LiBraRianCSR!!!
นาย รัชชานนท์ เจริญเกียรติสถานนท์

กำเนินโทรเลขในประเทศไทย


กำเนินโทรเลขในประเทศไทย

สิ้นสุดลงไปเรียบร้อยแล้วสำหรับโทรเลขในประเทศไทย ในวันสุดท้ายก็ได้ไปส่งโทรเลขที่ไปรษณีย์กลางบางรัก ซึ่งคนที่ไปส่งโทรเลขนั้นมากมายนัก รอคิวนานเป็นชั่วโมงกว่าจะถึงคิว ซึ่งทำให้รู้ว่าโทรเลขก็มีความผูกพันกับคนไทยมานาน ทีนี้ก็อยากเอาประวัติโทรเลขมาให้รู้กันว่า โทรเลขในประเทศไทยมีวิวัฒนาการมาอย่างไร และทำไมถึงสิ้นสุดลง

กำเนิดโทรเลขในประเทศไทย
 
สำหรับสังคมไทยรู้จักโทรเลขในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยทรงมีพระราชดำริให้จัดทำไปรษณีย์ขึ้น โดยโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเจ้าน้องยา
เธอ เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่าง วงศ์ ร่วมกับเจ้าหมื่นเสมอใจราช เตรียมการต่าง ๆ เพื่อเปิดทำการไปรษณีย์
 
โดยโทรเลขถือกำเนิดขึ้นอย่างเป็นทางการในปี พ.ศ. 2418 จากการที่รัฐบาลไทยมอบหมายให้กรมกลาโหมสร้าง ทางสายโทรเลขสายแรก จากกรุงเทพฯ ไปปากน้ำ ( จ.สมุทรปราการ) 
 
กระทั่งปี พ.ศ. 2426 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งกรมโทรเลขขึ้นเพื่อรับช่วงงานโทรเลขต่อจากกรมกลาโหม ซึ่งกิจการโทรเลขในประเทศไทยได้พัฒนาขึ้นอย่างเป็นลำดับ

 
จนเข้าสู่ยุควิทยุโทรเลขในประเทศไทย ซึ่งเริ่มขึ้นในสมัยจอมพลเรือสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์วรพินิต ซึ่งเป็นผู้บัญชาการทหารเรือและได้มีเครื่องรับ-ส่งวิทยุโทรเลขแบบมาร์โคนีใช้เป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2450 โดยวิทยาการด้านวิทยุรู้จักแพร่หลายมากขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว และรัฐบาลได้ประกาศใช้พระราชบัญญัติวิทยุโทรเลข พ.ศ. 2457 โดยกำหนดให้กรมไปรษณีย์โทรเลขมีอำนาจหน้าที่ในการตั้งเครื่องและใช้วิทยุโทรเลข วิทยุโทรศัพท์ในประเทศไทย และให้ข้าราชการทหารเรือทำความตกลงกับกรมไปรษณีย์โทรเลขให้ประชาชนใช้วิทยุโทรเลขได้
 
ปี พ.ศ. 2471 กองช่างวิทยุ กรมไปรษณีย์โทรเลขเปิดการสื่อสารทางวิทยุโทรเลขโดยตรงกับทวีปยุโรป โดยติดต่อกับกรุงเบอร์ลิน ประเทศเยอรมนี ซึ่งเป็นครั้งแรกของ
ประเทศไทยที่สามารถส่งข่าวสารทางโทรเลขกับต่างประเทศด้วยคลื่นวิทยุ โดยไม่ต้องอาศัยประเทศต่าง ๆ ให้ช่วยถ่ายทอดโทรเลขอีกต่อหนึ่ง
 
เดิมนั้นการส่งโทรเลขจากประเทศไทยไปต่างประเทศ โดยเฉพาะในทวีปยุโรปต้องอาศัยส่งผ่านทางสายโทรเลข ของต่างประเทศ เช่น จากกรุงเทพฯ ไปหาดใหญ่ เข้า ประเทศมาเลเซีย ซึ่งอังกฤษปกครอง หรือ จากกรุงเทพฯ ผ่านแม่สอดเข้าประเทศพม่า ซึ่งทำให้เสียเวลาและล่าช้ามาก
 
สำหรับการเปิดการสื่อสารทางวิทยุโทรเลขกับต่างประเทศครั้งแรกโดยไม่ต้องผ่านประเทศอื่น ๆ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 7 พร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี ทรงกระทำพิธีเปิด ภายหลังสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 ระหว่างปี พ.ศ. 2490-2496 กรมไปรษณีย์โทรเลขเปิดการติดต่อทางวิทยุโทรเลขกับต่างประเทศเพิ่มขึ้นอีกหลายแห่ง ได้แก่ เวียดนาม, ไต้หวัน, อินเดีย, ญี่ปุ่น และเดนมาร์ก
 
ในปี พ.ศ. 2496 นายสมาน    บุณยรัตพันธ์ นายช่างโทรเลขของไทยได้คิดค้นเครื่องโทรพิมพ์ภาษาไทยได้สำเร็จ โดยคิดระบบกลไก (SPACING CONTROL
MECHANISM) ต่อมาได้ผลิตเครื่องโทรพิมพ์ทำงานได้ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษในเครื่องเดียว โดยใช้ชื่อว่า "เครื่อง โทรพิมพ์ไทยแบบ S.P."
 
กรมไปรษณีย์โทรเลขได้รับรองเครื่องพิมพ์ไทยแบบ S.P . ในปี พ.ศ . 2498 และเริ่มสั่งสร้างเครื่องโทรพิมพ์ไทยจากประเทศญี่ปุ่นเข้ามาใช้งานรับ-ส่งโทรเลขเป็นรุ่นแรก
ระหว่างกรุงเทพฯ-นครสวรรค์, กรุงเทพฯ-อุตรดิตถ์-เชียงใหม่ เมื่อวันที่ 1 ก.พ. 2500 ซึ่งต่อมาได้ขยายการรับ-ส่งโทรเลขโดยใช้เครื่องโทรพิมพ์ออกไปทั่วประ เทศ
 
อุปกรณ์โทรเลขต่าง ๆ ได้ดำเนินการติดตั้งปี พ.ศ. 2504 และเปิดรับ-ส่งใช้งานโทรเลขติดต่อกับต่างประเทศด้วยวงจร HF 1 ARQ เป็นต้นมา โดยเริ่มทำการติดต่อกับโอซากา ประเทศญี่ปุ่น เป็นวงจรแรก
 
พ.ศ. 2520 กรมไปรษณีย์โทร เลขได้โอนส่วนปฏิบัติการบริการโทรคมนาคมของประเทศไปอยู่ในความรับผิดชอบของการสื่อสารแห่งประเทศไทย เป็นผลให้การให้บริการขยายตัวออกไปอย่างกว้างขวาง

 
การสื่อสารแห่งประเทศไทยได้ทำการปรับปรุงและเปลี่ยนระบบการรับ-ส่งโทรเลขในประเทศ และระหว่างประเทศจากระบบ MANUAL มาเป็นระบบถ่ายทอดโทรเลข
แบบอัตโนมัติ โดยในวันที่ 20 พ.ย. 2521 ได้ทำการขยายการติดต่อโทรเลขระหว่างกรุงเทพฯ กับต่างจังหวัด จำนวน 80 แห่ง พร้อมทั้งจัดตั้งศูนย์ถ่ายทอดโทรเลขย่อยในระบบ TORN TAPE ที่ทำการไปรษณีย์โทรเลข 7 แห่ง ต่อมาได้จัดตั้งชุมสายโทรเลขอัตโนมัติเพิ่มขึ้นในส่วนภูมิภาคอีก 3 แห่ง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการรับ-ส่ง โทรเลข โดยกำหนดให้ชุมสายที่หาดใหญ่เป็นศูนย์ถ่ายทอดโทรเลขภาคใต้ ขอนแก่นเป็นศูนย์ถ่ายทอดโทรเลขภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และนครสวรรค์เป็นศูนย์ถ่ายทอด
โทรเลขภาคเหนือ ซึ่งชุมสาย อัตโนมัติทั้ง 4 แห่ง รวมทั้งกรุงเทพฯ และบางรัก สามารถติดต่อกันด้วยระบบสื่อสารทางดาวเทียมและทำงานร่วมกันได้อย่างสมบูรณ์ เมื่อวันที่ 25 ก.พ. 2531 ซึ่งเป็นผลให้การรับ-ส่ง โทรเลขรวดเร็วยิ่งขึ้น ยุคสมัยเปลี่ยนหลายๆสิ่งก็เปลี่ยนไป การสื่อสารในยุคปัจจุบันมีความสะดวกรวดเร็วด้วย อินเตอร์เน็ท โทรศัพท์ไร้สาย เมื่อมีสิ่งใหม่ๆมาทดแทนสิ่งเก่าๆก็ต้องสูญหายไปตามกาลเวลาดังเช่นโทรเลข ที่อีกไม่นานคงเหลืออยู่แต่ในความทรงจำเท่านั้น

หมายเลขบันทึก: 180196เขียนเมื่อ 2 พฤษภาคม 2008 13:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 13:43 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท