พยาบาลชุมชน


"ผมไม่รอกระทรวงหรอก ผมส่งคนในหมู่บ้านไปเรียนพยาบาลเลย ส่วนเรื่องกรอบอัตรากำลังไม่มีปัญหา เพราะสามารถเสนอจาก กถ.จังหวัดได้ แต่ปัญหาก็คือ ทางสถาบันวิชาการไม่สามารถรองรับจำนวนที่ท้องถิ่นเสนอได้"

เมื่อ ๒ - ๓ วันก่อน ได้ไปร่วมประชุมที่ สสส. พิจารณาแผนงานสร้างพยาบาลชุม โดยชุมชน เพื่อชุมชน ซึ่งสภาการพยาบาล เป็นผู้รับผิดชอบหลัก แผนนี้เป็นแผนระยะที่ ๒ ต่อจากระยะแรกที่มีการทดลองหารูปแบบในพื้นที่นำร่อง โดยมีสถาบันวิชาการ ๔ สถาบันเป็น Node ในการพัฒนาต้นแบบ สำหรับในระยะที่ ๒ นี้มีการเพิ่ม Node ทำงานอีก ๔ แห่ง และมีเครือข่าย ๑๘ แห่ง

พอดีกำลังทำเรื่องกำลังคนด้านสุขภาพและเรื่องการแก้ปัญหาการฟ้องร้องระหว่างแพทย์กับผู้ป่วยอยู่ จึงเห็นว่าแผนงานพยาบาลชุมชนนี้ มีส่วนอย่างมากที่ส่งผลต่อการจัดการกำลังคนด้านสุขภาพ และสามารถลดปัญหาการฟ้องร้องแพทย์ลงได้

มีประสบการณ์ไปดูงานที่ อบต. แห่งหนึ่งที่จังหวัดพิจิตร ได้คุยกับ นายก อบต. เขาบอกว่า "ผมไม่รอกระทรวงหรอก ผมส่งคนในหมู่บ้านไปเรียนพยาบาลเลย ส่วนเรื่องกรอบอัตรากำลังไม่มีปัญหา เพราะสามารถเสนอจาก กถ.จังหวัดได้ แต่ปัญหาก็คือ ทางสถาบันวิชาการไม่สามารถรองรับจำนวนที่ท้องถิ่นเสนอได้"

จากคำพูดข้างต้นนั้น ทำให้ทราบว่า เดี๋ยวนี้เรื่องสุขภาพมี Node ที่สำคัญเปลี่ยนไปจากกระทรวงสาธารณสุข มาอยู่ที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแล้ว จึงเห็นด้วยกับแผนงานสร้างพยาบาลชุมชนข้างต้น

ผมคิดต่อว่า คงดีมากเลยที่คนในชุมชนนั้นได้มีพยาบาลมาคอยตรวจสุขภาพ ให้คำแนะนำในการดำเนินชีวิต ที่เป็นลูกเป็นหลานของคนในชุมชนเอง เพราะสิ่งที่เป็น "สายใย" ของความเป็นเครือญาติจะมีมากกว่าการส่งพยาบาลจากคนพื้นที่อื่นเข้าไป

และหากในชุมชนมีการดูแลสุขภาพที่ดี ปริมาณคนที่จะเข้าไปใช้บริการที่โรงพยาบาลก็คงจะลดลงตามลำดับ หมอซึ่งมีน้อยก็จะมีเวลาดูแลคนป่วยมากขึ้น ปัญหาความผิดพลาดก็น้อยลง เป็นผลดีที่จะเกิดขึ้นตามมา   

หมายเลขบันทึก: 179480เขียนเมื่อ 29 เมษายน 2008 15:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 23:48 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท