Tool:Six Thinking Hats สอดคล้องกับหลักอริยสัจ 4 จริงหรือไม่ อย่างไร


Six Thinking Hats สอดคล้องกับหลักอริยสัจ 4

Six Thinking Hats สอดคล้องกับหลักอริยสัจ 4 จริงหรือไม่ อย่างไร

เปรียบเทียบความสอดคล้องระหว่าง Six Thinking Hats กับ อริยสัจ4

ผมคิดว่ามันไม่ได้มีความแตกต่างไปจากกันเท่าไหร่นัก เพราะว่า ถ้าเปรียบเทียบรายละเอียดของทั้งสองอย่างแล้วไปด้วยกันได้หรือว่ามีความสอดคล้องกันมาก เช่น

1. ทุกข์ ซึ่งผมคิดว่ามันสอดคล้องกับหมวกสีขาว เพราะว่า ทุกข์ก็คือปัญหา หรือถ้าเปรียบเทียบก็คือหมวกสีขาว ซึ่งหมายถึง ข้อมูลเบื้องต้นของสิ่งนั้น หรือว่าของปัญหานั้น ซึ่งล้วนแต่เป็นข้อเท็จจริง

2. สมุทัย คือ เหตุแห่งทุกข์ จะสอดคล้องกับหมวกสีแดง และหมวกสีดำ ซึ่งหมวกสีแดงหมายถึงความรู้สึก สัญชาตญาณ และลางสังหรณ์ ส่วนหมวกสีดำ จะกล่าวถึงการคิดโดยการโจมตีจุดอ่อนหรือข้อเสีย ในเรื่องนั้น ผู้คิดตั้งข้อสงสัยกับสิ่งที่เกิดขึ้น นั่นก็คือการหาสาเหตุของความทุกข์หรือว่าสาเหตุของปัญหานั้น

3. นิโรธ คือ ความดับทุกข์ สภาพที่ทุกข์หมดไป จะสอดคล้องกับหมวกสีน้ำเงิน เพราะว่าหมวกสีน้ำเงินเป็นการคิดถึง การควบคุม และการบริหารกระบวน การคิด เพื่อให้เกิดความชัดเจนในเรื่องของความคิดรวบยอด ข้อสรุป การยุติข้อขัดแย้ง การมองเห็นภาพและการดำเนินการที่มีขั้นตอนเป็นระบบ

4. มรรค คือ ทางนำไปสู่ความดับทุกข์  ซึ่งจะสอดคล้องกับหมวกสีเหลืองและหมวกสีเขียว เพราะหมวกสีเหลืองจะเป็นความคิดเชิงบวก เป็นการมองโลกในแง่ดี การมองที่เป็นประโยชน์  เป็นการคิดที่ก่อให้เกิดผล หรือทำให้สิ่งต่างๆเกิดขึ้นได้ ซึ่งหมวกสีเขียวก็มาสนับสนุนอีกครั้งหนึ่ง กล่าวคือหมวกสีเขียวเป็นความคิดนอกกรอบที่มีความสัมพันธ์กับความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ซึ่งหมวกทั้ง 2 สีนี้ จะเป็นการหาทางในการแก้ปัญหาหรือหาหนทางในการดับทุกข์นั้น

    

ซึ่งในที่นี้จะมีข้อมูลของ Six thinking hats กับ อริยสัจ4 มาประกอบเพื่อให้เข้าใจยิ่งขึ้น

Six thinking hats คือ เทคนิคการคิดอย่างมีระบบ คิดอย่างมีโฟกัส มีการจำแนกความคิดออกเป็นด้านๆ และคิดอย่างมีคุณภาพ เพื่อช่วยจัดระเบียบการคิด ทำให้การคิดมีประสิทธิภาพมากขึ้น แนวคิดหลัก การคิด เป็นทักษะช่วยดึงเอาความรู้และประสบการณ์ของผู้คิดมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดอย่างเหมาะสมกับสถานการณ์ทักษะความคิดจึงมีความสำคัญที่สุด

ซึ่งมีองค์ประกอบของ Six Thinking Hats ดังนี้ 

            Six Thinking Hats จะประกอบด้วยหมวก 6 ใบ 6 สี คือ

1.     White Hat หรือ หมวกสีขาว หมายถึง  ข้อมูลเบื้องต้นของสิ่งนั้น เป็นความคิดแบบไม่ใช้อารมณ์ และมีเป้าประสงค์ที่ชัดเจน แน่นอน ตรงไปตรงมา ไม่ต้องการความคิดเห็น สีขาวเป็นสีที่ชี้ให้เห็นถึงความเป็นกลาง จึงเกี่ยวข้องกับข้อเท็จจริง จำนวนตัวเลข เมื่อสวมหมวกสีนี้ หมายความว่าที่ประชุมต้องการข้อเท็จจริงเท่านั้น  โดยปกติแล้วเรามักจะ ใช้หมวกขาวตอนเริ่มต้นของกระบวนการคิดเพื่อเป็นพื้นฐานของความคิดที่กำลังจะเกิดขึ้นแต่เราก็ใช้หมวกขาวในตอนท้ายของกระบวนการได้เหมือนกัน เพื่อทำการประเมิน อย่างเช่นข้อเสนอโครงการต่างๆของเราเหมาะสมกับข้อมูลที่มีอยู่หรือไม่

2.      Red Hat  หรือ หมวกสีแดง หมายถึง ความรู้สึก สัญชาตญาณ และลางสังหรณ์ เมื่อสวมหมวกสีนี้ เราสามารถบอกความรู้สึกของตนเองว่าชอบ ไม่ชอบ ดี ไม่ดี มีการใช้อารมณ์ ความคิดเชิงอารมณ์ซึ่งส่วนใหญ่การแสดงอารมณ์จะไม่มีเหตุผลประกอบ หรือการตระหนักรู้โดยฉับพลันซึ่งก็คือ เรื่องบางเรื่องที่เคยเข้าใจในแบบหนึ่ง อยู่ๆก็เกิดเข้าใจในอีกแง่มุมหนึ่ง ซึ่งการตระหนักรู้แบบนี้จะทำให้เกิดงานสร้างสรรค์ การค้นพบทางวิทยาศาสตร์ หรือวิธีคิดทางคณิตศาสตร์แบบก้าวกระโดด ความคิดความเข้าใจในสถานการณ์โดยทันที ซึ่งเป็นผลจากการใคร่ครวญอันซับซ้อนที่มีพื้นฐานจากประสบการณ์ เป็นการตัดสินที่ไม่อาจให้รายละเอียดหรืออธิบายได้ด้วยคำพูด เช่นเวลาที่คุณจำเพื่อนคนหนึ่งได้ คุณก็จำได้ในทันที

3.     Black Hat หรือ หมวกสีดำ หมายถึง ข้อควรคำนึงถึง สิ่งที่ทำให้เราเห็นว่า เราไม่ควรทำ  เป็นการคิดในเชิงระมัดระวัง หมวกสีดำ เป็นหมวกคิดที่เป็นธรรมชาติและสอดคล้องกับวิธีการคิดของตะวันตกมาก หมวกสีดำช่วยชี้ให้เราเห็นว่าสิ่งใดผิด สิ่งใดไม่สอดคล้องและสิ่งใดใช้ไม่ได้ มันช่วยปกป้องเราจากการเสียเงินและพลังงาน ช่วยป้องกันไม่ให้เราทำอะไรอย่างโง่เขลาเบาปัญญา และผิดกฎหมาย หมวกสีดำ เป็นหมวกคิดที่มีเหตุมีผลเสมอ เพราะในการวิพากษ์วิจารณ์  หรือวิเคราะห์สิ่งใดจะต้องมีการคิดแบบเป็นเหตุเป็นผลรองรับ ไม่มีอารมณ์มาเกี่ยวข้อง ในการประเมินสถานการณ์ในอนาคตของเรานั้น ต้องขึ้นอยู่กับประสบการณ์ของเราเองและของผู้อื่นด้วย

4.      Yellow Hat หรือ หมวกสีเหลือง หมายถึง การคาดการณ์ในทางบวก ความคิดเชิงบวก เป็นการมองโลกในแง่ดี การมองที่เป็นประโยชน์  เป็นการคิดที่ก่อให้เกิดผล หรือทำให้สิ่งต่างๆเกิดขึ้นได้  การคิดเชิงบวกเป็นการเปิดโอกาสให้พัฒนาและสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ ความคิดเชิงลบอาจป้องกันเราจากความผิดพลาด ความเสี่ยง และอันตรายที่อาจเกิดขึ้น  ดังนั้นการคิดเชิงบวกต้องผสมผสานความสงสัยใคร่รู้ ความสุข ความต้องการ และความกระหายที่จะทำสิ่งต่างๆให้เกิดขึ้นหรือไม่

5.      Green Hat หรือ หมวกสีเขียว หมายถึง ความคิดนอกกรอบที่มีความสัมพันธ์กับความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ และเกี่ยวข้องโดยตรงกับการเปลี่ยนแปลงแนวคิดและมุมมองซึ่งปกติมักถูกกำหนดจากระบบความคิดของประสบการณ์ดั้งเดิม และความคิดนอกกรอบนั้นจะอาศัยข้อมูลจากระบบของตัวเราเอง โดยเมื่อสวมหมวกสีนี้ จะแสดงความคิดใหม่ๆ เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น การคิดอย่างสร้างสรรค์

6.      Blue Hat หรือ หมวกสีน้ำเงิน หมายถึง การควบคุม และการบริหารกระบวน การคิด เพื่อให้เกิดความชัดเจนในเรื่องของความคิดรวบยอด ข้อสรุป การยุติข้อขัดแย้ง การมองเห็นภาพและการดำเนินการที่มีขั้นตอนเป็นระบบ เมื่อมีการใช้หมวกน้ำเงิน หมายถึง ต้องการให้มีการควบคุมสิ่งต่างๆ ให้อยู่ในระบบระเบียบที่ดี และถูกต้องหมวกสีน้ำเงินมักเป็นบทบาทของหัวหน้า ทำหน้าที่ควบคุมบทบาทของสมาชิก ควบคุมการดำเนินการประชุม การอภิปราย การทำงาน ควบคุมการใช้กระบวนการคิด การสรุปผล เพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่ต้องการ อย่างไรก็ตามสมาชิก ก็สามารถ สวมหมวกน้ำเงิน ควบคุมบทบาทของหัวหน้าได้เช่นกัน ตัวอย่างคำถามที่ผู้สวมหมวกน้ำเงินสามารถนำไปใช้ได้ ได้แก่ เรื่องนี้ต้องการคิดแบบไหน ขั้นตอนของ เรื่องนี้คืออะไร เรื่องนี้จะสรุปอย่างไร ขอบเขตของปัญหาคืออะไร ขอให้คิดว่าเราต้องการอะไร และให้เกิดผลอย่างไร เรากำลังอยู่ในประเด็นที่กำหนดหรือไม่ เป็นต้น ผู้สวมหมวกน้ำเงินเปรียบเสมือนผู้ควบคุมวงดนตรีที่จะทำให้ผู้เล่นดนตรีแต่ละชิ้นบรรเลงสอดประสานกันได้อย่างไพเราะ ดังนั้น การควบคุมการคิดจึงต้อง เลือกใช้วิธีคิดของหมวกแต่ละใบอย่างเหมาะสม

อริยสัจ4

 ความจริงอันประเสริฐ คือ อริยสัจ 4 ได้แก่ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค  อันเป็นแก่นธรรมในพระพุทธศาสนา      

  1. ทุกข์ คือ ความเกิด ความแก่ ความเจ็บ ความตาย ความปรารถนาสิ่งใดไม่ได้ในสิ่งนั้น การประจวบกับสิ่งอันไม่เป็นที่รัก การพลัดพรากจากสิ่งที่เป็นที่รัก เหล่านี้เป็นทุกข์ ซึ่งตัวทุกข์นั้นเองหมายถึง ขันธ์ 5     

  2. สมุทัย คือ เหตุแห่งทุกข์  ซึ่งตัวสำคัญได้แก่ ตัณหา ที่มี กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา แต่นอกจากนี้ยังมีข้อที่เป็นเหตุแห่งทุกข์อีกมากมาย  ได้แก่  อกุศลมูล  อกุศลกรรมบท 10   นิวรณ์ 5   มลทิน 9   อุปกิเลส 10  ทุจริต 3     

  3. นิโรธ คือ ความดับทุกข์ สภาพที่ทุกข์หมดไป ผลของการดับทุกข์ ผลของการดับกิเลส, ตัณหา และอุปาทาน    

  4. มรรค คือ ทางนำไปสู่ความดับทุกข์  มรรคมีองค์ 8 ประการ ได้แก่ ความเห็นชอบ  ดำริชอบ  วาจาชอบ กระทำชอบ  เลี้ยงชีพชอบ  พยายามชอบ  ระลึกชอบ  ตั้งจิตมั่นชอบ

 

 

 

 

 

 

คำสำคัญ (Tags): #six thinking hats#อริยสัจ 4
หมายเลขบันทึก: 180569เขียนเมื่อ 4 พฤษภาคม 2008 20:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 12:56 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

สวัสดีคะ่ ลูกคนตัดยาง

แวะมาคิดด้วยคน เรื่อง 6Hat VS.อริยสัจ4

เป็นการใช้เทคนิคให้คนเรียนรู้ที่มีความต่างวัฒนธรรม ใช้สื่อที่แตกต่างกัน แต่เนื้อหาเดียวกัน ซึ่งมักมีเรื่องทำนองนี้เสมอๆในหลายๆเรื่อง

เราก็นำมาใช้ให้ถูกกลุ่มถูกคน

กรณี6Hatใช้กับกลุ่มคนทำงานทั่วไป เข้าใจง่าย

แต่ดิฉัน ความจำเรื่องเกี่ยวข้องกับศาสนาไม่แม่น

เลยขอใช้หลัก6Hat ไปก่อน

ขอบคุณมากครับได้ความรู้มากเลยครับ กับหมวกทั้ง 6 ใบ กับการนำมาจับคู่กับ อริยสัจ4

สวัสดีค่ะ

  • ได้ความรู้เพิ่มค่ะ ต่างกันที่จำนวนข้อมังคะ 4 กับ 6 อิอิ
  • แล้ว Six Thinking Hats เขามีวิธีการนำมาประยุกต์ใช้อย่างไรบ้าง คะ
  • จะมาติดตามใหม่นะคะ

ปรัชญาศาสนา(ปรัชญาตะวันออก) ปรัชญาตะวันตก มีกลิ่นอายแตกต่างกัน แต่กระบวนการคิดจะใกล้เคียงกัน การคิดแบบมีโฟกัส แบ่งเป็นส่วนๆ การคิดแบบอริยสัจ4 การคิดแบบโยนิโสมนัสสิการ กระบวนการคิดคล้ายกัน แต่ ถ้ามีกระบวนการปฏิบัติจะแตกต่างกันครับ สอดคล้องครับ โอเค (นักปรัชญาตะวันตกมีมากมาย มีหลายปรัชญา เด่นๆ ที่เทียบเคียงได้กับปรัชญาพุทธองค์ ที่ค้นพบก่อน ซึ่ง คนตะวันตกก็ยอมรับในส่วนนี้)จากน้องรัก อิอิ

สวัสดีคะ ลูกคนตัดยาง

นับถือในความช่างคิด ช่างเปรียบเทียบคะ ขอแสดงความคิดเห็นนะคะ

หมวกสีแดง เป็นหมวกแห่งอารมณ์ความรู้สึก ถ่ายทอดออกมาอย่างอิสระ น่าจะ ตรงกับทุกข์ นะคะ เพราะ ทุกข์ คือการที่เราเอา ความเกิด แก่ เจ็บตายมาใส่ในความรู้สึกทำให้เราเป็นทุกข์นะคะ

ออ ลืมบอกว่า รูปน้องชาย น่ารักมาก น่าจะเอารูปเล่นเปียนโนมาใส่นะคะ

เรียนคุณก้ามปู

หารูปใหม่ได้ยัง ช่วยเปลี่ยนด้วยนะคับ พี่สาว

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท