลางาและคณะครูโรงเรียนบ้านลางา  จำนวน 10 คน  ทำการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive  sampling)  โดยใช้ประชากรทั้งหมดเป็นกลุ่มตัวอย่าง   และนักเรียนโรงเรียนบ้านลางา  จำนวน 91 คน  ทำการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย  (Simple  random  sampling) โดยวิธีการจับฉลาก  เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลครั้งนี้  เป็นแบบสอบถามจำนวน 2 ฉบับ  ได้แก่  แบบสอบถามสำหรับผู้บริหารและครู  และแบบสอบถามสำหรับนักเรียน   ในการเก็บรวบรวมข้อมูล   ผู้ประเมินทำการรวบรวมข้อมูลด้วยตนเอง     สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล   ได้แก่        ค่าร้อยละ  ค่าเฉลี่ย   ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

                   ผลการประเมิน  พบว่า  โดยภาพรวมมีระดับการประเมินอยู่ในระดับมาก เรียงลำดับจากด้านผลผลิต    ด้านบริบท    ด้านกระบวนการและด้านปัจจัยเบื้องต้น  ตามลำดับ  และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านสรุปได้ดังนี้

การประเมินด้านบริบท   โดยภาพรวมในด้านบริบท     มีระดับการประเมินอยู่ในระดับมาก 

และเมื่อพิจารณาเป็นองค์ประกอบย่อย พบว่าโครงการนี้มีความจำเป็นต่อบุคลากรในโรงเรียนและวัตถุประสงค์ของโครงการมีความเหมาะสมกับสภาพปัญหาที่เป็นอยู่มากที่สุด    ส่วนองค์ประกอบอื่น ๆ ได้แก่   วัตถุประสงค์ของโครงการตรงกับความต้องการของครู   สามารถนำไปปฏิบัติได้จริง  สอดคล้องกับความต้องการของนักเรียน  โครงการมีความสอดคล้องกับความจำเป็นในสภาพปัจจุบัน  ได้รับการยอมรับจากบุคลากรในหน่วยงาน   มีความเหมาะสมและจำเป็นต่อการพัฒนาการศึกษา  เป้าหมายของโครงการมีความชัดเจน  เหมาะสม    มีการวางแผนอย่างเหมาะสมในการดำเนินงานโครงการ  อยู่ในระดับมาก

      การประเมินด้านปัจจัยเบื้องต้น      โดยภาพรวมในด้านปัจจัยเบื้องต้น      มีระดับการประเมินอยู่ในระดับปานกลาง      และเมื่อพิจารณาเป็นองค์ประกอบย่อย  พบว่า คุณภาพของ

วัสดุอุปกรณ์    คุณภาพของบุคลากรมีความเหมาะสมกับงาน และบุคลากรในโรงเรียนมีขวัญและ

กำลังใจในการดำเนินงานอยู่ในระดับมาก      ส่วนองค์ประกอบอื่น ๆ    ได้แก่       อาคารสถานที่มี

ความเหมาะสมกับสภาพที่เป็นจริง     ความพอเพียงของสถานที่     ความพอเพียงของจำนวนวัสดุ 

อุปกรณ์       จำนวนบุคลากรมีความเหมาะสมกับสภาพที่เป็นจริง      ความเหมาะสมของเวลา    

ความพอเพียงและเหมาะสมของงบประมาณ   อยู่ในระดับปานกลาง

การประเมินด้านกระบวนการ    โดยภาพรวมในด้านกระบวนการ        มีระดับการประเมินอยู่ในระดับมาก   และเมื่อพิจารณาเป็นองค์ประกอบย่อย พบว่า  แผนการดำเนินงานมีความเหมาะสมกับสภาพที่เป็นจริง    มีความชัดเจน    การดำเนินงานเป็นไปตามขั้นตอนของแผนการดำเนินงาน    การปฏิบัติงานในโครงการมีความเหมาะสม    การดำเนินงานของโครงการมีความเป็นระบบ   การดำเนินงานตามโครงการสามารถตรวจสอบได้    ผู้บริหารสามารถกำกับ  ติดตาม  การดำเนินงานโครงการได้อย่างเหมาะสม   การใช้จ่ายงบประมาณมีความเหมาะสมกับสภาพที่เป็นจริง   การประเมินผลเป็นไปตามระบบอย่างเหมาะสม  อยู่ในระดับมากทุกองค์ประกอบ 

การประเมินด้านผลผลิต      โดยภาพรวมในด้านผลผลิต        มีระดับการประเมินอยู่ในระดับมาก   และเมื่อพิจารณาเป็นองค์ประกอบย่อย พบว่า   บุคลากรในโรงเรียนให้การสนับสนุนโครงการนี้เป็นอย่างดี  และโครงการนี้มีประโยชน์ที่สามารถจะนำไปใช้ได้  อยู่ในระดับมากที่สุด    ส่วนความพึงพอใจในผลผลิตของโครงการนี้    ประโยชน์ของโครงการ   การดำเนินงานตรงตามวัตถุประสงค์ของโครงการ    ได้รับผลสำเร็จเป็นที่น่าพอใจ    และโครงการนี้เป็นสื่อการเรียนรู้อย่างหนึ่ง  อยู่ในระดับมาก

      สำหรับการประเมินโครงการของนักเรียนในภาพรวมอยู่ในระดับมากทุกองค์ประกอบ   ยกเว้น องค์ประกอบในเรื่องความเหมาะสมของระยะเวลาที่ใช้ในการดำเนินกิจกรรม  อยู่ในระดับปานกลาง   และการประเมินเกี่ยวกับความชอบของนักเรียนต่อกิจกรรมฐานสาระวิชาต่าง ๆ ในโครงการ พบว่า  นักเรียนชื่นชอบการจัดกิจกรรมในฐานสาระวิชาภาษาอังกฤษ มากที่สุด  รองลงมาคือ  วิทยาศาสตร์  ภาษาไทย  และคณิตศาสตร์  ตามลำดับ 

 

หมายเลขบันทึก: 184529เขียนเมื่อ 26 พฤษภาคม 2008 11:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 พฤษภาคม 2012 22:16 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
  • โดยสรุป ได้แนวทางในการปรับปรุงโครงการในปีต่อไปอย่างไรบ้างครับ(หัวใจของงานประเมิน)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท