องค์กรมีชีวิต


คลื่นการเดินของกิ้งกือ

สว้สดียามเช้าขอรับ
แต่ที่ผมมาเขียนบันทึกันนี้เพราะเจ้าตัวนี้เองครับ...

....กิ้งกือ....

สิ่งที่ผมสนใจแวปมาได้หลังกินข้าวอิ่ม+กำลังเดินไปนั่งคิดปัญหาเรื่องโปรแกรม Access อยู่

เอ๊ะ กิ้งกือนี่ทำไมมาอยู่ตรงนี้

ก็ฝนมันตก พื้นแฉะ มันเลยมาเดินบนถนนไง

อืมๆ เมื่อวานนั่งคุยกับพี่เดือนเรื่ององค์กรมีชีวิตอยู่เลย

องค์กรมีชีวิตหรือ งั้นองค์กรเราถ้ามีชีวิตจะเหมือนกับอสัตว์อะไรนะ

เอ๊ะ!! เดี๋ยวๆ

(วิ่งกลับไปดูอีกรอบ)

กิ้งกือ (Millipedes)

ผมดูจุดเด่นของกิ้งกือ คือ ปล้องกับขาที่มากมาย

สังเกตการเดินของมันครับว่า มันเดินได้ยังไงโดยขาไม่พันกัน

ตอนแรกกก็เห็นมันไหลลื่นเหมือนง่าย เลยคิดว่าคงเดินแบบกรรเชียงเรือคือไปพร้อมๆ กันเป็นจังหวะ ก้าว-หยุดๆ

แต่พอมองๆ ไป เอ๊ะ มันเดินแบบเป็นลูปนี่ ดูตามรูปนะครับ

จะเห็นว่ามันจะแนบติดกันสามขา แล้วห่างสามขา ถ้าเปรียบจังหวะฝีพายก็คือ สามคนตวัด สามคนหยุด

ผมเห็นว่ามันเป็นอะไรที่น่าอัศจรรย์ที่ขาหลาร้อยข้างไม่พันหรือสะดุดกันเลย

ถ้าเป็ฯองค์กรนี่ คือ เจ้าหน้าที่หลายร้อยทำงานประสานกันโดยไม่ติดขัดทำให้องค์กร (กิ้งกือ) ไหลลื่นไปข้างหน้าได้อย่างมั่นคง

ผมจึงรีบจดความคิดและปรี่มาที่หน้าคอมพิวเตอร์ด่วน

....................แต่กๆๆๆๆ................

.............

ข้อมูลเหล่านี้ต้องขอบคุณอินเตอร์เน็ตและกูเกิลที่ทำให้ผมหาข้อมูลทันก่อนไปทำงานเช้านี้ได้

กิ้งกือ (Millipedes) จัดเป็นอยู่ในประเภทสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง ไฟลัมอาร์โธรพอด

หาในวิกิพีเดียได้เท่านี้อะครับ แต่ไปเอะกับอันนี้มาก

....คลื่นการเดินของกิ้งกือ...

เป็นผลงานของน้องๆ นักเรียนเตรียมอุดมขอรับ น่าสนใจมากที่เขาเห็นการเดินของกิ้งกือเป็นลูปเช่นกันแถมยังเป็นเสี้ยววงกลมอีก สุดยอดเลย

สมการการเดินกิ้งกือ

สมการการเดินกิ้งกือครับ

แนวคิดน้องๆ ที่เอาคณิตศาสตร์และฟิสิกส์มาประยุกต์หาคำตอบของธรรมชาติกิ้งกือ(ชีววิทยา)
ทำให้ผมได้คิดอีกอย่างว่าหลายๆ ศาสตร์ก็เหมือนกับความรู้มีชีวิต คือ ไม่มีความรู้ไหนแยกเดี่ยวออกไปอย่างชัดเจนในที่สุดมันก็กลับเข้ามาคาบเกี่ยวกัน ดังนั้นคนที่บรรลุวิชาบู๊ได้จะสามารถบรรลุได้หลายศาสตร์(อาวุธ) ไปด้วยได้เช่นกัน..เอ่อ ขอโทษทีครับกำลังอิน นอกเรื่องเลย

 แฮ่ม ผมก็มาต่อยอดของผมเอง จริงๆ แล้วหลักการมันเหมือนง่ายเลยครับ

คือ การส่งต่อประสาทจะส่งจากขาหน้าไปหลัง โดยใช้รีเฟล็กไปเรื่อยๆ แล้วขาจะยกเป็นวงโค้งฝีพายอย่างสวยงามไปตามระดับจังหวะที่ส่งต่อไปเรื่อยๆ
ซึ่งการที่มันจะส่งต่อได้อย่างราบลื่นเพราะมันมีระบบประสาทที่เรียงตัวมาอย่างดีแล้ว
(ซึ่งองค์กรเรามีอะยังเนี่ย แต่ที่เเน่ๆ เรามีขา)

ผมเลยอยากให้องค์กรเล็กๆ ของเราเดินได้สวยงามอย่างกิ้งกือมั่งจัง เฮ้อ..

 

 


หมายเหตุ ข้อมูลกิ้งกืออื่นๆ ที่มีคนสนใจก่อนหน้นี้แล้วไว้อ่านเสริมขอรับ จากคุณ Joseph

***[อยากรู้ไหม กิ้งกือ มีกี่ขา?????]***

เกริ่น ข้อมูลที่น่าสนใจของ กิ้งกือ

1. กิ้งกือ หรือ Millipedes ในภาษาอังกฤษ  จัดว่าเป็นสัตว์ที่มีจำนวนขามากที่สุดในโลก (Leggiest Animal) เมื่อขุดรากศัพท์ภาษาละตินขึ้นมา จะได้ความว่า Milli = Thounsand และ Poda = Ped = Foot (ที่มา : Wiki ) แปลเป็นไทยอีกที ก็คือ "ตัว 1,000 ขา!" ด้วยเหตุนี้ หลายคนจึงพากันเชื่อว่า กิ้งกือมีขาเป็น พัน! (ใครเชื่อแบบนี้ ยกมือขึ้น... เอาล่ะ เอามือลงได้ครับ เพราะยังไงก็ไม่รู้อยู่ดี ว่าใครยกมือบ้าง) ส่วนรากศัพท์ภาษาไทยยังสืบไม่พบ มีแต่ผู้เชี่ยวชาญ (เดาสุ่ม) จาก สถาบันฟิโล่ตุตะ บอกว่า คำว่า กิ้งกือ มาจาก พิลึกกึกกือ (อย่าไปเชื่อมันเชียว!)

2. กิ้งกือ ถือเป็นญาติห่างๆของ แมลง , แมงมุม , ปู และ กุ้ง! ฯลฯ (ใครชอบกินปูกินกุ้ง ห้ามรังเกียจก้ิงกือนะจ้ะ!) หรือ สัตว์ประเภทที่มีเปลือกหุ้มเป็นปล้องๆ และมีขายื่นออกมาข้างลำตัว กิ้งกือ จัดอยู่ใน Class Diplopoda กลุ่ม Myriapoda (แปลว่าอะไร ก็ไม่รู้เหมือนกัน ดูที่มา : insected.arizona.edu) เมื่อ 200 กว่าปีที่แล้ว นักวิทยาศาสตร์ แยกประเภทของ กิ้งกือ ได้แค่ 7 สายพันธุ์ แต่ปัจจุบัน ใน "ฐานข้อมูลกิ้งกือโลก" มีการบันทึกและจำแนกความแตกต่าง ของกิ้งกือ ได้กว่า 12,000 สายพันธุ์ แต่ประเมินกันว่า จริงๆแล้ว มีกิ้งกือไม่น้อยกว่า 80,000 สายพันธุ์! บนโลกไปนี้ (ที่มา : fieldmuseum.org)

3. กิ้งกือ เป็นสัตว์ที่มีรูปร่างสมมาตรหรือร่างกาย 2 ข้างสมดุลกัน (Bilateral Symmetry) ปกติ ลำตัวแต่ละปล้องของกิ้งกือ จะมีขาโผล่ออกมาปล้องละ 2 คู่ หรือ 4 ขา ยกเว้นบางปล้องบริเวณส่วนหัว จะมีแค่ 1 คู่ ดังนั้น พวกมันจึงมี "จำนวนขา" เป็น "เลขคู่" (ยกเว้น บางตัวที่ พิการ , กลายพันธุ์ หรือ เป็น กิ้งกือนอกคอก!) ส่วน กิ้งกือน้อย ที่เกิดใหม่อาจจะมีขาไม่ถึง 10 ขาด้วยซ้ำไป!

กิ้งกือ ไม่ใช่สัตว์มีพิษ แต่เรามักจะสับสนพวกมันกับ พวกตะขาบ ตะเข็บ (Centipedes = ไอ้ตัวร้อยขา!) ซึ่งเป็นสัตว์มีพิษ กิ้งกือ ถือเป็นสัตว์ที่มีความ สำคัญต่อระบบนิเวศของป่า หรือ แม้แต่บ้านเรือน เพราะมันทำหน้าที่ในการย่อยเศษขยะอินทรีย์ แล้วคืนธาตุอาหารสู่ผืนดิน กิ้งกือเป็น สัตว์มังสวิรัต นะจ้ะ มันกินแต่ซากพืชเป็นอาหารอย่างเดียว ส่วนพวก ตะขาบ มันกินสัตว์อื่นเป็นอาหาร
4. เอาล่ะ พล่ามรายละเอียดแต่พองาม มาดู ข่าวเด่่นประเด็นร้อน ของกิ้งกือกันดีกว่า

เมื่อปีที่แล้ว วงการ กิ้งกือโลก ก็ได้ฮือฮากันเป็นครั้งแรกในรอบ 80 ปี เมื่อ Paul E. Marek & Jason E. Bond สองนักวิจัยหนุ่มผู้หลงใหลกิ้งกือเป็นชีวิตจิตใจ จาก East Carolina University ได้ค้นพบ กิ้งกือ ที่มีจำนวนขามากที่สุดในโลก ในรอบ 80 ปี! พวกเค้าไล่จับ กิ้งกือ แถว California จำนวน 12 ตัว มานั่งนับขาของพวกมัน (เห็นไหม ว่าเคยมีคนนับจำนวนขากิ้งกือไว้แล้ว อย่่างน้อยก็ 2 คน และมีกิ้งกือที่เคยถูกนับจำนวนขาแล้ว อย่างน้อยก็ 12 ตัว!) ผลที่ได้คือ กิ้งกือตัวเต็มวัยมีจำนวนขาตั้งแต่ 318 - 666 ขา และกิ้งกือตัวที่มีจำนวนขามากที่สุด คือ 666 ขา เป็น กิ้งกือเพศเมีย สายพันธุ์ Illacme Plenipes (มันชื่ออะไร ตามข่าวไม่ได้บอกไว้!)

Malek บอกว่า "ปกติกิ้งกือตัวเมียจะมีขามากกว่าตัวผู้ครับ และขาของพวกมันจะมีจำนวน เพิ่มขึ้นตามอายุด้วย" นอกจากนี้ Malek ยังได้เก็บ "Sperm" ของกิ้งกือตัวผู้ ไว้เป็นตัวอย่างด้วย! (อืม... หมอนี่ แฟนพันธุ์แท้กิ้งกือจริงๆ!)

ส่วน กิ้งกือที่มีจำนวนขามากที่สุดในโลกนั้น เท่าที่มีมนุษย์เคยนับไว้ คือ 742 ขา! เป็นสายพันธุ์ Illacme Plenipes เช่นเดียวกัน ค้นพบที่ Tobago เมื่อปี 1926 หรือ เมื่อ 80 ปีที่แล้วโน่นแน่ะ!
(ที่มา : sciencenews.org)

เป็นอันว่า กิ้งกือ ไม่ได้มี 1,000 ขา อย่างชื่อที่เรียกมัน หรืออย่างที่หลายๆคนเข้าใจ มากที่สุดเท่าที่มนุษย์เคยนับ คือ 742 ขาเท่านั้น! (ใช้คำว่า "742 ขาเท่านั้น" คงไม่เหมาะเท่าไหร่ ควรใช้คำว่า "ตั้ง 742 ขาาาา!")

มีใครสนใจจะ นับขากิ้งกือ ทำลายสถิติโลกไหมครับ?


ส่วนอีกข่าวนึง ก็น่าทึ่งไม่แพ้กัน เป็นข่าวของ เด็กไทยกับกิ้งกือครับ

เมื่อปี 2545 - 2546 เด็กไทย 3 คน คือ จารุพล สถิรพงษะสุทธิ , ณัฐดนัย ปุณณะนิธิ และ ภูมิยศ วิมลกิตติวัฒน์ ได้เสนอโครงงานวิทยาศาสตร์ชื่อ "ก้าวย่างไปกับกิ้งกือ (Walking With a Millipede)" ที่โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา เหตุมาจาก 1 ใน 3 คนนั้น ได้จับกิ้งกือมาแหย่เพื่อนๆ ให้โวยวายคลุ้งคลั่งเล่นๆ แล้วไม่รู้อีท่าไหน ถึงได้เกิดอยากรู้ว่า "กิ้งกือมันมีขาตั้งเยอะแยะ แล้วทำไมเวลาเดิน ขามันไม่พันกันหว่า?" นั่นแหละครับ คือที่มาของ โครงงานวิทยาศาสตร์รางวัลชนะเลิศประจำปี 2546 ในงานสัปดาห์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ ชนะ เลิศระดับประเทศยังไม่พอ ยังไปชนะเลิศระดับโลกด้วย ในงาน the 2004 Intel International Science and Engineering Fair ที่ประเทศสหรัฐอเมริกาด้วย

เด็กพวกนี้ไม่ธรรมดาครับ เพราะได้ผลการศึกษาออกมาใน รูปของสมการคณิตศาสตร์ อธิบายการเคลื่อนที่ของขากิ้งกือ โดยมีทฤษฎีรองรับอีกต่างหาก! สรุปสั้นๆ เท่าที่ผู้ใหญ่สมองตื้ออย่างผมเข้าใจก็คือ กิ้งกือมันเคลื่อนขาแต่ละขาเป็นวงคลื่น (ภาษาคณิตศาสตร์ที่ผมไม่เข้าใจเรียกว่า "ไซคลอยด์ (Cycloid)" ใครลองอ่านเพิ่มเติมเอาเองได้ที่ : thailearn.net และ bbznet.com)

 

หมายเลขบันทึก: 179623เขียนเมื่อ 30 เมษายน 2008 08:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:00 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)

บ้านผม  เหมือนเขา  หน้านี้แยะจัง

อ่านเรื่องนี้แล้วผมตื่นตาตื่นใจมากครับ

เรื่องของกิ้งกือกับการทำงานในองค์กร

เคยไปงานแต่งงานที่บ้านของแฟนผมเองครับ การทำงานของ ชาวบ้านที่มาช่วยในงานแต่งงาน แบบไม่ต้องประชุมกันมากมาย ตกลงกันแบบง่ายๆ ผมยังไปเป็นส่วนหน่งของทีมงาน คือการยกของไปเสิรฟ แฟนผมบอกว่า เขาจะรู้เองเลยว่าใครจะเตรียมข้าว เขาจะรู้เองเลยว่า เขาจะไปเป็นคนย่างหมู แล้วก็รู้ว่าคนนี้ต้องไปบอกก่อนนะ แล้วเขาจะทำ ..อะไรอย่างนี้ครับ สุดยอดขององค์กรสมัยใหม่ที่พบตอนนี้ ก็ประชุมกันแทบตาย มันน่าตั้งคำถามว่าเพราะอะไร

ญาติใกล้ชิดของกิ้งกือ ตัวนึง ก็คือตะขาบ

มีชื่อเรียกทางละตินว่า Centipedes มาจาก Centi=100 กับ Poda=foot

แปลว่า ไอ้ร้อยขา ในขณะที่กิ้งกือมีขาเดิน 2 คู่ ในแต่ละปล้อง ตะขาบจะมีแค่ขาคู่เดียว ในแต่ละปล้องของมัน

จำมากจากชีววิทยา ม.ปลายนะเนี่ย

1. นายประจักษ์ เมื่อ พ. 30 เม.ย. 2551 @ 09:24 629785 [ลบ] บ้านผม เหมือนเขา หน้านี้แยะจัง

สวัสดีครับ เช่นกันครับ ดีจะครับได้ดูเยอะๆ จะได้อะไรกลับไปเยอะๆ

 

P
2. พ.ญ. อัจฉรา เชาวะวณิช
เมื่อ พ. 30 เม.ย. 2551 @ 17:16
630561 [ลบ]

ทายไม่ถูกค่ะ

ขอบคุณที่แวะมาเยี่ยมขอรับ ไม่ต้องทายหรอกครับ อ่านดูข้างล่างได้เลย

"......กิ้งกือที่มีจำนวนขามากที่สุดในโลกนั้น เท่าที่มีมนุษย์เคยนับไว้ คือ 742 ขา! เป็นสายพันธุ์ Illacme Plenipes เช่นเดียวกัน ค้นพบที่ Tobago เมื่อปี 1926 หรือ เมื่อ 80 ปีที่แล้วโน่นแน่ะ!......"

ไม่มีรูป

4. เภสัชโอ

เมื่อ ส. 03 พฤษภาคม 2551 @ 22:04

636111 [ลบ]

ญาติใกล้ชิดของกิ้งกือ ตัวนึง ก็คือตะขาบ

มีชื่อเรียกทางละตินว่า Centipedes มาจาก Centi=100 กับ Poda=foot

แปลว่า ไอ้ร้อยขา ในขณะที่กิ้งกือมีขาเดิน 2 คู่ ในแต่ละปล้อง ตะขาบจะมีแค่ขาคู่เดียว ในแต่ละปล้องของมัน

จำมากจากชีววิทยา ม.ปลายนะเนี่ย

..............................................................

ว่าไง สำบายดีเปล่า

พอนายพูดก็นึกได้นะ ต้องไปดูตะขาบต่อดีกว่า ขอบใจที่มาต่อยอดให้

P

3. สมคบ

เมื่อ ศ. 02 พฤษภาคม 2551 @ 20:38

634509 [ลบ]

อ่านเรื่องนี้แล้วผมตื่นตาตื่นใจมากครับ

เรื่องของกิ้งกือกับการทำงานในองค์กร

เคยไปงานแต่งงานที่บ้านของแฟนผมเองครับ การทำงานของ ชาวบ้านที่มาช่วยในงานแต่งงาน แบบไม่ต้องประชุมกันมากมาย ตกลงกันแบบง่ายๆ ผมยังไปเป็นส่วนหน่งของทีมงาน คือการยกของไปเสิรฟ แฟนผมบอกว่า เขาจะรู้เองเลยว่าใครจะเตรียมข้าว เขาจะรู้เองเลยว่า เขาจะไปเป็นคนย่างหมู แล้วก็รู้ว่าคนนี้ต้องไปบอกก่อนนะ แล้วเขาจะทำ ..อะไรอย่างนี้ครับ สุดยอดขององค์กรสมัยใหม่ที่พบตอนนี้ ก็ประชุมกันแทบตาย มันน่าตั้งคำถามว่าเพราะอะไร

.....................................................................................

สวัสดีครับ คุณสมคบ ผมแวะไปอ่านงานท่านบ่อยเหมือนกันแต่ไม่ค่อยได้ลงชื่ออ่านเลย แหะๆ

ยกตัวอย่างได้เห็นภาพเลยครับ

ที่ผมว่าเป็นอย่างนี้เพราะทุกคนจะรู้กันครับว่า งานนี้เป้าหมายคืออะไร แล้ต้องทำอะไรจึงจะผ่านเป้าหมายนี้ได้ ทุกคนจะทำในสิ่งที่ตัวเองถนัด เช่น พี่ที่เป็นเด็กเสิร์ฟ อิอิ แล้วจะมองกันเหมือนทีมบอลครับ ว่าควรจะจ่ายลูกให้ใคร ชงลูกอย่างไร ดูนักบอลได้ครับว่าเขาเล่นแล้วตะโกนบอกกันก่อนส่งลูกป่าว

ทำไม น่าฝนถึงมีเยอะมากเลย

เข้ามาในบ้านด้วยไม่รู้จะทำไงดี

มีวธีป้องกันบ้างไหม

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท