10 การเปลี่ยนแปลง และ 10 การกระทำที่ยั่งยืน


10 การเปลี่ยนแปลง และ 10 การกระทำที่ยั่งยืน

 

นายสัตวแพทย์ กิตติ  ทรัพย์ชูกุล

                กว่าขวบปีที่ประเทศไทย และโลกต้องเผชิญกับความไม่พร้อมในการรับมือกับปัญหาเชิงซ้อน           ของไข้หวัดนก ที่กระทบต่อเศรษฐกิจ สังคม สาธารณสุข การส่งออก วิถีไทย ภาพลักษณ์ของประเทศ           โครงสร้างของการปศุสัตว์ได้ถูกเปลี่ยนแปลงไป ระบบความคิดในการแก้ปัญหาของประเทศไทย ต้องบริหารจัดการให้สอดคล้องกับความเป็นจริงที่ปรับเปลี่ยนตลอดเวลา และ…วันนี้ ประเทศไทยได้เดินทาง   มาไกลมากเราได้แสดงบทบาทของการเป็นผู้นำ

ในการแก้ปัญหาให้กับภูมิภาคสิ่งที่เป็นสภาพการเปลี่ยนแปลง 10 ประการที่สำคัญ คือ

 

1.       ระบบการผลิตปศุสัตว์ของประเทศ ได้เปลี่ยนแปลงจากเล้าเปิด มาเป็น เล้าปิดระบบปิด อยู่ใน “ระบบฟาร์มมาตรฐาน” ที่จะส่งผลต่อผลิตภัณฑ์มาตรฐาน จากฟาร์มสู่ผู้บริโภค (โต๊ะอาหาร) อย่างเป็นรูปธรรม

 

2.       ระบบนี้ได้ทำให้ขนาดของฟาร์มมีขนาดใหญ่ขึ้น เป็นเหตุให้ฟาร์มขนาดกลาง และเล็กต้องปรับตัว        ครั้งใหญ่ ต้องรวมตัวกันเป็นเครือข่าย เป็นสมาคมมากขึ้น ดังนั้น ระบบการผลิตปศุสัตว์ของไทย จะเป็นผู้ประกอบการขนาดใหญ่ และกลุ่มเกษตรกร (ที่ต้อง) รวมตัวกัน (รูปสหกรณ์ หรืออื่น ๆ)

 

3.       การปรับโครงสร้างการผลิตครั้งนี้ ทำให้ระบบการตลาด และ การจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ปศุสัตว์                 ต้องตระหนักถึงคุณภาพ และสร้างความน่าเชื่อถือ, มั่นใจแก่ผู้บริโภค จะมีการสร้างตราผลิตภัณฑ์           ของตนเองขึ้น ดังนั้น เมื่อมีการแข่งขันมากขึ้น ผู้ผลิตต้องเพิ่มมูลค่าในตราสินค้า ต้องใช้ระบบการตลาดแบบใหม่ในการดำเนินธุรกิจ

 

4.       การส่งออกของไทย จะต้องปรับตัวครั้งใหญ่ เราไม่สามารถส่งออกผลิตภัณฑ์ในรูปไก่แช่แข็งได้ ผู้ผลิตต้องแปรรูปเป็นไก่ปรุงสุก ดังนั้น ต้องเพิ่มนวัตกรรมด้านผลิตภัณฑ์ รูปแบบสินค้า และการติดต่อกับ         คู่ค้าต่างประเทศ เพื่อสร้างความเป็นผู้นำโลกอีกครั้ง

5.      ในเวทีการค้าระหว่างประเทศ ประเทศไทยต้องร่วมมือกันทั้งระบบ ทั้งจากภาครัฐบาล  ภาคเอกชน และภาคประชาชน เพราะเงื่อนไขประเทศต้องมีคุณภาพ ดังนั้น รูปแบบการเจรจาการค้า (Trade Negotiation) ต้องมีมาตรฐานทั้งผู้ประกอบการ และประเทศ โดยต้องผ่านทั้งมาตรฐานของประเทศคู่ค้า และบริษัทที่ติดต่อการค้าด้วย

6.       ระบบการผลิตไก่พื้นเมือง และวิถีไทย จะยุ่งยากในการผลิตมากขึ้น ต้นทุนการผลิตจะสูงขึ้น จะดำเนินลักษณะธุรกิจเฉพาะ คือ มีจุดเด่น ตรงใจผู้บริโภค และราคาสูงกว่าปกติ (Niche Market)

 

7.       รูปแบบการดูแลปัญหาไข้หวัดนก จะมีการประสานจุดสมดุลย์ใหม่ของเศรษฐกิจ (การส่งออก) วิถีไทย (สันทนาการ และชีวิตประจำวันคนไทย) และระบบสาธารณสุข ประเทศไทยต้องรักษาทุกระบบ ดังนั้น วิธีการแก้ปัญหาของไทย จะไม่มีสูตรสำเร็จ และไม่ได้ยึดแบบอย่างจากประเทศใด ๆ ในโลกทั้งหมด ประเทศไทยจะเป็นผู้นำในการแก้ปัญหา และสร้างระบบใหม่ให้กับโลก

 

8.       ความสำเร็จของการแก้ปัญหาไข้หวัดนก คือ การแก้ปัญหาที่ระบบ และจะกระทำได้ต้องกระทำที่   ประชาชน โดยการให้ความรู้ประชาชน ให้ประชาชนมีส่วนร่วม เพราะปัญหานี้ต้องอาศัยความร่วมมือ (Community Engagement) ประชาชนต้องป้องกันตนเอง และป้องกันชุมชนของตนเองได้ ประชาชนจะเป็นผู้นำในการแก้ไขปัญหา โดยจะทำให้ระบบการสั่งการจากส่วนกลางลดบทบาทลงไป

 

9.       วิถีไทยจะเกิดการปรับตัวของตนเอง เข้าสู่ระบบใหม่ อ้างอิงหลักวิทยาศาสตร์ และการปฏิบัติ ซึ่งจะทำให้ชาวบ้านต้องปรับตัวกันเพื่อเจรจาต่อรองกับภาครัฐมากขึ้นการปรับตัวจะเกิดในกลุ่มผู้เลี้ยงในเขต    พื้นที่ระบาดซ้ำซาก ลุ่มน้ำเข้าพระยา เป็ดไล่ทุ่ง ระบบการเลี้ยงไก่บ้าน การควบคุมพิเศษในไก่ชน และวิธีบริหารพิเศษในไก่อนุรักษ์ทั้งหมด

 

 10.    มุมมองของการแก้ปัญหาจะมุ่งเน้นที่เป้าหมายรวมของการทำงานกับนานาชาติและองค์กรระหว่างประเทศ ใน 3 มิติ คือ

1)      เราต้องมีอาหารโปรตีนราคาถูกบริโภค

2)      โรคไข้าหวัดนกต้องไม่แพร่จากประเทศหนึ่งไปอีกประเทศหนึ่ง

3)      คนต้องไม่ป่วยจากไข้หวัดนก

 

เมื่อพบกับการเปลี่ยนแปลงทั้งระบบเช่นนี้ สิ่งที่ประเทศไทยต้องกระทำ 10 ประการ เพื่อการแก้ปัญหาไข้หวัดนกอย่างยั่งยืน ชัดเจน คือ

 

1.       การเจรจากับประเทศคู่ค้า ในระดับประเทศ และระดับบริษัทคู่ค้า เป็นสิ่งที่เร่งด่วนที่สุด เพราะเราต้องประสานความมีมาตรฐานปลอดภัยกับของไทย ให้คู่ค้ายอมรับในคุณภาพนี้ ทำให้ตลาดเปิดกว้างมากขึ้น เงื่อนไขการค้าจะลดลง วันนี้ เราปฏิบัติได้ดีระดับหนึ่ง แต่เพื่อความทั่วถึงต่อผู้ผลิตทั้งหมด และภาพรวมของอุตสาหกรรมต้องเกิดความชัดเจนในระดับมาตรฐานประเทศก่อนให้ได้

 

2.       ระบบการเลี้ยงแบบใหม่ ที่ภาครัฐ และภาคเอกชนพยายามปรับปรุงตั้งแต่ ฟาร์มมาตรฐาน ระบบโซนนิ่ง และระบบใหม่ที่ต้องชัดเจนในเดือนพฤษภาคมนี้ “Compartmentalization” คอมพาร์ทเม้นท์ จะเกิดได้ต้องมีข้อสรุปของ 3 ส่วนคือ

 

1)      นโยบาย

2)      ผู้ประกอบการ

3)      ต้องดึงชาวบ้านเข้าร่วมมือด้วย

 

ระบบที่เป็นจุดลงตัวของสังคมต้องเกิดขึ้น เพื่อสร้างมิติไทยของปศุสัตว์ไทย และเราพร้อมที่ให้ทุกประเทศมาตรวจสอบให้เกิดความมั่นใจ

 

3.       เมื่อผู้ประกอบการมีขนาดใหญ่ มีการรวมกลุ่มกัน และมีคุณภาพ จะต้องร่วมบริหารจัดการดูแลตนเอง นโยบายต่าง ๆ ที่เคยปฏิบัติในอดีต ต้องรีบกลับมาใช้ใหม่ เช่น Egg Board หรือกลุ่มผลิตภัณฑ์ เพราะ สิ่งที่ต้องกระทำให้ได้คือ การสร้างคุณภาพ การบริหารปริมาณสัตว์ เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาด้านราคา และต้องรณรงค์เพื่อการบริโภค ครั้งสำคัญในประเทศอีกครั้ง

 

4.       การเร่งส่งเสริมการรวมตัวของเกษตรกร ระบบสหกรณ์ต้องเกิดขึ้น เพราะในโครงสร้างเช่นนี้ ระบบการผลิต การตลาดที่ครบวงจร ผู้ผลิตรายกลาง และเล็กจะอยู่ไม่ได้ ต้องรวมตัวกันเป็นสหกรณ์ “สหกรณ์เป็นที่รวมตัวกันของเกษตรกร เพื่อดำเนินการ (ไม่ใช่เพื่อขอรับการสนับสนุน)”

 

5.       ปัญหาไข้หวัดนกในประเทศไทย วันนี้เกิดกับรายย่อย ระดับชาวบ้าน ดังนั้น ระบบความร่วมมือกัน          ให้ชุมชนดูแลตนเอง ภาครัฐเป็นฝ่ายสนับสนุน จากเดิมที่เคยสำเร็จ จากนโยบายการเอ็กซเรย์ทุกพื้นที่ในเดือนตุลาคม หรือกุมภาพันธ์ หรือจะทุกเดือน จะมีประสิทธิภาพมากต้องให้ชาวบ้านร่วมมือ (Community Engagement) ระบบนี้ใช้ได้ผลิตที่ประเทศอินโดนีเซีย โดยภาครัฐวางกติก ชุมชนเป็น      ผู้ปฏิบัติ เช่น เมื่อเกิดปัญหาไข้หวัดนกระบาดในพื้นที่ สัตวแพทย์ และผู้บริหารระดับพื้นที่จะเข้าดูแลตามมาตรการของรัฐ หรือเวลาจะจ่ายเงินชดเชย จะจ่ายผ่านชุมชนให้ดูแล และวางกฎกติกา ดูแลกันเอง

 6.       ประเทศต้องเร่งการจดทะเบียนฟาร์มมาตรฐานให้ได้ทั้งระบบและรวดเร็วขึ้นและต้องบรรลุ                  

 เป้าประสงค์ ตามหลักการที่กรมปศุสัตว์ประกาศไว้ให้ได้ (สิ้นปี 2548) สมาคมสัตวแพทย์ควบคุมฟาร์มสัตว์ปีก ขอสนับ

สนุนเต็มที่

 

7.       ความเสียหายของไข้หวัดนกครั้งนี้เกิดขึ้นกับผู้ประกอบการขนาดกลาง และเล็ก การจะกลับเข้าสู่ระบบการเลี้ยงใหม่ จะต้องมีการปรับโครงสร้างครั้งใหญ่ ต้องอาศัยความรู้ทางวิชาการ เงินทุนจำนวนมาก เช่น การสร้างระบบไบโอซีเคียวริตี้ เพิ่มต้นทุนกว่า 30% หรือการทำเล้าปิด ต้องจัดการใหม่ทั้งหมด ส่วนนี้ต้องอาศัยความสนับสนุนจากภาครัฐในรูปแบบคล้ายการแก้ปัญหาเศรษฐกิจของSME            อย่างจริงใจ

 

8.       วิถีไทยคือ เป้าหมายสำคัญของการแก้ปัญหาครั้งนี้ วิถีไทย่ในมิติของกาลเวลาวันนี้จะต่างจากเดิม อะไรที่เป็นภูมิปัญญา จะต้องสนับสนุน และรักษาไว้ และส่วนที่เป็นปัญหา และจุดอ่อนต้องแก้ไข เช่น การเร่งพัฒนาสายพันธุ์ไก่พื้นเมือง ไก่อนุรักษ์ ไก่ชน ที่ สายพันธุ์ และภูมิปัญญาไทย ต้องสร้างใหม่ที่ยั่งยืนอีกครั้ง

 

9.       คำถามของสังคมเรื่องวัคซีนกับกรณีการควบคุมการระบาดของโรค สมาคมสัตวแพทย์ควบคุมฟาร์มสัตว์ปีก ตระหนักในจุดอื่นของการแก้ปัญหา คือ

 

1)      การแก้ปัญหาไข้หวัดนก ในระบบที่เราใช้ได้ผลในประเทศ ต้องคงระดับไว้ “ห้ามลด” เพราะปัญหานี้ต้องเริ่มตั้งแต่ไม่ให้สัตว์ป่วยแพร่เชื้อได้ (ทำลายตัวป่วย), ป้องกันการแพร่เชื้อ (ควบคุมการ  เคลื่อนย้าย)  และระบบไบโอซีเคียวริตี้

2)      แผนภูมิต้นไม้ ที่ทางสัตวแพทยสภาได้นำเสนอสู่สังคม คือ วิเคราะห์ความจำเป็นจริง ๆ โดยต้องปฏิบัติตามมาตรการอื่น ๆ มาก่อน และเมื่อไม่ได้ผลจึงใช้วัคซีน เพราะถ้ามองกลับกัน คือ ใช้วัคซีน แล้วไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขอื่น ๆ ผลของวัคซีนจะไม่ได้ผล

3)      เทคโนโลยีของการทำวัคซีนมีการพัฒนาการตลอดเวลา วัคซีนที่จะใช้ในประเทศต้องปลอดภัย          ทั้งไก่ และคน เป็นสเตรนเดียวกับที่เป็นปัญหาในประเทศ ใช้แบบถูกต้อง และหวังผลสำเร็จ และเมื่อฝ่ายวิชาการสรุปชัดเจนว่าปลอดภัย และใช้แล้ว แต่สิ่งที่สำคัญกว่า คือ ต้องมีแผนว่า “เราจะเลิกใช้วัคซีนได้อย่างไร” ซึ่งนานาชาติก็กำลังคิดเรื่องนี้เช่นกัน

4)      คำถามวัคซีน เป็นปัญหาทางวิชาการ ใช้ความรู้สึกนึกคิดไม่ได้ เรายอมรับคณะทำงานของประเทศ และภาครัฐ เป็นแนวทางปฏิบัติ

 

10.    ประเทศไทยต้องร่วมมือกับองค์กรนานาชาติ และประเทศในภูมิภาค ถึงแม้ประเทศไทยใช้มาตรการมากมาย และสามารถควบคุมไข้หวัดนกได้ แต่เพื่อนบ้านใช้ระบบต่างกัน และควบคุมปัญหาไม่ได้ ปัญหาของเราก็ไม่สำเร็จ ดังนั้น ต้องร่วมมือกันแก้ปัญหาครั้งนี้ ก่อนที่จะสายเกินแก้

 

สมาคมสัตวแพทย์ควบคุมฟาร์มสัตว์ปีกมีความมั่นใจในคนไทย ผู้ประกอบการไทย รัฐบาลไทย และประเทศไทย ว่าจะร่วมมือกันรับการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ และมีการแก้ปัญหาไข้หวัดนกที่ยั่งยืน ประสบความสำเร็จได้อย่างแน่นอน…มั่นใจมากครับ

 

คำสำคัญ (Tags): #ปศุสัตว์
หมายเลขบันทึก: 180644เขียนเมื่อ 5 พฤษภาคม 2008 10:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 เมษายน 2012 22:58 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

สวัสดีคะ

ยินดีต้อนรับสู่ GotoKnow.org คะ

สำหรับการใช้งานนั้น สามารถอ่านบันทึกที่เขียนไว้เพื่อแนะนำการใช้งานได้ที่ http://gotoknow.org/planet/howto คะ

หรือหากต้องการสอบถามเกี่ยวกับการใช้งาน สามารถส่งอีเมล์ผ่านระบบสอบถามได้ที่ http://gotoknow.org/email/webmaster คะ

ต่อไปนี้ครูต้องไม่สอนหนังสือ  แต่ต้องสอนคน ให้พร้อมรับการเปลี่ยนแปลง ต้องปรับตัวได้อย่างเหมาะสม

สวัสดีค่ะ

ยินดีต้อนรับสู่ g2kเช่นกันค่ะ

ยินดีแลกเปลี่ยนและเรียนรู้กันได้ค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท