แตกประเด็น ๑ "นักรังสีเทคนิคมืออาชีพ"


ผู้ที่ทำอะไร “ด้วยใจรัก” และมองเห็นคุณค่าในสิ่งที่ตนเองทำ ย่อมสร้างผลงานออกมาได้ดี มีความภาคภูมิใจและมีความสุข บางทีอาจจะดีเกินกว่ามาตรฐานหรือความคาดหมายด้วยซ้ำไป นี่แหละ “มืออาชีพ”

เรียน อ.มานัส  ที่เคารพ
      ผมขออนุญาตร่วมแสดงความคิดเห็นในหัวข้อ  นักรังสีฯ มืออาชีพ และ นักรังสีฯ กับองค์มีชีวิต  บทความใน RT News ฉบับที่  26 และ 27  มาทาง e-mail เนื่องจากผม click แสดงความคิดเห็นใน web สมาคมรังสีฯ แล้วไม่สามารถเข้าไปได้
      ด้วยความเคารพ
      ธนากร  อภิวัฒนเดช  รังสีรุ่น 17
      อดีตผู้จัดการฝ่ายรังสีฯ  รพ บำรุงราษฎร์

 “องค์กรมีชีวิต”   จะเกิดขึ้นได้คงต้องมีหลายปัจจัยด้วยกัน 
      ส่วนหนึ่ง  ตัวนักรังสีฯ เองต้องเห็นประโยชน์และคุณค่าของการสร้างให้องค์กรมีชีวิตด้วยตนเอง
      ส่วนหนึ่ง  ผู้บริหารหรือผู้นำองค์กต้อง “ได้ใจ ” จากนักรังสีฯ หรือ “ลูกน้อง”  เสียก่อน  คำว่า “ลูกน้อง”   ก็บอกอยู่แล้วว่าผู้นำองค์กรควรดูแลเค้าให้เหมือน “ลูก”   เหมือน “น้อง”  สนใจว่า เค้าทำงานมีความสุขมั๊ย  ปรารถนาดีอย่างจริงใจที่จะส่งเสริมและพัฒนาเค้าให้เป็นนักรังสีฯที่ดี  ดูว่าเค้ามีปัญหาจากการทำงานหรือไม่  ร่วมรับผิดชอบงาน  ไม่โยนความผิดให้เค้า ปกป้องเค้า  รักษาสิทธิที่พึงได้ให้เค้า  มองเค้าในด้านดี  ไม่คอยจ้องจับผิด  มองเห็นคุณค่าของเค้า  แต่ก็ไม่ใช่ให้ท้ายซะเค้าหลงตนเอง จนเสียผู้เสียคนไปนะ   หากผู้นำองค์กร สามารถ “ ให้ใจ” ลูกน้องได้   เค้าก็ยินดีที่จะทำงานและสร้างสรรค์สิ่งดีๆ ให้กับองค์กร “ด้วยใจ” เช่นกัน
      ผู้นำองค์กร ไม่ควรดูแลเค้าเพียงคิดว่าเป็น “ลูกจ้าง”  คิดแค่ว่า จ้างมาแล้ว จ่ายค่าตอบแทนให้แล้วก็ทำงานให้ดีสิ  เอาแต่สั่งงาน  ไม่สนใจว่าเค้าจะมีปัญหาอะไรหรือไม่  ทำได้ก็ทำ  ทำไม่ได้ก็ลาออกไป  จ้างใหม่ก็ได้  อย่างนี้เค้าก็ “ไม่มีใจ ” ให้กับองค์กร  เค้าก็จะทำงานให้ตามค่าจ้าง  หรือทำตามที่สั่งเท่านั้น  คอยแต่รอเวลาเลิกงานกลับบ้าน  จะไม่มีการคิดสร้างสรรค์อะไรให้กับองค์กร

     อีกส่วนหนึ่ง  เป็นส่วนที่สำคัญมาก   ผู้นำองค์กรและผู้ร่วมทีมสุขภาพจากวิชาชีพอื่น  ต้องมีทัศนคติที่ดีต่อนักรังสีฯ  ให้เกียรติในศักดิ์ศรีของวิชาชีพรังสีฯ อย่างเท่าเทียมกับวิชาชีพอื่น   เพราะสิ่งนี้จะเป็นยาชูกำลังอย่างดี  เป็นขวัญและกำลังใจให้นักรังสีฯ ทำงานด้วยความมั่นใจและภาคภูมิใจ  (ซึ่งถ้าเราจะมาวิเคราะห์กันเรื่องนี้คงต้องใช้เวลาคุยกันอีกนาน  เพราะต้องรื้อฟื้นไปถึงระบบการศึกษา  ค่านิยม อัตตา ทัศนคติ วิธีคิด ที่มันฝังลึกอยู่ในยีนส์ จนมันหล่อหลอมออกมาเป็นวัฒนธรรมการทำงานแบบไทยๆ อย่างทุกวันนี้ )  
     ผมเคยบอกน้องๆ อยู่เสมอว่า  เราต้องตั้งใจทำงานของเราให้ดีที่สุด มีความรอบคอบ  ผิดพลาดให้น้อยที่สุด   เพื่อให้เป็นที่ยอมรับจากวิชาชีพอื่น  โดยเฉพาะวิชาชีพที่ใกล้ชิดเราที่สุด    แต่ยอมรับเลยว่าเหนื่อยมากๆ เหนื่อยที่สุด   ยิ่งปัจจุบันนี้มีการฟ้องร้องกันมากขึ้น  ก็ยิ่งจะมีการป้องกันตนเอง  ต่างฝ่ายก็คงคอยมองหาแพะ แบ๊ะๆ     ก็คิดว่าคงทำให้ต้องเหนื่อยขึ! ้นอีกหลายเท่าเป็นแน่แท้

      ถ้าบ้านไหนบรรยากาศการทำงานดี   ผู้คนในบ้านไม่ว่าจะเป็นผู้นำองค์กร เพื่อนร่วมงานทั้งวิชาชีพเดียวกันและต่างวิชาชีพ  ต่างให้เกียรติกัน มองเห็นคุณค่าของกันและกัน  มีความเอื้อเฟื้อกัน และมีความปรารถนาดีต่อกันอย่างจริงใจ   เชื่อว่าทุกคนก็คงรักบ้านหลังนี้และช่วยกันทำบ้านหลังนี้ให้น่าอยู่   มีชีวิตชีวา โดยไม่ต้องมีการบังคับ     อะไร อะไร ที่เป็นดรรชนีชี้วัดก็คงจะพุ่งปรู๊ดปร๊าดเลยทีเดียว

      ยังคงมีอีกหลายปัจจัยที่ทั้งสามารถส่งเสริมหรือบั่นทอนกำลังใจของนักรังสีฯ ในการที่จะสร้างองค์กรให้มีชีวิตได้ แต่เชื่อว่า นอกจากตัวนักรังสีฯ เองแล้ว  ก็คงไม่มีอะไรที่จะสามารถมาบั่นทอนความเป็น “นักรังสีฯ มืออาชีพ” ของเราได้   ตราบใดที่นักรังสีฯ  ยังมีจิตใจที่มุ่งมั่น  ตั้งใจ และ รอบคอบในการทำงาน “ด้วยใจรัก” ในวิชาชีพรังสีฯ   มองเห็นคุณค่าของวิชาชีพ และ! ตนเอง    เพราะผู้ที่ทำอะไร “ด้วยใจรัก”  และมองเห็นคุณค่าในสิ่งที่ตนเองทำ  ย่อมสร้างผลงานออกมาได้ดี  มีความภาคภูมิใจและมีความสุข   บางทีอาจจะดีเกินกว่ามาตรฐานหรือความคาดหมายด้วยซ้ำไป   นี่แหละ “มืออาชีพ”

      ธนากร  อภิวัฒนเดช  รังสีรุ่น 17
      อดีตผู้จัดการฝ่ายรังสีฯ  รพ บำรุงราษฎร์
      E-mail:  [email protected]

คำสำคัญ (Tags): #ประกายรังสี
หมายเลขบันทึก: 183057เขียนเมื่อ 18 พฤษภาคม 2008 10:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:48 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

องค์กรที่มีชีวิต ผู้ร่วมงานต้อง ประสานใจเป็นหนึ่ง ไม่มี ความเป็น เจ้านาย หรือ ลูกน้อง มีแต่ ทีมงานสร้างสานคุณภาพที่มีสุขภาพ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท