คนชาติไหน มียีนส์(พันธุกรรม)อ้วนมากเป็นพิเศษ


ท่านศาสตราจารย์จัสพาล คูเนอร์ (Prof. Jaspal Kooner) และคณะทำการศึกษาจนค้นพบยีนส์ "อ้วน" ที่มีชื่อว่า 'MC4R (เอ็มซีโฟร์อาร์)'

...

การศึกษาก่อนหน้านี้พบว่า คนเรามีแหล่งพันธุกรรม (ยีนส์ / genes) ที่ทำให้คนบางกลุ่มอ้วนง่าย 2 กลุ่มใหญ่ๆ ได้แก่ ยีนส์ "อาฟริกา" ที่ทำให้คนอาฟริกันอเมริกัน (ผิวดำ) และคนอาฟริกันอ้วนง่าย และยีนส์ "หนาว" ที่ทำให้คนในเขตหนาวสะสมชั้นไขมันไว้กันหนาวได้ดี ซึ่งเจ้ายีนส์ "หนาว" นี่ยังมีหลักฐานสนับสนุนค่อนข้างน้อย

วันนี้มีการค้นพบยีนส์ "อ้วน" ตัวใหม่ที่พบว่า คนอินเดีย "รวย" ยีนส์ชนิดนี้มากเป็นพิเศษมาฝากครับ

...

ท่านศาสตราจารย์จัสพาล คูเนอร์ (Prof. Jaspal Kooner) และคณะทำการศึกษาจนค้นพบยีนส์ "อ้วน" ที่มีชื่อว่า 'MC4R (เอ็มซีโฟร์อาร์)'

คนสหราชอาณาจักร (หมู่เกาะอังกฤษ) หรือฝรั่งประมาณครึ่งหนึ่งมียีนส์ชนิดนี้ ทว่า... คนอินเดียนั้นมียีนส์ "อ้วน" มากกว่าฝรั่งขึ้นไปอีกประมาณ 1 ใน 3 เมื่อคิดรวมแล้วจะพบว่า คนอินเดียมีโอกาสมียีนส์ "อ้วน" ชนิดนี้ประมาณ 83%

...

ถ้าเราแบ่งคนทั่วโลกออกเป็น 4 ส่วนใหญ่ๆ จะพบว่า เป็นคนจีนแผ่นดินใหญ่ประมาณ 1 ส่วนเศษๆ เป็นคนอินเดียประมาณ 1 ส่วน ที่เหลือเป็นคนชาติอื่นๆ รวมกัน

คนอินเดียซึ่งมีประมาณ 1 ใน 4 ของประชากรโลกนี้คาดกันว่า จะเป็นโรคระบบหัวใจ-เส้นเลือด (cardiovascular disease) รวมกันประมาณ 40% ของคนทั้งโลก

...

กล่าวง่ายๆ คือ คนที่เป็นโรคหัวใจ 100 คนจะเป็นคนอินเดียประมาณ 40 คนในปี 2020 หรือ พ.ศ. 2563

เรื่องนี้สำคัญต่อธุรกิจการรักษาพยาบาลมาก เพราะสัดส่วนคนอินเดียที่เป็นคนรวยและคนชั้นกลางกำลังเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว

...

ต่อไปคนไข้โรงพยาบาลเอกชนไทยน่าจะมีสัดส่วนคนอินเดียเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งถ้าเมืองไทยเตรียมล่ามภาษาอังกฤษและฮินดีไว้ให้มากจะช่วยดึงดูดคนไข้โรคหัวใจจากอินเดียได้

หรือในทางกลับกันอาจเป็นโอกาสสำหรับโรงพยาบาลเอกชนไทยที่จะขยับขยายเข้าไปตั้งสาขาในอินเดียเช่นกัน

...

ศาสตราจารย์คูเนอร์กล่าวว่า คนที่มียีนส์ MC4R มีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นแบบ '3 คูณ 2' ดังต่อไปนี้

  1. เส้นรอบเอว > เพิ่ม 2 เซนติเมตร
  2. น้ำหนัก > เพิ่ม 2 กิโลกรัม
  3. แนวโน้ม > เสี่ยงเบาหวานชนิดที่ 2 (ส่วนใหญ่พบในผู้ใหญ่ หรือเด็กอ้วน) เพิ่มขึ้น

...

ศาสตราจารย์คูเนอร์แนะนำว่า พวกเราทุกคน โดยเฉพาะคนที่มียีนส์ "อ้วน" ควรจะควบคุมน้ำหนัก ซึ่งอาศัยหลักการสำคัญได้แก่ การควบคุมอาหาร ออกแรง-ออกกำลัง นอนให้พอ (ยิ่งอดนอนยิ่งหิว) และหาทางลดระดับความเครียด (ยิ่งเครียดมักจะยิ่งหิว)

ถึงตรงนี้... ขอให้พวกเรามีสุขภาพดีไปนานๆ ครับ

...

ที่มา                                                  

  • Thank BBC > Genes 'up Indians' obesity risk' > [ Click ] > May 6, 2008. // source > J Nature.
  • ข้อมูลและการอ้างอิงในบล็อก "บ้านสุขภาพ" เป็นไปเพื่อส่งเสริมสุขภาพ และป้องกันโรค ไม่ใช่รักษาโรค
  • ท่านที่มีโรคประจำตัวควรปรึกษาหมอ พยาบาล เภสัชกร หรืออนามัยที่ดูแลท่านก่อนนำข้อมูลไปใช้
  • ขอขอบคุณอาจารย์ณรงค์ ม่วงตานี + อาจารย์เบนซ์ iT ศูนย์มะเร็งลำปาง > สนับสนุนเทคนิค iT.
  • นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์ > 7 พฤษภาคม 2551.
หมายเลขบันทึก: 181308เขียนเมื่อ 8 พฤษภาคม 2008 18:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 23:57 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ขอบคุณมากครับสำหรับบทความดีๆ ครับ

อยากให้คนเอเชียตัวใหญ่เท่าฝรั่งจัง

ขอขอบคุณ... คุณ aonjung

  • เด็กไทยต่อไปคงจะสูงขึ้นเรื่อยๆ ครับ

ปัญหาของเด็กไทยตอนนี้คือ สูงเพิ่มขึ้นไม่ค่อยมาก เท่าที่ควรเนื่องจาก...

  • นอนดึก / นอนไม่พอ
  • กินแคลเซียมและแร่ธาตุไม่พอ โดยเฉพาะเด็กไทยยังได้รับแร่ธาตุจากนมไขมันต่ำ นมไม่มีไขมัน ผลิตภัณฑ์ถั่วเหลือง เช่น เต้าหู้ ฯลฯ ผักใบเขียว ปลาตัวเล็กตัวน้อย... ไม่เพียงพอ
  • ออกกำลังน้อยเกิน
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท