ธนาคารต้นไม้ – Tree Bank เรื่องเล็ก ๆ ที่รอวันเติบใหญ่


นี่คือ เรื่องเล็ก ๆ ที่รอวันเติบใหญ่ เป็นเรื่องระดับชาติได้ถ้าเราช่วยกัน สนับสนุน ส่งเสริม

ช่วงบ่ายวันอาทิตย์ที่ 4 พฤษภาคม 2551 วันที่ฟ้าฉ่ำฝนอันเป็นผลมาจากส่วนท้ายปลายหางของพายุไซโคลน นาร์กิสที่พุ่งเข้ากระหน่ำประเทศพม่า ครอบครัวของผมมีนัดกับ ว่าที่ ร.ต.ไสว แสงสว่าง ผู้จัดการ ธ.ก.ส.สาขาหลังสวน หนึ่งในผู้นำขบวนการธนาคารต้นไม้ : Tree Bankของ จ.ชุมพร เพื่อเดินทางไปเยี่ยมชม ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง บ้านทุ่งหงส์ หมู่ที่ 8 ต.ทุ่งคา อ.เมือง จ.ชุมพร สาขาหนึ่งของธนาคารต้นไม้ประจำอำเภอเมือง จ.ชุมพร

เมื่อเราเดินทางไปถึงจึงได้ทราบว่ามีอีกหนึ่งคณะเข้ามาถ่ายทำรายการโทรทัศน์นำโดย คุณปั่นไพบูลย์เกียรติ เขียวแก้ว นักร้องชื่อดังที่ผมชื่นชอบกำลังรับประทานอาหารเที่ยงฝีมือชาวบ้านกันอยู่ ขณะที่รอความพร้อมผมก็ทำหน้าที่คุณอำนวยจัดให้ทีมงานของผมอันประกอบด้วย ครอบครัวพี่อารีย์สมาชิกในสวนป่าที่ผมสร้างไว้ที่ อ.ปะทิว จ.ชุมพร และครอบครัวของผมเอง ได้พูดคุยกับเจ้าของบ้านคุณกิจตัวจริงในการทำสวนเกษตรอินทรีย์ ซึ่งก็คือพ่อและแม่ของผู้การฯ ไสว แสงสว่าง นั่นเอง เมื่อต่อติดการพูดคุยเรื่องราวต่าง ๆ เริ่มไหลลื่น ผมสังเกตด้วยความชื่นชมในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั้งของผู้ให้และผู้รับดำเนินไปอย่างเป็นธรรมชาติ มีบรรยากาศที่เต็มไปด้วยมิตรไมตรีดีมาก ผมเพียงแต่ฟังเงียบๆ และคอยกระตุ้นด้วยคำถามเพื่อสร้างสรรค์เรื่องใหม่ ๆ ที่เป็นประโยชน์ให้ทีมงานได้หยิบยกขึ้นมาถาม-ตอบกันเอง

ว่าที่ ร.ต.ไสว แสงสว่าง ผู้นำในขบวนการ ธนาคารต้นไม้ และคุณปั่น - ไพบูลย์เกียรติ เขียวแก้ว

ได้เวลาชมสวนแล้ว เราก็ออกเดินทั้งที่สายฝนยังตกพรำ ๆ ลุงไหว เริ่มด้วยการแนะนำตัวหน้ากล้องโทรทัศน์อย่างผู้มีประสบการณ์ พูดให้ฟังถึงความสำคัญของการสร้างสวนเกษตรผสมผสาน ที่มีต้นไม้เจริญเติบโตแบบหลากหลายเป็นธรรมชาติถึง 7-8 ชั้น เริ่มที่ พืชน้ำ ในสระที่ขุดไว้หลายแห่งกระจายอยู่ในพื้นที่ แต่ละสระเชื่อมต่อกันด้วยคูน้ำซึ่งมี ฝายแม้ว (Check Dam) เป็นตัวควบคุมปริมาณน้ำ พืชใต้ดิน ไว้กินหัว เช่น พืชตระกูลถั่ว กลอย หอม ข่า ขมิ้น กระชาย ฯลฯ พืชหน้าดิน เช่น พริกขี้หนู โหระพา ตะไคร้  กะเพรา ไม้พุ่มเตี้ย เช่น กาแฟ ส้มจี๊ด ยอดเหลียง พืชให้ร่มเงา ตระกูลกล้วย เช่น กล้วยเล็บมือนาง ไม้สวน เช่น ทุเรียน แซมด้วย ละมุด ลองกอง พืชเกาะเกี่ยว เช่น พริกไทย ดีปลี พลู ไม้ใช้สอย ซึ่งเน้นไม้โตเร็วต่าง ๆ เช่น สะตอ ประดู่  เทพทาโร มะฮอกกานี กันเกรา และไม้ใหญ่ ซึ่งเป็นต้นไม้เศรษฐกิจที่มีความสูงมาก ๆ เช่น ไม้ตะเคียนทอง ไม้ยาง จำปาทอง เป็นต้น

ลุงไหว แนะนำสวนเกษตรผสมผสานพร้อมสอดแทรกแนวคิดเกี่ยวกับ การสร้างมูลค่าและคุณค่าให้กับต้นไม้ที่ยังมีชีวิตอยู่ด้วยกระบวนการ ธนาคารต้นไม้ : Tree Bank สร้างความตื่นตา ตื่นใจ ให้กับพวกเราทุกคน โดยเฉพาะ คุณปั่น คุยให้ผมฟังว่า ภาพพจน์ในการมองสวนเกษตรเปลี่ยนแปลงไปมาก เพราะแต่เดิมเมื่อคิดถึงสวนที่สวย ที่ดี มีคุณค่า ก็มักจะนึกถึงภาพของสวนที่สะอาด เลี่ยน เตียนโล่ง ซึ่งเกิดจากการจัดการควบคุมวัชพืชกันอย่างหนัก และต้นไม้ก็ออกผลโต ๆ ซึ่งเป็นผลมาจากการใช้สารเคมีสารพัดชนิดเข้ามาบังคับให้ได้ผลผลิตตามที่ตลาดต้องการ แต่มาเที่ยวนี้รู้เลยว่า ทำแบบนั้นก็เท่ากับทำลายชีวิตในดิน ซึ่งเป็นการทำลายความอุดมสมบูรณ์ของสรรพสิ่งในธรรมชาติ และทำลายสุขภาพของคนทำสวนด้วยนั่นเอง

 

จากนั้น ลุงไหว ได้พาเราเดินกลับไปใกล้ ๆ บริเวณบ้าน เพื่อดูการเลี้ยง หมูหลุม โดยใช้น้ำสกัดชีวภาพเป็นปัจจัยสำคัญในการรักษาสภาพแวดล้อม ผมถ่ายรูปหมูที่ดูแล้วมีความสุขมากกว่าที่เคยเห็นถูกเลี้ยงในคอกปูนแห้งๆ  ผลผลิตหลักของการเลี้ยงหมูแบบนี้นอกจาก ขายเนื้อหมู ยังได้ ปุ๋ยคอก ซึ่งเมื่อนำไปผ่านกระบวนการหมัก ก็จะได้ ปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ ที่มีคุณค่าต่อการปลูกต้นไม้ ไม่ต้องเสียเงินจำนวนมากไปซื้อหามาใช้

เราได้ดูเตาเผาถ่านที่ออกแบบมาให้ผลิต น้ำส้มควันไม้ ไปพร้อมกันในตัว นำไปใช้ได้ประโยชน์สารพัดอย่าง เช่น เป็นสารปรับปรุงดิน สารป้องกันกำจัดศัตรูพืช และสารเร่งการเติบโตของพืช นอกจากนี้ ยังมีการนำน้ำส้มควันไม้ไปใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรม เช่น ใช้ผลิตสารดับกลิ่นตัว ผลิตสารปรับผิวนุ่ม ใช้ผลิตยารักษาโรคผิวหนัง เป็นต้น

เรื่องราวกว่า 2 ชั่วโมงที่ผมและทีมงานได้เรียนรู้จาก ลุงไหว ยังมีอีกมาก ผมได้ทดลองสืบค้นในอินเตอร์เน็ตโดยใช้คำว่า ธนาคารต้นไม้ พบว่ามีแหล่งข้อมูลนำเสนอมากถึง 348,000 คำ จาก 132 เว็บเพจ แต่ที่ดูเหมือนว่าเป็น เวบไซต์อย่างเป็นทางการ (Official Website) ของธนาคารต้นไม้ ผมสืบค้นได้ 2 แหล่ง ดังนี้

ขอแนะนำให้เข้าไปติดตามอ่านกันเยอะ ๆ โดยเฉพาะชาวชุมพร เพราะนี่คือ เรื่องเล็ก ๆ ที่รอวันเติบใหญ่ เป็นเรื่องระดับชาติได้ถ้าเราช่วยกัน สนับสนุน ส่งเสริม.

ถ่ายภาพเป็นที่ระลึกร่วมกัน

หมายเลขบันทึก: 180654เขียนเมื่อ 5 พฤษภาคม 2008 11:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:01 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (21)

ตามมาเยี่ยมครับ, พร้อมๆ กับเรียนรู้เรื่อง ธนาคารต้นไม้ ด้วย

ต้องการสมัครสมาชิกธนาคารต้นไม้

ดีใจครับอาจารย์ไอศูนย์ที่ชุมพรมีคนแบบนี้

ขอขอบคุณค่ะ กับการกล่าวถึงธนาคารตันไม้

ยินดีรับคำแนะนำนะคะอาจารย์

ขอแจ้งข่าวถึงท่านผู้สนใจและรักในร่มเงาของธรรมชาติ ร่วมเป็นเกียรติ เปิดธนาคารต้นไม้น้องใหม่ที่จะเปิดตัวในวันที่ 28 มิถุนายนที่ วัดทองโข ตำบลบางน้ำจืด อ.หลังสวน  ร่วมกิจกรรมปลูกต้นไม้ และ กิจกรรมอื่นๆ ที่น่าสนใจอีกมากมาย

ว่าที่ร้อยตรีหญิงรัตนาภรณ์ ศรีจรัส

มีความสนใจมากในการสร้างสรรค์ธนาคารต้นไม้ให้เติบโตยิ่งขึ้น อยากเป็นสวนหนึ่งในการปลูกสร้างต้นไม้ขึ้นมา จะต้องทำอย่างไร แฟนดิฉันมีพื้นที่อยู่ที่ อ.สวี จ.ชุมพร อยากจะเข้าร่วมโครงการนี้จะทำได้อย่างไร ช่วย

ตอบกลับด้วย

ผมสนใจเรื่องนี้มาก ๆ เป็นโครงการที่ดี ช่วยให้เรามีความเป็นอยู่ท่ดีขึ้นมาก

วันลี ชื่นเกาะสมุย

อำเภอสวี มีธนาคารสาขา เขาล้าน เขาค่าย เขาทะลุ เขาหลักวิสัยใต้ค่ะ สนใจข้อมูลเพิ่มได้ ที่สาขา เขาหลักก็ได้ค่ะ โทร. 081 3888665

อยากรู้ว่าที่จังหวัดน่านมีธนาคารต้นไม้หรือเปล่า

ถ้ามีสามารถติดต่อได้โดยตรงเลยหรือเปล่า

เมื่อคืนได้ดูรายการทางโทรทัศน์น่าสนใจมาก

อยากจะเป็นสมาชิกด้วย..

ชื่นชอบไอเดียมากค่ะ อยากเป็นส่วนหนึ่งของธนาคารต้นไม้ จะเริ่มต้นได้อย่างไรคะ

มีความสนใจมากครับแต่ยังไม่ทราบข้อมลเท่าที่ควรเลยครับ แต่ดูแล้วรู้สึกดีอย่าจะทำครับ จะต้องทำอย่างไรบ้างครับ และจะต้องติดต่อกับใคร..อยากได้ข้อมูลมากๆครับ ขอบคุณครับ

ขอเป็นส่วนหนื่งในการส่งเสริมความคิดดีฯ และ ขอรับทราบข้อมูลอัพเดตด้วย

เป็นโครงการที่มากๆ ถ้ามารถขยายโครงการนี้ไปได้ทั้งประเทศ

ประเทศไทยก็ไม่ต้อง พึ่งพา ต่างชาติแล้ว เย้

www.glangdin.spaces.live.com ป่าปลูกเล่นๆของเรามีอายุกว่าสิบสนใจเรื่องของธนาคารต้นไม้จะมีโครงการจัดเครือข่ายภายในประเทศไหม..ต้นไม้เริ่มมีลูกหลาน...เราแจกฟรี สัก ไม้แดง มะขามป้อม ฯลฯสนใจที่จะร่วมด้วยช่วยกันแบ่งปันต้นไม้แลกเปลี่ยน.....

ด้วยได้ติดตามเรื่องราวเกี่ยวกับธนาคารต้นไม้ จากการอ่านหนังสือนิตยสารต่างๆ กับดูรายการสารคดี และสาระน่ารู้ทางโทรทัศน์มาหลายต่หลายครั้งแล้ว จึงประสงค์ข้อมูลเกี่ยวกับการปลูกต้นไม้ให้เหมาะสมกับสภาพดิน

เนื่องจาก มีที่ดินอยู่ที่ จ.นครราชสีมา ประมาณ 20 - 30 ไร่ ใกล้ถนนมิตรภาพก่อนเข้าตัวเมืองราว 15 กม. แต่ก่อนเคยให้ชาวบ้านเช่าปลูกมันสัมปะหลัง ข้าวโพด ซึ่งได่ค่าตอบแทนมาไม่มากหากเปรียบกับการรณรงค์เรื่องการทำเกษตรแบบยั่งยืน เพราะมีความคิดว่าเมื่อเลิกจากการรับราชการแล้ว อยากใช้ชีวิตแบบพอเพียงตามแนวพระราชดำรัสของในหลวง

มีข้อมูลเกี่ยวกับต้นตะกูไหมคะ เปิดในเวปไซเค้าบอกว่าเป็นไม้เศรษฐกิจ ปลูกง่าย โตเร็ว ไม่ทราบว่าจริงเท็จแค่ไหนคะ ผู้รู้ช่วยตอบหน่อยนะคะ ขอบคุณค่ะ (ตอบกลับทางอีเมล์ก็ได้นะคะ)

สนใจอยากสมัครสมาชิก ทำอย่างไรค่ะ อยากได้คำแนะนำติดต่อที่ใหน

ธนัญกานต์ จีระฐานุพงศ์

สนใจอยากเข้าร่วมโครงการอยากขอคำปรึกษาว่าจะต้องดำเนินการอย่างไรบ้าง ขอบคุณค่ะ

ผมกำลังเรียน ป.โท มสธ. และจะนำเนื้อหาข้อมูลธนาคารต้นไม้ ไปจัดสัมมนากลุ่มย่อยครับ

นายสมเกียรติ เกิดทองมี

ผมเป็นพนักงานพัฒนาชนบทคนหนึ่ง สังกัด กลุ่มงานพัฒนา ธกส. ฝ่ายกิจการสาสขา ภาค 7 ที่มีความคิดและผลักดันให้ต้นไม้เป็นเครื่องมือในการแก้ปัญหาต่างที่ไม่สมดุลในสังคม

ท่านใดที่มีความสนใจและอยากทราบรายละเอียด ในเขตภาคตะวันตก ยินดีที่จะรับใช้ โทร. 0861715355

สนใจโครงการมากค่ะอยากสมัครสมาชิก ต้องทำอย่าไรคะ อยากได้ข้อมูล

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท