การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ๑๙: หลักสูตรปริญญาตรีทางเกษตรควรปรับอย่างไรในภาวะโลกร้อน


ต้องเริ่มแล้ว

คำถามที่น่าสนใจกี่ยวกับ "ภาวะโลกร้อน" ได้แก่

ชาวเกษตรรุ่น ๑๐ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น (รหัส 16 เข้าศึกษาในปี พ.ศ. 2516) หรือรุ่นต่าง ๆ ในสถาบันต่าง ๆ ของประเทศไทย จะทำอะไรได้บ้างเพื่อการเกษตรของครัวเรือนอีสาน ประชาชนไทย สังคม GMS และสังคมโลก ใน "ภาวะโลกร้อน"?

คิดว่าในระดับปัจเฉกบุคคลสามารถดำเนินการได้ดังนี้
1. แสดงและกล่าวให้สังคมรอบตัวเราเข้าใจว่าการเรียนการสอนในระดับปริญญาตรีสาขาวิทยาศาสตร์บัณฑิต (เกษตรศาสตร์) ในสมัย ๒๕๑๖-๒๕๒๐ นั้นได้ทำให้ส่วนตัวเราและส่วนรวมของเพื่อน ๆ มีความสำนึกต่อตัวเราและสังคมอย่างไร? และเราแต่ละคนได้ดำเนินการอย่างไรตามความสำนึกและความคิดนั้น


2. แสดงและกล่าวให้สังคมรอบตัวเราเข้าใจว่า ณ เวลาปัจจุบันนั้นเราใช้สำนึกดังกล่าวในการเปลี่ยนแปลงตัวเองและประกอบอาชีพอย่างไร และจะดำเนินการอย่างไรในส่วนตัวเพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลงในระดับสังคมตามแนวทางที่เราเชื่อว่ามีความมั่นคงต่อสังคม


3. แสดงตัวอย่างผลงานของแต่ละท่านตามที่กล่าวมาแล้วในข้อ 1 & 2  ข้างต้น

==============>>>

อรรถชัย, เชียงใหม่

อ่านทั้งชุด

หมายเลขบันทึก: 179097เขียนเมื่อ 27 เมษายน 2008 23:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 เมษายน 2012 07:56 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

บางคนให้ข่าวแบบว่า

"น้ำจะท่วมกรุงเทพ >๑๐ เมตร ในไม่เกิน ๑๐ ปีข้างหน้า

ผมเป็นคนไม่รู้เรื่อง ฟังแล้วก็รู้สึก "ขำ" มากกว่าจะเชื่อ

จึงอยากให้ช่วยวิจารณ์เพื่อล้างความเชื่อแบบ "Scientific fantasia" หน่อยได้ไหม

อยากรู้จริงๆ

แต่ไม่อยากฟังแบบ "เพ้อฝัน" สร้างข่าวหาทุนวิจัย หรืออะไรประมาณนั้น

ขอบคุณล่วงหน้าครับ

๑. สวัสดีครับอาจารย์

๒. น้ำจะท่วม กทม. > ๑๐ เมตร ไม่เกิน ๑๐ ปีข้างหน้า (๒๐๑๘) น่าจะเกินไปหน่อย

IPCC SRES ทั้ง ๖ scenarios คาดการณ์ว่าระดับน้ำทะเลจะเพิ่มขึ้นระหว่าง 0.18-0.59 เมตร ในปี ๒๐๙๐ - ๒๐๙๙

B1 scenario 0.18 - 0.38

A1T scenario 0.20 - 0.45

B2 scenario 0.20 - 0.43

A1B scenario 0.21 - 0.48

A2 scenario 0.23 - 0.51

A1FI scenario 0.26 - 0.59

แต่เขียนกำกับว่า Model-based range excluding future rapid dynamical changes in ice flow ซึ่งเป็นตัวแปรสำคัญเพราะ หากน้ำแข็งที่ขั้วโลกเหนือและใต้ ละลายในอัตราที่เร็วกว่านี้ย่อมส่งผลต่อ การคาดการณ์

ผมคิดว่าเรา (ประเทศไทย) ควรศึกษาให้เข้าใจว่าหากเกิดขึ้นจริงจะมีผลกระทบของ เหตุการณ์และเราจะช่วยกันปรับตัวอย่างไร ต้องเริ่มเก็บข้อมูลของบ้านเราเองมากขึ้น ให้สาธารณะชนเข้าใจมากขึ้น

น่าจะดี

ขอบคุณครับ

ผมว่าน่าจะเป็นไปได้ อีก ๑๐๐ ปี

แค่นี้ ผมว่าน้อยไปด้วยซ้ำ

แล้วทำไมคนถึงตกอกตกใจกันเหลือเกิน

มันน่ากลัวตรงไหน เร็วกว่านี้ สักปีละนิ้ว ก็ยังไม่น่ากล้วเท่าไหรเลย

ช่วยอธิบายให้ผม "กลัว" หน่อยได้ไหมครับ

ป.ล. ผมจะอยู่ในโลกนี้อีกไม่เกิน ๔๐ ปี แต่คาดว่าสักประมาณ ๓๐ ปี ไม่คิดว่าจะอยู่อีกเป็นร้อยปีเหมือนคนอื่นๆหรอกครับ

๑. ไม่จำเป็นต้องกลัว แต่มีความระมัดระวัง

๒. ความกลัวไม่ได้มาจากเรื่องของน้ำทะเลจะเพิ่มระดับขึ้น เพียงอย่างเดียว

๓. แต่ความกลัวมาจากผลกระทบของภาวะโลกร้อนที่มีต่อด้านอื่น ๆ ของการดำรงชีพ

๔. บางส่วนของโลกเริ่มได้รับผลกระทบแล้วในปัจจุบัน ไม่ต้องรอ ๑๐๐ ปี ครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท