วิสาหกิจชุมชน เป็นเศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเองที่แท้จริง


การพึ่งตนเองทางธุรกิจของชาวบ้าน มีความสำคัญของวิสาหกิจชุมชนเป็นที่ตั้ง

วิสาหกิจชุมชน หรือการประกอบการของชาวบ้านในชุมชน ที่รวมตัวกันอย่างไม่เป็นทางการ มีความมุ่งหวังที่จะคิดแก้ปัญหาของชุมชนตัวเอง ในเรื่องดังนี้(ข้าว,อาหาร,เครื่องใช้,ปุ๋ย,ยาฆ่าแมลง)เป็นหลัก มีความหวังอย่างต่อเนื่องให้อนาคตของชุมชนลดการพึ่งพาจากภายนอกในเรื่องที่กล่าวมาแล้วข้างต้น แต่ไม่ตัดขาดจากสังคม เพราะว่ายังมีเครือข่ายกันและกันทั่วทั้งประเทศ 

วิสาหกิจชุมชน เป็นการประกอบการเพื่อการแลกเปลี่ยนหรือเหลือแล้วขายต่อไป โดยไม่กำหนดว่าจะต้องผลิตมาก ๆ เพื่อขายอย่างเดียว แต่เน้นการผลิตเพื่อทำกินทำใช้ในชุมชนเป็นหลัก......

ถ้าวิสาหกิจชุมชน เป็นหนึ่งในคำตอบสุดท้ายของการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมไทย ....แล้วทำไม?วิสาหกิจชุมชนนั้นเกิดขึ้นมา ตั้งแต่ปี 2545 แล้ว เกษตรกรชาวบ้านส่วนใหญ่จึงไม่เข้าใจกัน...เพราะให้นักวิชาการและนักธุรกิจมาคิดและมาทำแทนเกษตรกรชาวบ้าน  .....ผลที่ออกมาคือ ไม่เกิดเศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเอง แต่เกิดเศรษฐกิจชุมชนตามเศรษฐกิจกระแสหลักเหมือนเดิม.....

**ความสำคัญของวิสาหกิจชุมชน 

1.     ส่งเสริมการรวมตัวกันของคนในชุมชน  ในการประกอบธุรกิจในระดับชุมชน  มีความมั่นคง  สามารถลดการพึ่งพาภายนอกได้

2.     ส่งเสริมความรู้  ภูมิปัญญาท้องถิ่น  การพัฒนา ความสามารถในการจัดการตรงตามความต้องการของชุมชนที่แท้จริง

3.     วิสาหกิจชุมชนเป็นกลไกการสร้างฐานที่มั่นของเศรษฐกิจพอเพียง  เมื่อครัวเรือนเป็นหน่วยการผลิตที่เล็กที่สุดของสังคม  จะต้องคิดถึงการผลิต   2  วิถี คือ 1. การผลิตเพื่อกินเพื่อใช้โดยตรง  (ข้าว,ปลา,ผัก,ผลไม้ ,ยารักษาโรค)  2.การผลิตเพื่อการแลกเปลี่ยนหรือการซื้อขาย 

.......จากการผลิตทั้งสองวิธีนี้พบว่า  ถ้าเราสามารถพึ่งพาการผลิต แบบแรกได้มาก  ก็หมายความว่า เราสามารถลดการพึ่งพาวิธีที่ 2 ให้น้อยลงได้

4.     วิสาหกิจชุมชนเป็นเครื่องมือ (Mean)  เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ด้านเศรษฐกิจและสังคม(Ends) วิสาหกิจชุมชนจึงเป็นเครื่องมือในการสร้างฐานรากเศรษฐกิจและสังคมให้เข้มแข็ง  เพื่อที่จะให้ระบบเศรษฐกิจและสังคมส่วนอื่น ๆ  ได้ต่อยอดบนฐานที่เข้มแข็ง   สามารถคงทนต่อการเปลี่ยนแปลงของโลกทุนนิยมได้

5.     วิสาหกิจชุมชนเป็นระบบเศรษฐกิจชุมชนที่มีความเข้มแข็งพึ่งพาตนเองได้   มีความพร้อมที่จะพัฒนา  สำหรับการแข่งขันในอนาคตบนฐานของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

 

** ลักษณะสำคัญของวิสาหกิจชุมชนประกอบด้วย*

1.     ชุมชนเป็นเจ้าของและเป็นผู้ดำเนินการ

2.     ผลผลิตมาจากขบวนการในชุมชน โดยใช้วัตถุดิบ ทรัพยากร ทุน  แรงงานในชุมชนเป็นหลัก

3.     ริเริ่มสร้างสรรค์เป็นนวัตกรรมของชุมชน

4.     เกิดบนฐานของภูมิปัญญาท้องถิ่นผสมผสานกับภูมิปัญญาสากล

5.     มีการดำเนินการแบบบูรณาการเชื่อมโยงกิจกรรมต่าง ๆ เป็นระบบ

6.     มีกระบวนการเรียนรู้เป็นหัวใจสำคัญในการขับเคลื่อน (คลัสเตอร์)

7.     มีการพึ่งพาตนเองของครอบครัวและชุมชนเป็นเป้าหมาย

8.     มิได้แสวงหาผลกำไร แต่เน้นคุณธรรมจริยธรรม พึ่งพาอาศัยกัน

* คัดลอกมาจากหนังสือ ประกอบการศึกษา วิชา วิสาหกิจชุมชน  ของนักศึกษาในโครงการมหาวิทยาลัยชีวิต  สถาบันส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน และมหาวิทยาลัยราชภัฏ พระนคร  กรุงเทพฯ  ปี 2551.....

สิ่งที่เป็นปัจจัยสำคัญของความสำเร็จ "วิสาหกิจชุมชน" คือ การได้จัดทำแผนแม่บทชุมชน ด้วยกระบวนการประชาพิจัย ไม่น้อยกว่า (8 เดือน)  และกำหนดวิสัยทัศน์  พันธกิจ แผนปฏิบัติ ออกมาชัดเจนว่า หน่วยงานไหน รับผิดชอบเรื่องอะไร? 

ข้างบนที่กล่าวมาแล้วนั้น  เป็น 8 ข้อสำคัญที่จะทำให้การขับเคลื่อน "วิสาหกิจชุมชน"สำเร็จได้เป็นจริงและมีความยั่งยืนได้ครับ

หมายเลขบันทึก: 182602เขียนเมื่อ 16 พฤษภาคม 2008 09:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มิถุนายน 2012 21:17 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

การกำหนดวิสัยทัศน์ พัทธกิจ และแผนปฏิบัติการ นั้น เป็นความเข้าใจที่ต้องย้ำอีกครั้งว่า "ทำเพื่อการพึ่งตนเอง" ลดการพึ่งพาจากภายนอก ไม่ว่าเรื่อง ใน 5 เรื่องเป็นหลักคือ ข้าว ,อาหาร ,เครื่องใช้ ,สมุนไพร ,ปุ๋ย เช่น ถ้าไม่มีข้าว หรือในชุมชนไม่มีการปลูกข้าวเพื่อรับประทานในชุมชน ตำบล ควรจะหาทางจัดการว่าจะทำอย่างไร? ในพื้นที่ประสบความสำเร็จ เช่น บ้านหนองกลางดง ต.ศิลาลอย อ.สามร้อยยอด จ.ประจวบคีรีขันธ์ พื้นที่ตนเองไม่เคยปลูกมาหลายปีแล้ว พอดำเนินการ "ประชาพิจัย" ได้แผนแม่บทชุมชนของตนเอง ได้ดำริว่า เราต้องเอานากลับคืนมา เอาข้าวมาไว้ในยุ้งฉางที่เคยมีในอดีต (อดีตไม่เคยซื้อข้าว แต่ปัจจุบันซื้อแล้ว)เพราะปลูกแต่สับประรดอย่างเดียว ตอนนี้ความหลากหลายในการทำการเกษตรมากขึ้นในชุมชนหนองกลางดง เพื่อลดภาระความเสี่ยงของกลไลราคาพืชผลทางการเกษตร ซึ่งแน่นอน ชาวบ้านต้องรับภาระขาดทุนตลอด.. แต่การปลูกพืชหลายชนิดในแปลงทำให้เห็นโอกาสที่ไม่ขาดทุนไปเสียทุกอย่างของชาวบ้านหนองกลางดง...วิสัยทัศน์ของชาวบ้านหนองกลางดง จึงดำริเรื่อง ข้าวไว้ด้วยว่าต้องมีโรงสีของตนเอง และผลิตข้าวเพื่อเลี้ยงคนหนองกลางดงเองครับ แต่วิสัยทัศน์ เป็นเรื่องกว้างจึงกำหนดเป็นกว้าง ๆ ครับ คือ "หนองกลางดง ชุมชนปลอดยาเสพติด มีเศรษฐกิจพอเพียง "

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท