MOU ทำชุมชนอินทรีย์


วิธีการทำงานแบบเครือข่ายน่าจะนำพาไปสู่เป้าหมายของการบูรณาการที่เป็นรูปธรรมได้

การทำงานที่ใหญ่ ยาก และสลับซับซ้อน ต้องอาศัยพลังจากหลายฝ่าย อย่างเช่น โครงการชุมชนอินทรีย์ที่จังหวัดนครศรีธรรมราช เป้าหมายใหญ่มากคือตั้งเป้าจะส่งเสริมชุมชนให้เป็นชุมชนอินทรีย์ หรือชุมชนเรียนรู้ เรียนรู้กันทั้งชุมชน อย่างนี้ใหญ่มาก ยากมาก และสลับซับซ้อน

ทำอย่างไรให้งานประสบผลสำเร็จมากยิ่งขึ้น จะสร้างพื้นที่รูปธรรมให้เพิ่มมากขึ้นได้อย่างไร คือประเด็นพูดคุยของพวกเรา

การบูรณาการ เสริมหนุน เป็นหุ้นส่วนกัน สนธิกำลัง เรียนรู้เป็นวงเรียนรู้ระดับต่างๆร่วมกัน  สิ่งนี้จะต้องได้รับการแปลงเป็นรูปธรรมให้มากขึ้น

วิธีการทำงานแบบเครือข่ายน่าจะนำพาไปสู่เป้าหมายของการบูรณาการที่เป็นรูปธรรมได้

พวกเราได้พยายามหลายครั้ง จนในที่สุดเราเชิญคนทำงานระดับพื้นที่จากสำนักงานท้องถิ่นอำเภอเมือง สำนักงานการเกษตรอำเภอเมือง สำนักงานสาธารณสุขอำเภอเมือง สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอเมือง โรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอเมือง และเครือข่ายภาคประชาชนจังหวัดนครศรีธรรมราช เพื่อทำข้อตกลงร่วมกัน ให้หน่วยงานต่างๆมาทำงานกันเป็นเครือข่าย 

มอบหมายผมร่างข้อตกลง ผมร่างเป็นข้อๆดังนี้ครับ 

1. ยึดหลักการการทำงานเชิงบูรณาการ การมีส่วนร่วม การเป็นหุ้นส่วน การเสริมหนุนซึ่งกันและกัน

2. ใช้งานประจำของแต่ละหน่วยงาน และงานที่จะได้คิดทำร่วมกันเป็นตัวเดินเรื่อง ใช้การจัดการความรู้ การวิจัยในงานประจำ การประเมินผลการทำงานร่วมกัน การใช้ชุดความรู้และองค์ครวามรู้ วิชาการ ของแต่ละหน่วยงานเป็นเครื่องมือสำคัญในการพัฒนางานไปสู่เป้าหมาย

3. สนับสนุนให้ใช้ทรัพยากร บุคลากร งบประมาณ สถานที่ ฯลฯ ตามความเหมาะสมเพื่อการทำงานร่วมกัน

4. จัดตั้งกลไกการทำงานร่วมกันในรูปภาคีเครือข่ายที่ลดอำนาจควบคุมสั่งการที่เป็นอุปสรรคต่อการทำงานให้ประสบผลสำเร็จ สร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้ในรูปของวงเรียนรู้แก่คนทำงานระดับต่างๆ เพื่อค้นคว้า พัฒนา และสร้างนวัตกรรมในการทำงาน

5. ให้มีเวทีพบปะแลกเปลี่ยนคนทำงานจากทุกหน่วยงานหมุนเวียนไปในแต่ละหน่วยงานเดือนละครั้ง หัวหน้าหน่วยงานทุกหน่วยงานประชุมพบปะกันไตรมาสละครั้ง และให้มีการประชุมสัมมนาคนทำงานทุกระดับร่วมกับชุมชนปีละครั้งในงานตลาดนัดความรู้

6. แต่ละหน่วยงานจะต้องคัดเลือกพื้นที่เด่นในงานของตนเพื่อใช้เป็นแหล่งเรียนรู้ร่วมกัน

7. นำร่องการทำงานเครือข่ายขับเคลื่อนกระบวนการชุมชนเข้มแข็ง ชุมชนอินทรีย์ อยู่ดีมีสุข อำเภอเมือง ที่พื้นที่ตำบลท่าซัก

8 จัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ชุมชนไว้รองรับการเรียนรู้ที่ยั่งยืนของชุมชน

เมื่อวานนี้ทีมงานได้นำร่างนี้ไปเรียนและปรึกษาท่านนายอำเภอเมือง เพื่อทราบความรู้สึกแนวคิดแนวทาง ได้รับโทรศัพท์จากทีมงานที่ไปซึ่งนำโดยหมอวิเชียร และครูราญ บอกว่าท่านปิ้งมากชอบมาก

บอกให้นำร่างนี้ส่งไปให้แต่ละหน่วยงานพิจารณา เติมเต็ม แล้วให้หัวหน้าหน่วยงานทุกหน่วยงานนำกลับไปตั้งวงพูดคุยกับท่าน ปรับปรุงสุดท้ายแล้วจะได้เซ็นข้อตกลงร่วมกัน

สัปดาห์หน้าคงมีอะไรให้เล่าได้อีก

การจัดการความรู้ภาครัฐ ต้องใช้ความพยายามอย่างมาก ๆๆๆ

หมายเลขบันทึก: 180345เขียนเมื่อ 3 พฤษภาคม 2008 07:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 พฤษภาคม 2012 10:13 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

สวัสดีค่ะคุณครู

น่าสนใจมากๆ ค่ะ

อุทยานการเรียนรู้เมืองนครศรีธรรมราช จะได้มีโอกาสได้เข้าไปร่วมวงเรียนรู้กระบวนการทำงานในลักษณะนี้บ้างนะคะ

ภัช

สวัสดีค่ะ คุณครู

เห็นด้วยค่ะที่มีสถานที่ไว้ให้เรียนรู้นอกห้องค่ะ

ยินดีที่ได้รู้จักค่ะ แลกเปลี่ยนเรียนรู้กันได้ค่ะ

ทิพวัลย์ สีจันทร์

สวัสดีค่ะครูนง

ขอโอกาสไปเรียนรู้ด้วยนะคะ จะพยายามจัดสรรเวลาค่ะ คงได้ลงพื้นที่ภาคใต้ในช่วงเดือนพค.-มิย.นี้ค่ะ แล้วจะแวะไปคารวะครูนงนะคะ

พวกเราน่าจะช่วยกันขยายแนวคิดและขยายผลเรื่อง "ชุมชนเรียนรู้" นี้กันในหลาย ๆ พื้นที่นะคะ...แล้วเชื่อมเป็นเครือข่ายที่มีพลังกันให้เต็มแผ่นดิน...เมืองไทยของเราจะได้เป็น"เมืองแห่งการเรียนรู้"ค่ะ

หัวน้าหน่วยงานลดอัตตาลงได้

ใช้แนวทางครูนง

ท่านผู้ว่าหนุนส่ง

เกษรตร/สาสุขลงปฎิบัติการ

ครูราญลงติดตาม

แนวทางชุมชนอินทรีย์คงงอกงาม

ขอติดตามเรียนรู้และนำมาปรับใช้ขยายต่อ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท