หมอเจ๊ คนสวย แซ่เฮ
พ.ญ. ศิริรัตน์ เอกศิลป์ สุวันทโรจน์

ไปทำอะไรมาเมื่อคุณครูมาเชิญให้ไปโรงเรียน


การปรับภาวะให้เกิด ชนะ-ชนะ ทำได้ง่ายๆ การให้อิสระในการพูด อิสระในการคิด อิสระในการพูดได้อย่างที่คิด การฟังแบบคนพูดรู้ว่า “ยอมรับฟัง” คือ ฟังเรื่องที่พูดโดยไม่ตัดสินผิดหรือถูก ไม่ผนวกอารมณ์ลบของผู้ฟัง แต่ผนวกอารมณ์สุขของผู้ฟัง การพูดออกมาแบบจริงใจและไม่ทำร้ายใจใคร เท่านี้ทำให้เกิดภาวะ ชนะ-ชนะ ได้แล้ว

11  พฤษภาคม 2551    หลังจากไปพูดให้ผู้ปกครองเด็กปฐมวัยที่ครูโรงเรียนอนุบาลประจำจังหวัดเชิญมาปฐมนิเทศการเตรียมลูกก่อนเข้าโรงเรียนฟังตามที่รับปากไว้ตามคำเชิญทางโทรศัพท์เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 2551  ฉันก็ไปงานศพคุณพ่อพี่ชายของน้องแอ๊ดที่ตะกั่วป่า  คุณสามีอำนวยความสะดวกขับรถไปให้   ฝนตกหนักเป็นระยะระหว่างที่เดินทางกันไป

 

ระยะนี้ฉันทำอะไรโก๊ะๆหลายเรื่อง  เรื่องหนึ่งก็เรื่องของน้องแอ๊ด   น้องอัยการบอกข่าวมาว่าคุณพ่อพี่ชายของน้องแอ๊ดเสียชีวิต ฉันมาบอกต่อเพี้ยนเป็นคุณแม่ซะนี้  ไปถึงงานศพจึงรู้ตัวว่าโก๊ะ  นึกแล้วก็ขำว่าเป็นไปได้หนอนี่   ได้เรียนรู้ว่า  เวลามีอะไรยุ่งๆให้ต้องทำพร้อมๆกันหลายๆอย่างที่ต้องรีบๆทำ  สติจะไม่ดี การฟังเพื่อรับไว้จะไม่ดีอย่างที่คาดหวัง         

 

เรื่องการไปพูดตามที่โรงเรียนเชิญ โรงเรียนแจ้งว่าได้กำหนดให้ฉันเป็นผู้พูดคนแรก ฉันรู้สึกแปลกด้วยในมุมมองฉัน โรงเรียนต้องการชี้แจงเรื่องราวแก่ผู้ปกครอง ฉันว่าเรื่องวิชาการน่าจะเป็นเรื่องแถม เมื่อทราบวัตถุประสงค์การเชิญให้พูด ฉันจึงแจ้งว่าฉันเปลี่ยนขอเลื่อนไปพูดหลังกลุ่มผู้บริหารโรงเรียน จะมีกี่คนพูดก่อนไม่ว่ากันฉันจะรอฟังว่าพูดอะไรบ้าง   ขอฟังเพื่อนำไปปรับใช้เมื่อถึงตาฉันพูด พร้อมแจ้งไปว่าให้บอกด้วยว่าหลักสูตรที่สอนเด็กปฐมวัยมีอะไรบ้าง อุปกรณ์ที่ใช้สอนขอให้เอาไปด้วย ฉันจะได้ใช้ยกตัวอย่างประกอบการพูดให้เข้าทางและสอดคล้องกันกับที่ครูพูดไว้

 

ประเด็นที่ถูกเชิญให้ไปพูดคุย คือ เรื่องพัฒนาการทางสมองและอารมณ์  เมื่อครูระดับบริหารหลายคนขึ้นไปพูด เขาได้ช่วยกันพูดวิชาการให้ฉันหมดแล้ว  ถึงตาฉันพูดมีเวลาเหลือให้พอใช้คุยกับผู้ปกครองอยู่ราวครึ่งชั่วโมง   คำ 3 คำ ที่ผุดขึ้นในใจระหว่างการรอพูด ถูกฉันนำมาพูดเรียงร้อยเชื่อมโยงไปสู่ประเด็นของพัฒนาการทางสมองและอารมณ์  เนื้อเรื่องที่พูดอาศัยตามน้ำครูปฐมวัยที่ได้ร่วมพูดแบบคู่พูดดูโอ  ฉันชวนผู้ปกครองร่วมสนทนาแบบสนทนาธรรมดาๆ ที่แทรกบทสะท้อน (reflection) ให้ผู้ปกครองได้แสดงบทร่วมระหว่างพูดคุย   คำ 3 คำที่ใช้นำมาเรียงร้อยในการสนทนา คือ คำนี้ค่ะ สุข ดี เก่ง  ไม่ใช่ "เก่ง ดี สุข"

 

หลังกลับมาบ้านฉันหวนคิดถึงกิจกรรมเด็ดๆที่ได้พบเด็กๆทำให้เห็น ทั้งในขบวนของชาวแซ่เฮ   นักเรียนสตรีภูเก็ต และ น้องจอม แฟนพันธุ์แท้หอย  รวมถึงเด็กๆที่พบเจอมากับผู้ปกครองที่พบกันวันนี้  แล้วเรียนรู้ว่า มุมมองของการเรียงร้อย 3 คำนี้ในเหตุการณ์ที่พบเห็นมีมุมต่างกัน

ครูในสตรีภูเก็ตที่เจอเมื่อวันที่ 26 เมษายน 2551 และผู้ปกครองที่ฉันเจอในวันนี้ สะท้อนมุมมองว่า หากเรียงร้อย 3 คำนี้เป็นคำแทนความฝันที่อยู่ในใจของผู้ใหญ่  คำที่เรียงร้อยได้จะเป็น  เก่ง ดี สุข  หรือ ดี เก่ง สุข    ส่วนเด็กในขบวนของชาวแซ่เฮและน้องจอมนั้น  หากเรียงร้อย 3 คำนี้เป็นคำแทนฝันที่อยู่ในใจของเด็กๆ  คำที่เรียงร้อยได้จะสะท้อนคำว่า สุข ดี เก่ง  

สตรีภูเก็ต

จอม

 

hay

hay

 

ฉันเคยรู้มาว่า การจะเกิดความสุขก่อนดีก่อนเก่ง ควรจะใช้หลักที่เรียกว่า ชนะ-ชนะ   (win-win) ตอบสนองต่อกันและกัน    เมื่อผู้ใหญ่และเด็กมีมุมมองต่างกัน  คนที่ต้องปรับภาวะแพ้-ชนะหรือ ชนะ-แพ้ สู่ ชนะ-ชนะควรจะเป็นผู้ใหญ่มากกว่าเด็กๆ  คนที่ต้องลงมือทำให้เกิด ชนะ-ชนะ ก่อนคือผู้ใหญ่เช่นกัน  นึกภาพแล้วเห็นครอบครัวแซ่เฮมีตัวอย่างที่เป็นบทเรียนให้ได้เรียนรู้วิธีการทำให้เกิดภาวะ ชนะ-ชนะ ระหว่างคนโต กว่ากับคนเด็กกว่าอยู่อย่างหลากหลาย  

nina

 

ฉันเก็บเกี่ยวได้ว่า การปรับภาวะให้เกิด ชนะ-ชนะ ทำได้ง่ายๆ  การให้อิสระในการพูด อิสระในการคิด  อิสระในการพูดได้อย่างที่คิด  การฟังแบบคนพูดรู้ว่า  ยอมรับฟัง คือ ฟังเรื่องที่พูดโดยไม่ตัดสินผิดหรือถูก ไม่ผนวกอารมณ์ลบของผู้ฟัง แต่ผนวกอารมณ์สุขของผู้ฟัง การพูดออกมาแบบจริงใจและไม่ทำร้ายใจใคร เท่านี้ทำให้เกิดภาวะ ชนะ-ชนะ ได้แล้ว  

 

ฉันว่าเด็กๆ มีความสุขเมื่อได้พูดแล้วมีคนฟัง  ฉันว่าเขาแปลการรับฟังนั้นหมายไปถึงการยอมรับจินตนาการที่ตัวเขามี  เมื่อผู้ใหญ่อย่างเรายังฝันอยากให้มีคนฟังเราพูด  ยอมรับเรื่องที่เราพูด  เรื่องที่เราคิด  โดยไม่ตัดสินผิดหรือถูก ไม่ผนวกอารมณ์ลบของผู้ฟัง  แถมด้วยอารมณ์สุขที่จริงใจจากผู้ฟัง   เด็กๆเป็นเช่นนั้นด้วยจริงไหมเอย  

ฝันนี้ของเด็กจะเป็นจริงเมื่อคนพูดและคนฟัง ถ้อยทีถ้อยอาศัยกัน ผลลัพธ์ ชนะ-ชนะ จึงเกิดตามมา  ผลได้ต่อมาจากการมีความสุข คือความอิ่มใจ  เมื่อเด็กอิ่มใจ เด็กจะเปิดใจต่อการเรียนรู้โดยอัตโนมัติ   ในที่สุดแล้วเด็กนั้นก็จะมีความดี ความเก่งเกิดขึ้นตามมาในตัวของเขา   

 

นี้คือประเด็นที่เก็บเกี่ยวได้จากการร่วมใช้ชีวิตกับคนชาวแซ่เฮ ที่อยากบอกเพิ่มค่ะ

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 182384เขียนเมื่อ 15 พฤษภาคม 2008 07:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:03 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

เยี่ยมมากครับพี่หมอเจ๊ ประเด็นชัดเจนครับ

สงสัยต้องตั้งชื่อพี่หมอเจ๊เป็น โก๊ะ เจ๊ จัง ให้เป็นแม่ของโก๊ะ จิ จัง อิอิ งานศพที่พี่หมอไปเป็นพี่ชายของคุณแอ๊ดครับ คุณพ่อเสียไปก่อนหลายปีดีดึกแล้วครับ อิอิ

ทำไปทำมาปรากฏว่าผมรู้จักแบบสนิทสนมกับเพื่อนๆพี่หมอเจ๊ตั้งหลายคนแน่ะครับ วี๊ดว๊ายกะตู้วู้กันใหญ่ วันที่ไปงานศพถ้าผมรู้ว่าพี่หมอเจ๊สนิทกับพี่ปิ๋ว พี่ปิยะนุช พี่หมอเจ๊ยังไม่ได้กลับกระบี่แน่ อิอิ

คุณแอ๊ดฝากขอบพระคุณพี่หมอเจ๊กับคุณสามีอีกรอบหนึ่งครับ

  • อิอิ.....โก๊ะอีกแล้วเหรอ.......อายจังค่ะ
  • ไปถึงงานยังโก๊ะได้อีกเนอะ
  • .......
  • เหล่าบรรดาเพื่อนๆของหมอเจ๊นั่นนะ....ซี้กันเลยนะค่ะ....
  • เพื่อนสมัยเรียน....นานๆเจอกันที....แต่สัมพันธ์แนบแน่น....
  • .........
  • สมัยเรียน....เราชวนกันเล่น.....เรื่องเรียนช่วยกันบ้าง....แข่งเก่งกันแต่ตอนสอบ......ใจเลยเปิด.....ไม่เกี่ยว....เก่งไม่เก่ง....ล้วนเพื่อนกันทั้งนั้นเลย
  • บางคนหมอเจ๊ไม่รู้จักเขา.....เขายังนับหมอเจ๊เป็นเพื่อนเลยค่ะ
  • .........
  • อยากให้เด็กๆสมัยนี้....รู้จักแสดงออกอย่างนี้บ้าง....
  • ใจบริสุทธิ์.....ไม่ใจหมอง.....เพราะมีฉันทคติที่เหมาะควร
  • สวัสดีครับ
  •  "สุข ดี เก่ง"ต้องกลับไปพัฒนาเป็นการบ้านต่อครับ เพราะที่บ้านมีเด็ก 
  • อิอิ...
  • โก๊ะ เจ๊ จัง  ที่ท่านอัยการชาวเกาะตั้งให้ก็เก๋ดีนะครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท