ประสบการณ์(ปิดเทอม)2


   

วันที่ 2   ไปหมู่บ้านลำพระเพลิง แต่ก่อนอื่นมาโคราชทั้งทีต้องแวะ สักการะคุณย่าโมก่อนเพื่อ  เป็น ศิริมงคลก่อนออกเดินทาง  พอถึงหมู่บ้านลำพระเพลิงก็มีเรื่องแปลกอีกแล้ว เพราะกลุ่มสมาชิกสหกรณ์ทุกคนยืนเรียงแถวกันปรบมือแล้วพูดอะไรสักอย่าง (จำไม่ได้) แต่รู้ว่าเหมือนตอนที่รับน้องใหม่เลยแล้ว(สนุกดี) กลับมาที่เรื่องงานต่อ กลุ่มสหกรณ์ที่หมู่บ้านพระบึง แห่งนี้เขาจะปลูกผักไร้สารพิษ   ศิลปะผ้าไหมปักธงชัยและ เพ้นท์ผ้าไหมลายบาตริก ส่วนกลุ่มเกษตรอินทรีย์บ้านโคกหิน ก็จะมีปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ แชมพู ที่กลุ่มสหกรณ์บอกว่าใช้แล้วผมนุ่ม ทางด้านผู้เชี่ยวชาญญี่ปุ่นก็ได้ให้คำแนะนำกับกลุ่มสมาชิกสหกรณ์ว่าควรจะผลิตแชมพูหลายๆแบบ ก็คืออาจจะมีการใช้สมุนไพรอย่างอื่นด้วย    ที่นี่ก็จะมีนวดแผนไทย ลูกประคบ  กล้วยหอมทอง (กล้วยเขียว) กล้วยหอมทองที่นี้น่ากินมากเลย  ตอนกลับเขาก็ให้ผลไม้อีกรู้สึกว่าของจะเต็มรถแล้วนะ (ตอนนั้นก็มีสมาชิกร่วมเดินทางทั้งหมด 9 คน)     

     

              หลังจากนั้นไปก็ไป บ้านนาเสียว อ. เมือง จ. ชัยภูมิ  ไปดูอะไรล่ะ (ต้องเป็นผ้าไหมแน่นอน ) ถือว่าเป็นจังหวัดที่มีชื่อในด้านผ้าไหมมาก (บ้านเกิดคะ) พอไปถึงแล้วรู้สึกว่าหมู่บ้านนี้เงียบจัง   เรียบง่าย (แต่ก็ชอบบรรยากาศแบบนี้นะ)   แต่เสียดายที่ไม่ได้เดินทางไปสักการะเจ้าพ่อพญาแล ก็เลยไม่ได้ถ่ายรูปมาให้ดู แต่ถึงยังไงก็ขอเล่าประวัติพอสังเขปให้ฟังแล้วกัน เจ้าพ่อพญาแลเดิมเป็นคนลาวต่อมาย้ายถิ่นฐาน มาอยู่ที่ภาคอีสานก็คือจังหวัดชัยภูมิ และก็คอยส่งเครื่องบรรณาการไปให้กษัตริย์ลาวต่อมาเกิดความขัดแย้งกันก็เลยทำให้ กษัตริย์ลางส่งคนมาฆ่าแต่ก็ไม่สามารถฆ่าได้ หลังจากนั้นเจ้าพ่อพระยาแลก็หนีไปอยู่ที่บ้านหนองปลาเฒ่า (เคยไปครั้งหนึ่งร่มรื่นมากบรรยากาศเย็นสบาย) แล้วทหารจากลาวก็ตามมาฆ่าโดยใช้ไม้ไผ่แทงทะลุ รูทวารหลังจากนั้นเจ้าพ่อพญาแลก็เสียชีวิต (เหตุที่ไม่สามารถฆ่าเจ้าพ่อพญาแลได้นั้นก็เพราะว่าเมื่อก่อนเจ้าพ่อพญาแลเคยร่ำเรียนวิชาอาคมเป็นลูกศิษย์ของปู่ด้วงย่าดี)  หากใครไปชัยภูมิแล้วเดินทางสาย ชัยภมิ-หนองบัวแดง ก็จะผ่านวัดชัยภูมิพิทักษ์ (ผาเกิ้ง) ด้านข้าง ก็จะมีศาลปูด้วงย่าดี ยังไม่จบนะขอเล่าเรื่องวีรกรรมที่เจ้าพ่อพญาแลทำไว้ก่อนท่านเสียชีวิต ท่านได้ก่อตั้งจังหวัดชัยภูมิขึ้นมา และร่วมมือกับย่าโมทำสงครามกับเจ้าอนุวงศ์กษัตริย์ประเทศลาว สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 2 นี่คือประวัติโดยย่อของเจ้าพ่อพญาแล ตอนนี้ก็กลับเข้าเรื่องผ้าไหมต่อ ผ้าไหมบ้านาเสียว เห็นยายที่ทอผ้าไหมอยู่ที่นี่บอกว่า  ไหมที่นี่เป็นไหมแท้ 100 %   แต่อาจจะไม่โด่งดังเท่าไรผ้าไหมที่บ้านเขว้า เพราะมีสมาชิกอยู่กันไม่กี่คนจึงทำให้ทอผ้าไหมได้ไม่มากและยังต้องใช้เวลานานอีกด้วย                                        วันนี้มีขั้นตอนการทอไหมมาฝากด้วย เริ่มแรกเลยคือ

1.         การเกี่ยวไหม  2.  การปอกไหม   3.  การปอกไหม  4.  การมัดหมี่    5. การย้อมไหม   6. การพ้นเส้นพื้น    7. การทอ   8. การนำออกขายสู่ตลาด

                                                                                                                           

                          ผ้าไหมที่นี้ถือว่าอยู่ในระดับ 4 ดาว   ที่นี้เขาจะผลิต  ผ้าคลุมไหล่  ไหมมัดมี่   ผ้าพันคอ ผ้าไหมกระรอก ผ้าไหมที่นี้คงจะถูกใจคนญี่ปุ่นเข้าแล้วละ เพราะเขาพากันซื้อเยอะเลยทีเดียว เป็นที่แรก ที่คนญี่ปุ่นซื้อของมากขนาดนี้ จากที่เขาไปมาหลายที่แล้ว เขาคงเห็นว่าผ้าไหมราคาถูก ถ้าหากเราเอาอย่างเขาก็คงดีสินะ  ซื้อของไทย  บริโภคของไทย ใช้เฉพาะของไทยเงินจะได้ไม่ไหลออกนอกประเทศ (จริงไหม) หลังจากดูผ้าไหมที่ชัยภูมิแล้วก็เดินทางกลับเพื่อพักโรงแรมที่ ปากช่องเพราะว่าพรุ่งนี้จะได้เดินทางต่อไปยังจังหวัดสระบุรี  ระหว่างเดินทางก็พักกิน ข้าวที่อำเภอด่านขุนทด มีญี่ปุ่นท่านหนึ่งชอบกินข้าวเหนียวมาก ถึงขั้นว่ากิน เช้า-เย็น เลยทีเดียว มีหมูปิ้งด้วยแต่ดูแล้วเขาไม่ค่อยชอบหมูเท่าไหร่ เขาบอกอว่ากินข้าวเหนียวอย่างเดียวอร่อยกว่า)   กินเสร็จแล้วก็เดินทางกลับที่พัก วันนี้พักที่โรงแรมแถวปากช่อง (เหมือนพูดไปแล้วเลย)  โรงแรมนี้เงียบมากเลย พนักงานต้อนรับส่วนใหญ่เป็นผู้ชาย  การบริการก็ไม่ค่อยเท่าไหร่ หลังจากเก็บสำภาระเสร็จก็ไปเดินเล่นด้านล่างของโรงแรมกับพี่มุ ด้านล่างของโรงแรมจะมีสระว่ายน้ำ วันนั้นก็เลยตัดสินใจวิ่งรอบบริเวณสระว่ายน้ำเพราะนั่งรถมาทั้งวันทำรู้สึกอยากออกกำลังกาย  ส่วนพี่มุเดิน ออกกำลังกายได้ประมาณชั่วโมงก็กลับห้องพัก เพราะอยากให้พี่มุมีเวลาพักผ่อนมากๆ เห็นพี่มุเหนื่อยมาทั้งวันแล้ว  

 

                   วันที่ 25 เม.ย. 2551  วันนี้ออกเดินทางเช้ากว่าทุกวันเพื่อไม่ให้ถึงกรุงเทพ เย็นเกินไป   ที่แรกของวันนี้ที่ไปคือหมู่บ้านซับครก ที่นี้เขาปลูกผักปลอดสารพิษกัน ข้าวโพดหวาน ถั่วลิสงค์  พื้นที่ไร่ปลอดสารพิษที่นี้ก็เยอะเหมือนกัน เห็นเขาบอกว่าสมาชิกแต่ละคนมีที่คนละไร่  รวมหมดก็ประมาณ  43 ไร่   หลังจากที่ ผู้เชี่ยวชาญจากญี่ปุ่นให้คำแนะนำเสร็จ ก็มีการเยี่ยมชมสวนและระหว่างทางมองเห็นพื้นที่ไร่ข้าวโพดเยอะมากๆ  รถหยุดที่บ้านไม้หลังหนึ่งเป็นที่ที่จะไปดูการเพาะถั่วงอกกันและ ไปดูวิธีการตัดรากถั่วงอก เห็นว่ายายเป็นคนเพาะถั่วงอกเอง เพราะลูกสาวต้องดูแล ไร่ข้าวโพดฟักอ่อน,  สวนผัก, และเลี้ยงวัวด้วย  ได้นั่งคุยกับยายจึงได้รู้ว่าบ้านหลังนี้อยู่กันแค่ 2 คน มียาย   กับลูกสาว  แต่ต้องยอมรับว่าครอบครัวนี้ขยันมาก(น่าจะได้รางวัลครอบครัวเกษตรกรที่มีความขยัน)  ยายพูดให้ฟังว่า ที่นี่แห้งแล้งมาก ฝนไม่ค่อยตก หรือถ้าหากฝนตกก็ให้รีบหว่านเมล็ดข้าวโพดเพราะ ถ้าไม่รีบหว่านเมล็ดข้าวโพด เมล็ดก็จะไม่โต    ก่อนอื่นขอแนะนำวิธีการเพาะถั่วงอก แบบฉบับปลอดสารพิษ

 วิธีการเพาะถั่วงอกและตัดรากถั่วงอก (หมู่บ้านซับครก)

               ขั้นตอนที่ 1 เลือกเมล็ดถั่วเขียวแล้ว แล้วนำมาทำความสะอาดโดยการโดยการแช่ไว้ในน้ำอุ่น ยายบอกว่า ใช้น้ำร้อนหนึ่งส่วนกับน้ำเย็นหนึ่งส่วน  แล้วนำเมล็ดถั่วแช่ทิ้งไว้ ประมาณ 5 ชั่วโมง  ยายบอกว่าจะทำเมล็ดถั่วโตเร็วขึ้น

               ขั้นตอนที่ 2 นำเมล็ดถั่วเขียวใส่ไว้ในขวดพลาสติก ให้เจาะรูด้านร่างขวด 4 รู ให้นำกระดาษแข็งมาปิดด้านบนขวด หรือภาชนะอื่นๆมาปิดที่ด้านบนขวด เพื่อไม่ให้ถูกแสงและควรวางไว้นี่ร่ม  ในหนึ่งวันควร รดน้ำ 4 ชั่วโมง / ครั้ง  เมล็ดถั่วเขียวจะงอกภายใน  2-3 วัน หรืออีวิธีหนึ่งคือใช้ตะแกรงพลาสติกเป็นฐานรองถังพลาสติกทึบ ปูทับด้วยแผ่นกระสอบป่าน ปูแผ่นตะแกรงพลาสติกทับอีกที และโรยเมล็ดถั่ว  เขียวให้ทั่ว ถือว่าเสร็จสิ้น 1 ชั้น จากนั้นปูทับด้วยกระสอบป่านตามด้วยตะแกรงพลาสติกแล้วโรยเมล็ดถั่วให้มีความหนาเท่าเดิม ทำซ้ำแบบเดิม 5 ชั้น แต่ในชั้นสุดท้ายเมื่อโรยเมล็ดถั่วเสร็จแล้ว หลังจากปิดทับด้วยตะแกรงพลาสติกแล้วจะต้องปิดทับด้วยกระสอบป่าน  หลังจากนั้นรดน้ำ รดน้ำ 4 ชั่วโมง / ครั้ง ในหนึ่งวัน นำถังใส่ในถุงดำที่แล้ว ทำการพับปากถุงให้มิดชิดเพื่อไม่ให้อากาศเข้า วางไว้ในที่ร่ม รดน้ำ 4 ชั่วโมง / ครั้ง ในหนึ่งวัน 

                   ขั้นตอนที่ 3  วิธีการตัดรากโดยการยกเอาแผงถั่วงอกมาแช่ในน้ำ ตัดเอาเฉพาะส่วนต้น ส่วนรากทิ้งไป เพราะว่ารากของถั่วงอกจะแทงทะลุตะแกรงออกมา เราจะใช้มีด ตัดส่วนของต้นลงแช่น้ำ
             สามารถเก็บถั่วงอกไร้รากและปลอดสารพิษเก็บไว้ในตู้เย็นได้นานถึงหนึ่งอาทิตย์  โดยถั่วงอกไม่เหลือง (ยายบอก) หากใครสนใจก็นำวิธี้ไปใช้ในการเพาะถั่วงอกกินเองที่บ้านได้

 

     เห็นพี่มุบอกว่าทุกครั้งที่ออก trip ไม่เคยได้ของของฝากมากขนาดนี้มาก่อนเลย (อาจจะเป็นเพราะเรามาด้วยรึเปล่านะ)

           มีอยู่อย่างหนึ่งที่ทำให้ชอบคนญี่ปุ่นมากๆ คือเวลาที่เขากินข้าว  เขาจะกินให้หมด ไม่ให้เหลือ (เราด้วยเช่นกัน)

 

 

หมายเลขบันทึก: 181412เขียนเมื่อ 9 พฤษภาคม 2008 12:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:02 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ใจร้ายจังเลยครับ ไม่ยอมส่งข่าวจะได้แวะไปทักทาย ชอบดูผ้า ที่ชัยภูมิ สุรินทร์มีผ้าขึ้นชื่อหลายที่นะครับ รออ่านอีกครับ ลืมถามไปว่าสบายดีไหมครับ.....

ไม่ทันได้ส่งข่าวให้ใครเลยค่ะ เพราะว่ากำหนดการมากระชั้นมาก

ช่วงนี้ก็ยังออกต่างจังหวัดอยู่ตลอด ดีที่มีน้องเจี๊ยบมาช่วยบันทึก

ทั้งภาพและเรื่อง ไม่งั้นก็คงไม่มีโอกาสเล่าต่อให้ใครฟังแน่ๆ

ขอบคุณมากค่ะสำหรับความคิดเห็นดีๆ คราวหน้าได้ไป โคราช ชัยภูมิอีก จะเก็บภาพสวยๆ มาไห้ดูนะค่ะ ขอบคุณค่ะสบายดีค่ะ หวังว่าคงจะสบายดีเหมือนกันนะค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท