Talent management 7 การนำเสนอกรมที่เชียงใหม่โดยการเน้นถึงการทำโดยไม่เพิ่มงาน


คนกรมเราทั้งเก่งและดีอยู่แล้ว

28-4-51

วันนี้ดิฉันมีโอกาสนำเสนอโครงการ Talent Management ที่กรมโดยพยายามสรุปสั้นๆโดยนำข้อมูลมาจากศาสตราจารย์นายแพทย์ประสิทธิ์ วัฒนาภาโรงพยาบาลศิริราชที่อาจารย์นายแพทย์อนุวัฒน์ได้สรุปไว้ให้ที่บล็อก

หลังจากนำเสนอโครงการซึ่งเริ่มงานมาตั้งแต่เดือนกค. 50 โดยมีการประชุม 3ครั้งและในปี51มีการประชุม2ครั้ง     มีโครงการคร่าวๆที่จะทำเพื่อให้เป็นตัวอย่างแก่หน่วยงานต่างๆ

ดิฉันนำเสนอว่าโครงการTMคืออะไร ทำอย่างไร มีประโยชน์อย่างไร  ปัจจัยแห่งความสำเร็จ CSF ความแตกต่างจากโครงการHRD  KM  Competency

   ที่สำคัญคือการทำโครงการคุณภาพที่ไม่ให้เพิ่มงานโดยกำหนดงานเป็นเป้าหมายและตัวอย่างที่เคยทำที่บำราศ   และที่ควรทำใจว่าการพิจารณาtalentหลังจากพัฒนาแล้วอาจจะไม่ได้ดั่งที่เราลงทุน    ต้องดูคนให้ดีๆ   เพราะบางคนอบรมมีความรู้แล้วแต่ให้ทำงานแล้วไม่สามารถเข้ากับหน่วยงานที่ต้องไปประสานได้   บางคนก็ไม่ให้เวลา   และอย่าลืมเรื่องการรักษา คนเหล่านี้ไว้

ดิฉันเคยอ่านของ การดูแลคนของ Google  BMW  ปตท  ปูนซิเมนต์ไทยจากหนังสือบ้างแต่ไม่กล้านำเสนอเพราะกลัวไปเผลอว่าองค์กรของเราเอง

มีผู้ให้ความเห็นคือหมอเพชรศรี     ให้ดูคนที่ไม่ใช่ talent ด้วยเนื่องจากกลัวความแตกแยก

หมอชวลิต ผู้ทรงคุณวุฒิ ให้ความเห็นว่า       อาจจะเป็นความฝันกลางวันหรือไม่   ไม่มีsuccesserที่จะมาทำเรื่อง STI ต่อเลย  

คุณหมอฉายศรีแนะนำว่า จะทำ KM ต้องสร้างองค์กรให้มีชีวิตชีวา      สนุกที่จะทำงาน

ที่สำคัญต้องสร้าง FA ก่อน

รองกิตติปลอบใจว่า     คนกรมเราทั้งเก่งและดีอยู่แล้ว           ไม่ต้องกลัวว่าจะไม่มีTalent 

 ท่านยกตัวอย่างที่มีหมอที่ทำงานในเอกชนในขณะเดียวกันก็มีหมอที่เสียสละทำงานในอำเภอต่างๆ

แต่ กรมจะ มาดูในรายละเอียดเรื่องTalent มากขึ้น

ดิฉันรีบกลับเพราะไม่อยากนอนดึกมาก

AAR

1สิ่งที่คาดหวัง   ทุกคนรู้จักโครงการและนำไปทำในหน่วยงานพร้อมทั้งเสนอโครงการที่น่าสนใจ

2สิ่งที่ได้มา   ดูทุกคนสนใจดีแต่ไม่แน่ใจว่าจะทำตามนโยบายหรือไม่   อาจไม่สามารถสื่อสารต่อได้

3 สิ่งที่ไม่ได้   เวลานำเสนอน้อย   ไม่มีเวลาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันเนื่องจากมีหลายเรื่องที่ต้องพิจารณา   ไม่มีเวลาดูแผนที่ดิฉันนำเสนอ

4 ถ้านำเสนอครั้งต่อไปและการดำเนินการต่อ

    รู้เวลาที่นำเสนอและทำสรุปให้ชัดเจนถึงสิ่งที่ผู้อำนวยการกองต้องนำไปแจ้งผู้ที่เกี่ยวข้องทราบต่อไป 

    ประสานกับคนที่เป็นพี่เลี้ยงหลักเพื่อดำเนินการโครงการให้เป็นตัวอย่าง

    สร้างขบวนการBAR และ AAR   รวมทั้งกำหนดให้มีหัวปลาที่ชัดเจนในโครงการTM และโครงการคุณภาพต่างๆของกรมโดยมีการ ลปรร กันมากขึ้น 

 

 

หมายเลขบันทึก: 179297เขียนเมื่อ 28 เมษายน 2008 21:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 23:47 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท