drug reconciliation


Medication Reconciliation (Drug Reconciliation)

 

                เนื่องจากแต่ละขั้นตอนของกระบวนการใช้ยามีความซับซ้อนและก่อให้เกิดปัญหาหลายประการที่อาจส่งผลเสียต่อผู้ป่วย  บ่อยครั้งปัญหาเหล่านี้  เกิดจากการขาดการติดต่อสื่อสารระหว่างทีมผู้ดูแลทางด้านสุขภาพหรือระหว่างทีมผู้ดูแลฯ  กับผู้ป่วย  และส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับการสั่งใช้ยา  ทำให้เกิดความคลาดเคลื่อนทางยา  และเพิ่มความเสี่ยงต่อผู้ป่วยในการเกิดเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์จากการใช้ยาด้วย  ซึ่งจะเกิดขึ้นในขั้นตอนของการรับผู้ป่วยการย้ายหอผู้ป่วย  และการจำหน่ายผู้ป่วยออกโรงพยาบาล

Medication Reconciliation หมายถึง กระบวนการจัดทำรายการการใช้ยา ของผู้ป่วยให้ครบถ้วนถูกต้องและต่อเนื่องตลอดการรักษา มีการระบุชื่อยา ขนาดยา ความถี่ และวิธีการใช้ยาของผู้ป่วยที่ได้รับก่อนเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลเปรียบเทียบกับรายการยาที่แพทย์สั่งในขั้นตอนของการรับ ส่งต่อ และ/ หรือจำหน่ายผู้ป่วยออกจากโรงพยาบาล โดยมีเป้าหมายเพื่อให้ผู้ป่วยได้รับยาที่ถูกต้อง ณ จุดที่มีการส่งต่อหรือเปลี่ยนการรักษา

กระบวนการ Medication Reconciliation

                ประกอบด้วย 3 ขั้นตอนหลัก  ดังนี้

1.     รวบรวมประวัติการใช้ยาที่ถูกต้องและสมบูรณ์ของผู้ป่วย  เพื่อจัดทำรายการการใช้ยา

2.     ตรวจสอบความถูกต้องของรายการยาและขนาดยาที่เหมาะสมสำหรับผู้ป่วย

3.     ตรวจสอบความแตกต่างของรายการยา โดยเปรียบเทียบรายการยาที่ผู้ป่วยเคยได้รับกับรายการยาที่แพทย์สั่ง  เมื่อมีการส่งต่อหรือเปลี่ยนระดับการรักษา  เช่น  การรับเข้า  ส่งต่อ  หรือจำหน่ายผู้ป่วยออกจากโรงพยาบาล  ในกรณีที่พบความแตกต่างจะต้องสอบถามแพทย์ว่า  เป็นความคลาดเคลื่อนทางยาหรือไม่  และต้องมีการประสานงานกับแพทย์เพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดจากความคลาดเคลื่อนทางยาของผู้ป่วยด้วย

 

I. การตรวจสอบความสอดคล้องต่อเนื่องของรายการยาในขั้นตอนการรับผู้ป่วย

                การตรวจสอบความสอดคล้องของรายการยาในขั้นตอนนี้  จัดเป็นขั้นตอนแรกของกระบวนการ medication reconciliation เริ่มจากการวบรวมประวัติและข้อมูลการใช้ยาของผู้ป่วยอย่างครบถ้วนในขั้นตอนการรับผู้ป่วย เพื่อให้แน่ใจว่า ผู้ป่วยจะได้รับยาทั้งหมดที่เคยได้รับก่อนการเข้ารักษาในโรงพยาบาล  ในขนาดยา  ความถี่  และวิธีการใช้ยาที่ถูกต้อง  โดยมีวิธีรวบรวมรายการยาในรูปแบบต่าง ๆ  เช่น  สัมภาษณ์ผู้ป่วยหรือญาติ  ตรวจสอบยาเดิมที่ผู้ป่วยนำมาด้วย  ดูจากบันทึกการใช้ยาของโรงพยาบาล  ทั้งนี้  ผู้มีหน้าที่รับผิดชอบในขั้นตอนนี้  ขึ้นกับการกำหนดบทบาทและหน้าที่ความรับผิดชอบของโรงพยาบาลแต่ละแห่ง  และบันทึกรายการยาที่รวบรวมได้ทั้งหมดลงในแบบฟอร์มที่สร้างขึ้นสำหรับเป็นเครื่องมือในการสื่อสารข้อมูลระหว่างทีมดูแลผู้ป่วย  หลังจากนั้นจะนำรายการยาที่รวบรวมได้มาเปรียบเทียบกับรายการยาที่แพทย์สั่ง  ถ้าพบความแตกต่าง  จะต้องสื่อสารกับแพทย์ผู้สั่งใช้เพื่อตรวจสอบว่า  เป็นความแตกต่างที่เกิดขึ้นโดยที่แพทย์ตั้งใจหรือไม่ตั้งใจ  และก่อให้เกิดความคลาดเคลื่อนทางยาหรือไม่

II. การตรวจสอบความสอดคล้องต่อเนื่องของรายการยาในขั้นตอนย้ายหรือส่งต่อผู้ป่วย

                ในขั้นตอนนี้จะทำโดยการเปรียบเทียบหาความแตกต่างของรายการยาที่ผู้ป่วยกำลังได้รับในปัจจุบันขณะที่อยู่ในโรงพยาบาลกับคำสั่งใช้ยาของแพทย์เมื่อย้ายไปยังหอผู้ป่วยอื่นซึ่งสิ่งที่สำคัญมากในขั้นตอนนี้  คือ  ความเหมาะสมของยาที่จำเป็นต้องใช้ยาต่อเนื่องขณะที่ผู้ป่วยอยู่ในโรงพยาบาลเช่นเดียวกับการประเมินรายการยาที่ผู้ป่วยเคยได้รับก่อนเข้ารักษาในโรงพยาบาลว่า  ผู้ป่วยมีความจำเป็นที่จะต้องใช้ยาต่อหรือไม่  ซึ่งกระบวนการรวบรวมและบันทึกประวัติการใช้ยาที่สมบูรณ์และถูกต้อง  เมื่อผู้เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล  ร่วมกับการตัดสินใจในการให้ยาที่ผู้ป่วยได้รับขณะอยู่บ้าน  และยาที่ได้รับในปัจจุบันขณะที่อยู่โรงพยาบาล  โดยตระหนักถึงภาวะทางคลินิกของผู้ป่วย  จะช่วยให้การตรวจสอบความสอดคล้องของรายการยา

 

III. การตรวจสอบความสอดคล้องต่อเนื่องของรายการยาในขั้นตอนการจำหน่ายผู้ป่วยออกจากโรงพยาบาล

                ควรมีการตรวจสอบความสอดคล้องของรายการยา 3 ประเภท  คือ

1.       รายการยาที่ผู้ป่วยได้รับก่อนเข้ารักษาในโรงพยาบาล  ซึ่งอาจมีการหยุดใช้  ปรับเปลี่ยนหรือใช้ต่อเมื่อผู้ป่วยเข้ารักษาในโรงพยาบาล

2.       รายการยาที่ผู้ป่วยใช้ภายใน 24 ชั่วโมง  ก่อนจำหน่ายออกจากโรงพยาบาล ซึ่งอาจเป็นยาชนิดใหม่ที่เริ่มใช้ขณะผู้ป่วยรักษาในโรงพยาบาล

3.       รายการยาที่แพทย์วางแผนให้ผู้ป่วยใช้ต่อเนื่อง  หลังจากจำหน่ายออกจากโรงพยาบาล  ซึ่งอาจเป็นยาชนิดใหม่ที่จะเริ่มใช้เมื่อจำหน่ายผู้ป่วยออกจากโรงพยาบาล  ซึ่งอาจเป็นยาชนิดใหม่ที่จะเริ่มใช้เมื่อจำหน่ายผู้ป่วยออกจากโรงพยาบาล

เครื่องมือช่วยในการตรวจสอบความสอดคล้องของรายการยา  อาจมีการพัฒนาแบบฟอร์ม

ในการจำหน่ายผู้ป่วย  ซึ่งคล้ายกับแบบฟอร์มในการรับหรือส่งต่อผู้ป่วย

บทสรุป

Medication Reconciliation เป็นกระบวนการที่เพิ่มความปลอดภัยในการใช้ยาของผู้ป่วยโดยสามารถป้องกันความคลาดเคลื่อนทางยา และเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์จากการใช้ยาของผุ้ป่วยในจุดที่มีการเปลี่ยนระดับการรักษา ซึ่งโรงพยาบาลแต่ละแห่งควรมีการพัฒนาและแนะนำกระบวนการนี้มาปฏิบัติในขั้นตอนการรับส่งต่อ และจำหน่ายผู้ป่วยออกจากโรงพยาบาล โดยมีเป้าหมาย เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับยาที่ถูกต้อง ณ จุดที่มีการเปลี่ยนระดับการรักษา

หมายเลขบันทึก: 179227เขียนเมื่อ 28 เมษายน 2008 15:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 11:24 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

สวัสดีค่ะ

- แวะมาเรียนรู้ด้วยคนค่ะ

เก็บเข้าแพลนเนตแล้วนะจ๊ะ

  • ดีจัง มีการทำทุกที่หรือยังคะเนี่ยะ
  • ยินดีต้องรับสู่ G2K และลานแลกเปลี่ยนเรียนรู้กรมอนามัยค่ะ

ขอบคุณที่แวะมาชมค่ะ....

ขอบคุณสำหรับความรู้ดี ๆ  จะนำไปประยุกต์ใช้กับงานเภสัชกรรมในหน่วยงานครับ

นพดล

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท