ยาลดความอ้วน


ตัวตนที่แท้จริงของยาลดความอ้วนในปัจจุบัน
วันนี้เข้าไปเจอเรื่องหนึ่งดีมากเลย ..เพราะตัวเองอยากผอม..เลยเอามาฝาก..ค่ะ.. ตัวตนที่แท้จริงของยาลดความอ้วนในปัจจุบัน ยาลดความอ้วนที่ใช้มีอยู่หลายประเภท ซึ่งแต่ละประเภทก็มีคุณสมบัติและความเหมาะสมในการใช้แตกต่างกันไป ในเรื่องนี้เภสัชกรวิโรจน์ สุ่มใหญ่ ผู้อำนวยการกองควบคุมวัตถุเสพติด สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข ได้ให้ข้อมูลโดยแบ่งยาลดความอ้วนออกเป็นชนิดต่างๆ ดังต่อไปนี้ ยาที่ทำให้ไม่อยากอาหาร ยาในกลุ่มนี้ ได้แก่ อนุพันธ์ของแอมเฟตามีน หรือที่รู้จักกันโดยทั่วไป ก็คือ กลุ่มของยาบ้า ซึ่ง อย.อนุญาตให้นำเข้ายาที่ใช้ลดความอ้วน 4 ชนิด คือ Diethylpropion, D-norpseudoephedrine, Phenylpropanolamine และ Phentermine ยากลุ่มนี้จะออกฤทธิ์ที่สมองส่วนไฮโปทาลามัสบริเวณ ที่เป็นศูนย์ควบคุมการกินอาหาร ทำให้รู้สึกเบื่ออาหาร และรับประทานอาหารได้น้อยลง การที่ร่างกายได้รับอาหารน้อยลง หรือได้รับพลังงานน้อยกว่าพลังงานที่ร่างกายต้องการใช้ ร่างกายก็จะไปดึงเอาพลังงานที่สะสมอยู่ในรูปของไขมันตามส่วนต่างๆ ของร่างกายออกมาใช้ ส่งผลให้น้ำหนักของร่างกายลดลง หรือผอมลงได้ อย่างไรก็ตาม ยากลุ่มนี้จัดเป็นวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท ประเภทที่ 2 ซึ่งห้ามจำหน่ายในร้านขายยาและสถานที่ทั่วไป ทั้งนี้ เนื่องจากมีข้อเสียคือ ทำให้เกิดอาการข้างเคียงต่อผู้ใช้ได้ เช่น มีอาการนอนไม่หลับ มือสั่น ใจสั่น กระสับกระส่าย หงุดหงิด ปวดศีรษะ มึนงง ปากแห้ง หัวใจเต้นเร็ว ความดันโลหิตสูง เป็นต้น นอกจากนั้น ยังมีข้อจำกัดสำหรับผู้ใช้บางราย ที่มีการใช้ยารักษาโรคประจำตัวร่วม เช่น โรคปวดหัวไมเกรน หรือผู้ที่มีแนวโน้มว่าจะติดยาอยู่แล้ว รวมทั้งผู้ที่มีอาการซึมเศร้าและผู้ที่มีอาการเครียดทางอารมณ์สูงอยู่แล้ว สิ่งที่ต้องคำนึงถึงในการใช้ยากลุ่มนี้ คือ ผลข้างเคียงของยา อาจจะเกิดกับผู้ใช้ มากหรือน้อย โดยไม่สามารถระบุได้ชัดเจน อีกทั้งพบว่า ผู้ที่ใช้ยากลุ่มนี้ได้ผล สามารถใช้ยาได้ประมาณ 12 สัปดาห์ และหากไม่จำเป็น แพทย์จะให้ลดปริมาณยาลง จนกระทั่งเลิกใช้ เพราะการใช้ยาเป็นระยะเวลานาน อาจไม่ได้ผลในการลดน้ำหนักลงอีก แต่จะเกิดการติดยาแทนได้ และที่สำคัญ การใช้ต้องอยู่ภายใต้คำสั่งแพทย์เท่านั้น ยาขับน้ำ หรือยาขับปัสสาวะ ยาในกลุ่มนี้ จะออกฤทธิ์ขับน้ำออกจากร่างกาย ทำให้ปัสสาวะบ่อย และปริมาณมากขึ้น จึงทำให้น้ำหนักลดลงอย่างรวดเร็ว นิยมใช้ในกลุ่มนักมวย ที่ต้องการลดน้ำหนัก ให้เท่าพิกัดในระยะเวลาสั้น โดยปกติแล้วแพทย์จะใช้รักษาผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง หรือภาวะที่ร่างกายบวมน้ำ เนื่องจากไม่สามารถขับน้ำ ปัสสาวะออกเองได้ตามปกติ ผู้ที่ใช้ยานี้เป็นระยะเวลานาน จะสูญเสียเกลือแร่และน้ำ ออกไปทางปัสสาวะมาก อาจทำให้เกิดอาการอ่อนเพลียไม่มีเรี่ยวแรง กระหายน้ำ คอแห้ง ปากแห้ง เป็นต้น สิ่งที่ควรคำนึงถึงอีกประการหนึ่งคือ ยากลุ่มนี้ไม่ได้มีผลทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของปริมาณไขมันในเนื้อเยื่อของร่างกายแต่อย่างใด จึงไม่สามารถใช้ เพื่อลดน้ำหนักในระยะยาวได้ เพราะหากผู้นั้นดื่มน้ำเข้าไป น้ำหนักที่ลดลงไป ก็จะกลับมาเหมือนเดิม จึงถือว่ายากลุ่มนี้ไม่ควรใช้ในการลดความอ้วน ยาฮอร์โมน ยากลุ่มนี้คือ ธัยรอยด์ฮอร์โมน ซึ่งแม้ว่าจะมีผลให้ผู้ใช้เกิดอาการเบื่ออาหาร แต่จะทำให้การหลั่งของธัยรอยด์ฮอร์โมนตามธรรมชาติผิดปกติ และมีผลกระตุ้นหัวใจ ตับ ทำให้ร่างกายเผาผลาญพลังงานมากขึ้นและมีผลให้น้ำหนักตัวลดลงได้ อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ควรคำนึงถึงคือ การใช้ยาในปริมาณมาก จะทำให้เกิดอาการข้างเคียง คือ ใจสั่น เหงื่อออกมาก รวมทั้งอาจมีอาการ คล้ายกับคนที่เป็นโรคธัยรอยด์เป็นพิษ ยาระบายหรือยาถ่าย ยากลุ่มนี้มีหลายชนิด ทั้งที่อยู่ในรูปของยาเม็ดและยาน้ำ บางชนิดจะออกฤทธิ์กระตุ้นลำไส้ บางชนิดจะทำให้อุจจาระอ่อนตัว หรือเพิ่มปริมาณอุจจาระทำให้ถ่ายมากหรือบ่อยขึ้น โดยหลังจากรับประทานยาแล้วจะรู้สึกอยากถ่าย และอุจจาระค่อนข้างเหลว ซึ่งจะเหมาะกับผู้ที่มีอาการท้องผูก ถ่ายยาก สิ่งที่ควรคำนึงในการใช้ คือ ไม่ควรใช้บ่อยๆ หรือใช้เป็นระยะเวลานาน เพราะมีผลทำให้ร่างกายเสียน้ำและเกลือแร่มาก ซึ่งการสูญเสียน้ำและเกลือแร่ของร่างกาย จะทำให้เกิดผลเสียต่อร่างกายอย่างมาก นอกจากนี้ อาจเกิดอาการข้างเคียงซึ่งจะแตกต่าง ตามแต่ชนิดยาในภายหลังได้ รวมทั้งอาจทำให้ระบบขับถ่าย ในร่างกายเสียสมดุล และเกิดความผิดปกติได้ ยาลดกรด ยาลดกรดที่นิยมใช้ทั่วไปจะประกอบด้วยเกลืออลูมิเนียม ซึ่งมีฤทธิ์เป็นด่าง โดยจะออกฤทธิ์เร็ว เป็นระยะเวลาสั้น ไปทำลายการทำงานของน้ำย่อย ที่เป็นกรดในกระเพาะอาหาร และทำให้กระเพาะอาหารบีบตัวน้อยลง จึงไม่รู้สึกหิว ยาในกลุ่มนี้แพทย์ใช้เพื่อรักษาผู้ป่วยที่เป็นโรคกระเพาะอาหาร และลดอาการปวดท้องที่เกิดจากน้ำย่อยในกระเพาะอาหาร สิ่งที่ควรคำนึงถึงคือ การที่ยามีฤทธิ์ทำลายการทำงาน ของน้ำย่อยอาหาร และดูดซึมเข้าสู่ร่างกายน้อยลง ซึ่งอาจส่งผลให้ร่างกายขาดสารอาหารที่จำเป็นได้ นอกจากนี้ ี้ยังอาจเกิดอาการข้างเคียงอื่นจากการใช้เป็นประจำ เช่น ท้องผูก ท้องเดิน และอาการอื่นๆ ตามแต่ชนิดของยา จาก ผู้จัดการ 20 พ.ค.2547
หมายเลขบันทึก: 179087เขียนเมื่อ 27 เมษายน 2008 22:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 08:46 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

สวัสดีครับคุณครู คนมันสวย..

  • เรื่องยาลดความอ้วน  ...ครูสุขอบาย เพราะเกิดผลข้างเคียงกับตัวเองมาก และเหมือนเอาชีวิตเราไปเสี่ยงครับ
  • ครูสุคิดว่าจะลดความอ้วนด้วยการอด และออกกำลังกาย ครับ  ไม่ผอมก็ช่างมันครับ
  • ขอแนะนิดหนึ่ง เพิ่มขนาดตัวอักษรสักหน่อยสิครับ จะได้อ่านง่ายขึ้น
  • ขอบคุณครับ
  • กำลังจะตัดสินใจใช้ ยาพอดี เพราะธัยรอยด์เป็นพิษ แบบ hipo อ้วนจัง อ้วนจนเบื่ออะ
  • งั้น ยาลดความอ้วนที่ช่วยในการเผาผลาญไขมันจริงๆ ก็ไม่มีสินะ มีแต่ลดหิว ขับน้ำ
  • แล้วอาหารเสริมประเภท ลดอ้วน ล่ะมาจากยาประเภทไหน
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท