เว็บไซต์ของ OpenCARE


มีผู้ติดตาม OpenCARE บอกว่าบล็อกอ่านยาก เว็บบอร์ดอ่านยาก สเป็คอ่านยาก ทำให้ต้องมาเฉลยว่าถูกทุกข้อครับ เครื่องมือต่างๆ เหล่านี้ มีไว้สำหรับทีมทำงานทำการพัฒนา OpenCARE  ไม่ได้มีเป้าหมายที่ผู้บริโภคข่าวสาร ซึ่งเป็นผู้ที่รับประโยชน์จากงานของโครงการ

เว็บอย่างเป็นทางการของโครงการ OpenCARE คือ http://opencare.org/ ซึ่งเปิดดำเนินการมาสักระยะหนึ่งแล้ว มีไว้เพื่อให้เข้าใจโครงการได้ง่ายขึ้น และรับ alert ต่างๆ ได้ตามกระบวนวิธีการมาตรฐานทั่วไปครับ

โครงการ OpenCARE เปิดรับภาคีในรูปขององค์กร (รัฐ เอกชน มูลนิธิ) และอาสาสมัคร (บุคคล) ที่จะทำงานพัฒนาร่วมกัน

เมื่อปลายเดือนมีนาคม OpenCARE ได้รับการสนับสนุนจาก บมจ. กสท.โทรคมนาคม และได้ลงนามบันทึกความเข้าใจเพื่อใช้โครงข่าย OpenCARE กระจายข้อมูลของ "วิทยุเรือ" ซึ่งเป็นเครือข่ายสื่อสารที่เป็นพันธะของประเทศไทย ซึ่งจะต้องให้ความปลอดภัยแก่การจราจรทางเรือในเขตน่านน้ำไทย

โครงการ OpenCARE กำลังจะเปลี่ยนรูปไปเป็นมูลนิธิในเร็ววันนี้

อาสาสมัคร OpenCARE

โครงการ OpenCARE มีเป้าหมายที่จะแจ้งเตือนถึงภัยพิบัติ และเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นด้วยความรวดเร็ว เพื่อให้แต่ละคน สามารถตัดสินใจด้วยข้อมูลล่าสุดได้ ดังนั้น OpenCARE ต้องการการแจ้งเตือนจากหลายแหล่ง

ข้อความของเหตุการณ์/สถานการณ์ จะถูกเปลี่ยนเป็นรูปแบบมาตรฐาน ซึ่งใช้โปรแกรมเมอร์เขียนโปรแกรมง่ายๆ เพื่อเปลี่ยนข้อความจากหลายแหล่ง เช่น RSS feed จากสื่อมวลชน, การแจ้งเตือนจากสมาชิกที่ลงทะเบียนแล้ว, ศูนย์เฝ้าระวังภัยธรรมชาติจากทั่วโลก ฯลฯ แล้วกระจายข่าวสารเหล่านี้ออกสู่ผู้รับข่าว ซึ่งอาจเป็นทั้งหน่วยงานรัฐ องค์กรมูลนิธิ บริษัทห้างร้าน หรือประชาชนผู้สนใจทั่วไป

ในชั้นแรกนี้ OpenCARE เปิดรับอาสาสมัครที่สามารถเขียนโปรแกรมเพื่อให้ระบบทำงานในลักษณะนี้ได้ (เขียน plug-in หลากหลายรูปแบบ)

เมื่อพร้อม กล่าวคือมี plug-in มากพอควร จึงจะเปิดรับสมาชิกซึ่งสามารถแจ้งเตือนถึงสถานการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นทั่วประเทศได้

สำหรับผู้สนใจที่ไม่สามารถจะเขียนโปรแกรมได้ แต่ทำงานในองค์กรที่ให้ความสำคัญกับกิจกรรมเพื่อสังคมอย่างจริงจัง OpenCARE ก็รับอาสาสมัครที่สามารถจะทำงานร่วมกับทีมงานเป็นระยะเวลาอย่างต่ำหนึ่งเดือน โดยทีม OpenCARE จะนำอาสาสมัครเข้าไปพบปะหน่วยงานต่างๆ เพื่อเรียนรู้การจัดการภัยพิบัติจากผู้ที่มีหน้าที่โดยตรง เพื่อให้เข้าใจถึงความซับซ้อนทั้งหมดของงานนี้ เวลาต่ำกว่าหนึ่งเดือน แม้เป็นไปได้ ก็คงจะยากที่จะเข้าใจปฏิสัมพันธ์ในการจัดการภัยพิบัติทั้งหมด ซึ่งใช้เวลาเตรียมตัวไม่ทันหากเกิดเหตุการณ์ขึ้นแล้ว

เราเชื่อว่าวิธีการนี้ จะช่วยให้เมืองไทยมีคนที่พร้อมมากขึ้น ในเวลาที่จำเป็น

สำหรับองค์กรต่างๆ ที่ทำ CSR อยู่แล้ว หากท่านคิดว่าร่วมกันทำแล้ว น่าจะได้พลังมากกว่า ทีมงานก็ยินดีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้วยครับ

สนใจติดต่อที่นี่

หมายเลขบันทึก: 180796เขียนเมื่อ 6 พฤษภาคม 2008 01:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 23:55 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท