การดำเนินงานของหน่วยเครื่องมือกลาง


การบริการวิชาการ

 

หน่วยเครื่องมือกลาง คณะวิทยาศาสตร์ได้เริ่มจัดตั้งขึ้นเมื่อปี 2532 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อจัดหาเครื่องมือวิทยาศาสตร์ที่ทันสมัยและราคาแพงมาใช้ในงานวิจัย และบริการวิชาการแก่สังคม สำหรับการบริการวิเคราะห์ตัวอย่างด้วยเครื่องมือวิทยาศาสตร์ ให้กับโครงการวิจัยของบุคลากรคณะวิทยาศาสตร์ และคณะอื่น ๆ ในมหาวิทยาลัย รวมทั้งบริการวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ให้กับภาคเอกชนและหน่วยงานของรัฐนอกมหาวิทยาลัย นอกจากนี้ภาระหน้าที่สำคัญอีกประการหนึ่ง คือ การซ่อมบำรุงรักษาและพัฒนาเครื่องมือวิทยาศาสตร์ ของคณะให้อยู่ในสภาพที่สามารถใช้การได้อย่างมีประสิทธิภาพตลอดเวลา นอกเหนือจากนี้ได้ส่งเสริมบุคลากรที่รับผิดชอบ/เกี่ยวข้อง ให้มีความรู้ความสามารถในการใช้ และบำรุงรักษาเครื่องมือที่ผู้นั้นรับผิดชอบอยู่

1.1  วัตถุประสงค์

1.      เพื่อจัดหาเครื่องมือวิทยาศาสตร์ที่ทันสมัย ไว้ใช้ในงานวิจัยและบริการวิชาการ

2.      บริการวิเคราะห์ตัวอย่างด้วยเครื่องมือวิทยาศาสตร์ให้กับโครงการวิจัยของบุคลากรคณะวิทยาศาสตร์ และคณะอื่นๆ ในมหาวิทยาลัย

3.      บริการตรวจวิเคราะห์ตัวอย่าง ผลิตภัณฑ์ต่างๆ ให้กับภาคเอกชน และหน่วยงานของรัฐภายนอกมหาวิทยาลัย

4.      เพื่อทำหน้าที่บำรุงรักษา และพัฒนาเครื่องมือวิทยาศาสตร์ของคณะวิทยาศาสตร์ ให้อยู่ในสภาพที่สามารถใช้การได้อย่างมีประสิทธิภาพตลอดเวลา

5.      เพื่ออบรมบุคลากรที่รับผิดชอบ/เกี่ยวข้อง ให้มีความรู้ความสามารถในการใช้ และบำรุงรักษา เครื่องมือวิทยาศาสตร์อย่างแท้จริง

 

รูปแบบกิจกรรมของหน่วยเครื่องมือกลาง

    จากลักษณะรูปแบบการให้บริการทางวิชาการของหน่วยเครื่องมือกลาง  แยกเป็นกิจกรรมหลักๆ ได้ 2 ประเภท คือ

1.  กิจกรรมการให้บริการการเรียนการสอน แก่หน่วยงานภายในคณะฯ และหน่วยงานอื่นๆ ภายในมหาวิทยาลัย

1.1 การให้บริการตรวจวิเคราะห์ตัวอย่างเชิงเครื่องมือฯ แก่นักศึกษาปริญญาตรีและปริญญาโท ภายในคณะ เป็นการให้บริการตรวจวิเคราะห์และทดสอบตัวอย่างด้วยเครื่องมือวิจัยแก่นักศึกษาที่มีโครงการวิจัย โครงการปัญหาพิเศษ หรือวิทยานิพนธ์ของนักศึกษาปริญญาโท

1.2 การสาธิต สอน และให้บริการฝึกงาน แก่นักศึกษาสถาบันต่างๆ ทั้งภายในมหาวิทยาลัย และสถาบันการศึกษาภายนอก

1.3 การให้บริการแก่นักศึกษาในการใช้เครื่องมือวิเคราะห์ด้วยตนเอง

2  การให้บริการวิชาการแก่สังคม ด้านการตรวจวิเคราะห์ตัวอย่าง ซึ่งแบ่งได้เป็น 3 ประเภท คือ

3.2.1        งานบริการตรวจวิเคราะห์ตัวอย่างทั่วไป ซึ่งเป็นงานประจำ มีประมาณ 70% ของการให้บริการ ซึ่งจะแยกตามเครื่องมือวิจัยที่มีอยู่ แต่ที่มีหลักๆ เช่น

·       การวิเคราะห์โลหะหนักด้วยเครื่อง ICP-AES ซึ่งโลหะหนักที่วิเคราะห์ส่วนใหญ่ จะเป็น น้ำดี ตามมาตรฐานกระทรวงสาธารณสุข และน้ำเสีย ตามมาตรฐานกระทรวงอุตสาหกรรม นอกจากนี้ ยังมีโลหะหนักในผลิตภัณฑ์ต่างๆ เช่น อาหารทะเลแช่แข็ง น้ำยาง สารเคมี สารส้ม หรือตัวอย่างอื่นๆ

·       การวิเคราะห์ทางเคมี ซึ่งสามารถแยกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ ดังนี้

1.                การวิเคราะห์น้ำดี วิเคราะห์ตามมาตรฐานน้ำดื่มในภาชนะปิดสนิท กระทรวงสาธารณสุข มาตรฐานอุตสาหกรรมน้ำบริโภค กระทรวงอุตสาหกรรม มาตรฐานคุณภาพน้ำบาดาลที่ใช้บริโภค กระทรวงอุตสาหกรรม เป็นต้น  

2.                การวิเคราะห์น้ำเสีย  ตามมาตรฐานคุณภาพน้ำทิ้งจากโรงงานอุตสาหกรรมและนิคม     อุตสาหกรรม กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม น้ำทิ้งจากอาคารและโรงพยาบาล

งานวิเคราะห์เชิงวิจัยและพัฒนา ประมาณ 20% ของการบริการ ส่วนใหญ่จะเป็นการวิเคราะห์ปัญหาพิเศษของโรงงานอุตสาหกรรม

 

หมายเลขบันทึก: 183728เขียนเมื่อ 21 พฤษภาคม 2008 20:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 มิถุนายน 2012 09:18 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

พี่โป่ยจำได้เจอครั้งสุดท้ายที่สนามบิน สบายดีนะคะ คิดถึงคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท