สถานการระบาดโรคหัด


บทเรียนการควบคุมการระบาดโรคหัด

สถานการณ์โรคหัดในมหาวิทยาลัยขอนแก่น

 

 ในรอบห้าปี จนถึง พ.ศ.2550 โรงพยาบาลศรีนครินทร์  พบผู้ป่วยโรคหัด 1 ราย อายุ 1 ปี 3 เดือน    หลังจากนั้นใน  ปี พ.ศ.2551 ไม่พบรายงานผู้ป่วยโรคหัดรับการรักษาในโรงพยาบาล  ทั้งประเภทผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยใน  จนถึง วันที่ 17  กุมภาพันธ์ 2551  มีนักศึกษามหาวิทยาลับขอนแก่น สงสัยป่วยด้วยโรคหัด มารับ  การรักษาที่หอผู้ป่วย จำนวน 2  ราย        จากการสอบสวนโรคหัดเฉพาะราย  พบว่าเป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 1  คณะวิศวกรรมศาสตร์  และคณะศึกษาศาสตร์  เริ่มมีอาการป่วย ตั้งแต่วันที่ 12  กุมภาพันธ์ 2551   ด้วยอาการมีไข้สูง ไอ  มีผื่นตามตัว 

ต่อมาวันที่ 21  กุมภาพันธ์ 2551  มีผู้ป่วย มาด้วยอาการมีไข้สูง  มีผื่นแดงตามตัว  ไอ มีน้ำมูก แพทย์สงสัยป่วยด้วยโรคหัด รับการรักษาเพิ่มอีก 5 ราย  เป็นนักศึกษามหาวิทยาลัยขอนแก่นจำนวน  4  ราย  และผู้ป่วยชายไทย อาชีพรับจ้างที่พิมานกรุ๊ป  1 ราย  ทีม SRRT โรงพยาบาลศรีนครินทร์  ได้ดำเนินการสอบสวนโรคและควบคุมการระบาด  เตรียมพร้อมรับสถานการณ์ ทั้งด้านบุคลากร สถานที่ เพื่อรับผู้ป่วยและป้องกัน การแพร่กระจายเชื้อ

                ในวันที่ 22  กุมภาพันธ์ 2551 พบนักศึกษาป่วยมีไข้สูง ไอ มีน้ำมูก  บางรายมีผื่นตามตัว เข้ารับการตรวจรักษาที่หน่วยผู้ป่วยนอกอุบัติเหตุฉุกเฉิน และห้องตรวจเพิ่มขึ้นอีก จำนวน 5  ราย

โรงพยาบาลศรีนครินทร์  จึงได้ประกาศแจ้งเตือนสถานการณ์โรคหัดระบาดในมหาวิทยาลัย ขอนแก่น  แก่ผู้ที่เกี่ยวข้องในหน่วยงานต่าง ๆ  ดำเนินการสอบสวนเพิ่มเติมและควบคุมการระบาดของ   โรคหัดในมหาวิทยาลัยขอนแก่น  ค้นหา    ผู้ป่วยเพิ่มเติม ตามนิยามการเฝ้าระวังและสอบสวนผู้ป่วยโรคหัด พร้อมหาแนวทางการควบคุมโรค ร่วมกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่นและสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 6 จังหวัดขอนแก่น

สถานการณ์การระบาดของโรคหัดในมหาวิทยาลัยขอนแก่นในครั้งนี้   (พบผู้ป่วยรายแรกตั้งแต่ วันที่ 21 มกราคม  2551  รายสุดท้ายในวันที่  18  มีนาคม 2551)  มีผู้ป่วยสงสัยป่วยเป็นโรคหัด  (Suspected case) จำนวน 50 ราย  ได้รับการเฝ้าระวังโรคและรับการตรวจรักษาในโรงพยาบาลศรีนครินทร์ จำนวน 40  ราย  ผู้ป่วยค้นหาในชุมชนไม่ได้รับตรวจวินิจฉัยที่โรงพยาบาล   ศรีนครินทร์  จำนวน 10 ราย

บทเรียนและประสบการณ์ในการสอบสวนการระบาด

                จากบทเรียนในการสอบสวนและควบคุมการระบาดของโรคหัดในครั้งนี้

1.       การทำงานเป็นทีม และการมีส่วนร่วมของบุคลากรที่เกี่ยวข้องในหลายหน่วยงาน จึงจทำให้การสอบสวนการระบาดและการควบคุมโรคในครั้งนี้ประสบผลสำเร็จตามเป้าหมาย

2.       ผู้บริหารโรงพยาบาล  ผู้บริหารงานบริการพยาบาล ทีม SSRT โรงพยาบาลศรีนครินทร์   และบุคลากรที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ตระหนักและเห็นความสำคัญของการป้องกันและควบคุมการระบาดของโรคหัดในครั้งนี้  จึงทำให้มีการทำงานร่วมกันอย่างไม่ท้อถอย  มีประสานงานและให้กำลังใจซึ่งกันและกัน  ประชุมร่วมกันทุกวัน ซึ่งจากการดำเนินงาน ทำให้เกิดการเรียนรู้จากประสบการณ์ตรงเพิ่มมากขึ้น คณะทำงานควบคุมการระบาดของโรคหัดในมหาวิทยาลัยขอนแก่น จึงได้เสนอและพิจารณาร่วมกันว่าควรให้นักศึกษาในศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพ ได้มีโอกาสในการศึกษาเรียนรู้จากประสบการณ์จริงเมื่อมีการระบาดในครั้งต่อไป 

3.       แพทย์หัวหน้าทีมสอบสวนโรคและผู้สอบสวนโรคหลัก รวมทั้ง ทีม SRRT ควรจะได้รับการพัฒนาองค์ความรู้เพิ่มมากขึ้น  ควรจะได้ทุนจากสำนักระบาดวิทยา  กระทรวงสาธารณสุข จัดอบรมพัฒนาทีม  และควรจะมี         ผู้เชี่ยวชาญร่วมการสอบสวนและให้ข้อคิดเห็นเมื่อพบว่าแนวโน้มการระบาดของโรคเพิ่มมากขึ้น

4.       มหาวิทยาลัยขอนแก่น   ควรจะมีการเตรียมการด้านงบประมาณหรือจัดหาวัคซีนสำรองไว้สำหรับนักศึกษา เมื่อเกิดการระบาดของโรค  ถ้าในครั้งนี้ไม่ได้รับการสนับสนุนวัคซีนวัคซีนโรคหัด วัคซีนรวมโรคหัด ( หัด  คางทูม หัดเยอรมัน: MMR)  จากสำนักงานสาธารณสุข จังหวัดขอนแก่นและสำนักงานควบคุมโรคที่ 6 จังหวัดขอนแก่น  คาดว่าน่าจะมีนักศึกษาป่วยจำนวนเพิ่มมากขึ้น ไม่สามารถควบคุมการระบาดได้ในระยะเวลาที่กำหนด

5.      โรงพยาบาลควรจะมีการจัดหาวัคซีนสำหรับบุคลากรทั้งเก่าและใหม่ที่ยังไม่มีภูมิต้านทานโรค ให้ได้รับวัคซีนป้องกันโรคอย่างครบถ้วน

6.       บทเรียนจากการสอบสวนการระบาด การสอบสวนโรคหัดเฉพาะราย การเก็บตัวอย่างตรวจทางห้องปฏิบัติการ ควรจะได้มีการทบทวนขั้นตอนการเก็บที่ถูกต้อง  แนวทางการการปฏิบัติที่ชัดเจน  ผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการจัดส่งให้มีความทันเวลาสำหรับสิ่งส่งตรวจไวรัสที่ต้องเพาะเชื้อและแยกเชื้อที่มีข้อจำกัด  ตามที่กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์กำหนด ซึ่งในปัจจุบันดำเนินการจัดส่งผ่านศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ขอนแก่น

                                 

หมายเลขบันทึก: 183408เขียนเมื่อ 20 พฤษภาคม 2008 13:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:04 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

เห็นด้วยกับการสอบสวนโรค และควบคุมโรค

เหมือนนักดับเพลิง ที่ต้องรีบลงที่เกิดเหตุเพื่อหาต้นตอ ของไฟ

ขอบคุณคะที่ให้กำลังใจ เราจะดำเนินการเพื่อให้ควบคุมการระบาดให้เสร็จสิ้นโดยเร็ว

หาให้เจอตัวแรก เรวๆนะคับ จะเป็นกำลังใจให้

และก็นั่ง รอฟังอยู่เหมือนกัน ว่ามันเข้ามาได้ไง

สมมุติ

ถ้าเจอคนแรกที่เป็น

หาให้เจอถึงสาเหตุ

นำมาแลกเปลี่ยน

คนเข้ามาอ่านเพื่อเป็นกรณีศึกษา

ปวงประชาได้ประโยชน์กันทั้งนั้น

สาธุ

กำลังดำเนินการทำรายงานฉบับบสมบูรณ์ รายแรกที่พบ ยังไม่ทราบว่าติดเชื้อมาจากใครเหมือนกัน ต้องใช้ข้อมูลทางสถิติวิเคราะห์ ซึ่งในขณะที่เกิดการระบาดของโรค ไม่ได้ใช้สถิติเชิงวิเคราะห์ สอบสวนนักศึกษาที่ไม่ป่วยและนักศึกษาที่ป่วย นำมาหาค่าทางสถิติ ถ้าต้องการทราบรายละเอียด มีตัวอย่างรายงานสอบสวนการระบาดของโรคหัดในนักศึกษาอาชีวะ จังหวัดน่าน

ประกาย

[email protected]

ดีมากครับ ที่มีความรู้ให้ ศึกษาเกี่ยวกับการควบคุมการระบาด ของโรค ติดต่อ

ไม่อยากให้โรคหัดเกิดขึ้นกับใครเลยค่ะ เพราะทำให้เสียสุขภาพ สิ้นเปลืองงบประมาณ โชคดีที่เรามีทีมแพทย์ พยาบาล และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องช่วยกันดำเนินการควบคุมการระบาดของโรคหัดได้ ต้องขอบคุณค่ะ

จากการคำนวนค่าใช้จ่ายในการควบคุมการระบาดครั้งนี้ ค่าใช้จ่ายสูงมาก รอผลสรุปอีกครั้งจะรายงานให้ทราบ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท