บนถนนการนิเทศ ตอน Best practices"Coaching"


การเป็น Coaching ที่ดีต้องชำชาญเรื่องนั้นๆจริงๆ มีผลงานเป็นที่ยอมรับ เป็นผลงานเชิงประจักษ์

บนถนนการนิเทศ ตอน Coaching Techniques

           เมื่อประมาณปี 2534 ระหว่างเป็นศึกษานิเทศก์จังหวัดนนทบุรีได้มีความพยายามที่จะหาวิธีการนิเทศให้หลากหลาย  ด้วยความรักในอาชีพนี้ อยากเพิ่มศาสตร์ทางการนิเทศก์ ได้นำแนวคิด ตามวิธีการของ Coach มาลองปฏิบัติการนิเทศภายในโรงเรียน ครั้งแรกดำเนินการที่โรงเรียนวัดไทรม้า และอีกหลายโรงเรียนในเวลาต่อมา ผลงานในเรื่องนี้ได้นำเสนอเป็นผลงาน ทางวิชาการต่อมาได้ย้ายมาเป็นศึกษานิเทศก์สปช.ได้รับการสนับสนุนให้ทำงานในสำนักงานโครงการพิเศษเป็นการทำงานทีมีความสุขมากได้ทำงานที่รวดเร็วเจาะลึกถึงกลุ่มเป้าหมายเพื่อร่วมงานทุกคนทุ่มเท เสียสละ เก่งทุกคน ดีใจที่มีโอกาส ร่วมงานกับคนเก่ง(จะบันทึกเรื่องนี้ในหน้าต่อไป)

              งานที่ร่วมรับผิดชอบคือการปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้ และมีกิจกรรมหนึ่งที่ประทับใจคือได้ร่วมรับผิดชอบกิจกรรม การคัดเลือกครู รางวัลครูดีในดวงใจ  หรือ Teacher Award  นับว่าครั้งแรกที่มีกิจกรรมและใช้ชื่อรางวัลนี้ เป็นนโยบายของท่านเลขาธิการฯ ในเวลานั้น  กิจกรรมนี้ดำเนินการติดต่อกันมา 3 ปีทำให้เรามีครูเก่งมากมายนับว่าเป็นแรงบันดาลใจที่นำ Coaching Techniques มาพัฒนาต่อในโรงเรียนต้นแบบการปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้ พัฒนาอยู่ 1 ปี นำเสนอเป็นส่วนหนึ่งของผลงาน เพื่อขอเลื่อนระดับเป็นศึกษานิเทศก์ 9  ถือว่าเป็น Best  Practices  ของการนิเทศเรื่องหนึ่ง ที่ขอบันทึกไว้ บนถนนการนิเทศ  ยินดีแลกเปลี่ยนแนวคิด

เทคนิคการสอนแนะหรือ Coaching Techniques เป็นเทคนิคที่ช่วยพัฒนาครูเป็นรายบุคคล เหมาะสมสำหรับการนิเทศภายในโรงเรียน   การนำเทคนิค  การสอนแนะไปใช้ ให้คำนึงถึงหลักการสำคัญดังนี้ 

  1. 1.  มีผู้เชี่ยวชาญหรือผู้มีความสามารถเฉพาะเรื่องที่สามารถเป็น Coach ในโรงเรียน
  2. 2. การนิเทศเน้นการปฏิบัติร่วมกันระหว่างผู้ทำหน้าที่ Coach และผู้รับการนิเทศ โดยกำหนดบทบาทร่วมกัน  เน้นการนิเทศที่ผู้รับการนิเทศเป็นศูนย์กลางโดย

2.1        คำนึงถึงความต้องการของผู้รับการนิเทศเป็นสำคัญ

2.2        ให้คำแนะนำ ดูแล จนกว่าจะบรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้ร่วมกัน

2.3        บรรยากาศเป็นมิตร 

 ต่อไปนี้เป็น แนวปฏิบัติไม่ใช่ขั้นตอนปฏิบัติการนิเทศแบบเสนอแนะ

สำหรับผู้ที่ทำหน้าที่ Coach ดำเนินการตามแนวทาง CQCD ชึ่งประกอบด้วย

C – Complement ถือว่าเป็นส่วนสำคัญที่จะทำให้การนิเทศจะมีความสมบูรณ์ คือ การสร้าง     สัมพันธภาพที่ดี   ระหว่างCoach และผู้รับการนิเทศ โดยแสดงความจริงใจ ปราศจากอคติในการนิเทศ ใช้ศิลปะการทักทายเสนอให้ความช่วยเหลือแทนการถามหาปัญหา ถามถึงงานแทนการประเมินการทำงาน ให้ความช่วยเหลือในเรื่องส่วนตัวบ้างซึ่งจะเป็นการลดระยะเวลาในการสร้างสัมพันธภาพที่ดี

Q – Question การใช้คำถามซึ่งป็นวิธีการที่ไม่ต้องลงทุนแต่ต้องอาศัยประสบการณ์ความเชี่ยวชาญ

 ในที่นี้เสนอตัวอย่างคำถามที่ตะล่อมถามหาจุดที่ต้องการพัฒนา และการถามหาวิธีที่ปฏิบัติไปแล้ว ตลอดจนการถามหาเหตุผล เช่น

                                “ไม่ต้องกังวล วิธีการที่ทำอยู่แล้วก็เหมาะสมในระยะเวลาหนึ่งลองคิดให้ดีว่าที่ทำไปแล้วมีอะไร ที่เป็นวิธีที่ดีและส่วนใดต้องปรับปรุง”

                                “...แสดงว่ารู้แล้วว่าจะปรับปรุงส่วนใดและจะพัฒนาส่วนใดให้ดียิ่งขึ้น”

                                “...ถ้าเช่นนั้นเรามาช่วยกันคิดวาจะใช้วิธีใดที่เหมาะสม”

                             “  ….ผลงานดีมาก นักเรียนมีคุณภาพ ลองนึกดีๆ แล้วบอกนะคะ….  ว่าทำอย่างไร?บ้าง”

                         C – Correct เป็นการแนะนำ ช่วยเหลือ หาแนวทางแก้ไขเพื่อปรับปรุงหรือ พัฒนา ถือว่าเป็นส่วนสำคัญของการสอนแนะ เป็นความสามารถเฉพาะตัวผู้นิเทศซึ่งจะเชื่อมโยงกับการใช้คำถาม อาจมีภาพตาราง 3  ช่องเพื่อช่วยวิเคราะห์คำตอบ  และนำเสนอแนวทางแก้ไขปัญหา  หรือเสนอแนะการพัฒนา เช่น

 

กิจกรรม/วิธีการดีๆ

ที่ผู้รับการนิเทศบอก

กิจกรรม/วิธีการดีๆ

ที่ผู้นิเทศนำเสนอ

กิจกรรม/วิธีการดีๆ

ที่ตกลงปฏิบัติร่วมกัน

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

                        

สำหรับความสามารถของผู้นิเทศนอกจากจะเป็นความเชี่ยวชาญเฉพาะเรื่องแล้ว ควรมีความสามารถในการวิเคราะห์คำตอบเพื่อเลือกวิธีปฏิบัติดีๆที่เหมาะสมและเมื่อเลือกวิธีการพัฒนาร่วมกันแล้วควรกำหนดบทบาทของ Coach และผู้รับการนิเทศ

                         D – Demonstrate การนำวิธีการ ที่เลือกแล้วสู่การปฏิบัติ Coach ควรเป็นผู้สาธิต หรือ “พาทำ”

                                                                                                                                                                                                               

ปัจจัยนำไปสู่ความสำเร็จ

                       ปัจจัยสำคัญที่จะนำการ  Coaching ไปสู่ความสำเร็จประกอบด้วย

  1. 1.             ความชำนาญ ความเชี่ยวชาญ ของ Coach

2.        ผลงานของ Coach เป็นที่ยอมับและเชิงประจักษ์

  1. 3.             บรรยากาศการนิเทศเป็นการร่วมเรียนรู้
  2. 4.             การถามถึงงาน การชื่นชมความสำเร็จ ตลอดจนการช่วยเผยแพร่งานที่ภาคภูมิใจอย่างต่อเนื่องเป็นสิ่งที่กระตุ้นการพัฒนางาน

 

 

หมายเลขบันทึก: 182329เขียนเมื่อ 14 พฤษภาคม 2008 20:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 03:23 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

สนใจเรื่องกัลยาณมิตรนิเทศ ครับ มีใครทำไหมครับ..

เคยอ่านบทความของท่านอาจารย์สุมน อมรวิวัฒน์ เป็นแนวคิดข้อเสนอแนะคะ

สวัสคะ

ขอมาเก็บความรู้หน่อยนะคะ

และอยากจะแนะนำเกี่ยวกับการใส่คำสำคัญคะ เนื่องจากว่าเห็นว่าคำสำคัญในบันทึกนี้ ใส่เป็นประโยคยาว เลยคิดว่าคุณชัดเจนอาจจะยังสับสนเกี่ยวกับการใส่คำสำคัญ

รบกวนลองอ่านบันทึกที่เขียนแนะนำเกี่ยวกับคำสำคัญไว้ ที่ http://gotoknow.org/blog/tutorial4u/tag/คำสำคัญ คะ

การพัฒนาคุณภาพครูในสถานศึกษาตามแนวคิดโรงเรียนผู้นำการเปลี่ยนแปลงนั้น การ Coach แบบกัลยาณมิตรแบบไม่เป็นทางการน่าจะได้ผลดี เนื่องจากทำกับกลุ่มเล้กๆ ที่มีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน น่าจะตั้งเป็นทีม Coach แต่ละเรื่อง เช่น การเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ การทำวิจัยชั้นเรียน การผลิตสื่อ/นวัตกรรม การพัมนารูปแบบการสอน การวางระบบงานต่างๆ

โรงเรียนใดทำได้ผลแล้ว นำผลงานมาเผยแพร่บ้างนะคะ

เห็นด้วยค่ะ กับการนิเทศแบบกัลยาณมิตร

เพื่อจะได้สอดคล้องกับการประเมินคุณภาพ ประสิทธิภาพ ของสถานศึกษา แบบกัลยาณมิตร ของสมศ.ค่ะ

เรียนคุณป้าชัดเจนไทยเเท้หนูมาจากโรงเรียนยางชุมน้อย

สุรพิชฌาย์ ฟ้าหวั่น

เรียนพี่ชัดเจน ไทยแท้

เม่นสนใจการนิเทศแบบ Coach และการนิเทศแบบกัลยาณมิตรมาผสมกันได้ไหมคะ แล้วทำเรื่องการขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษาค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท