ความรู้ที่ยั่งยืน


รู้แล้วไม่ล้ม

ความรู้ที่ยั่งยืน ต้องไม่ฝืนใจที่จะใฝ่รู้ รู้ที่จะเพิ่มความกว้าง ยาว และลึก รู้ที่จะเพิ่มมูุมที่เรายังมองไม่ชัด ไม่เต็มตา และไม่เต็มใจ

หมายเลขบันทึก: 177561เขียนเมื่อ 19 เมษายน 2008 12:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 มิถุนายน 2012 21:19 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

พระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี (บุญถึง)[1] หรือที่รู้จักกันดีทั่วไปในนามปากกา "ว.วชิรเมธี" เกิดเมื่อวันที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2516 บรรพชาเป็นสามเณร เมื่อวันที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2530 ณ พัทธสีมาวัดครึ่งใต้ ตำบลครึ่ง อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย โดยมีพระครูโสภณจริยกิจ เจ้าคณะอำเภอเชียงของ เป็นพระอุปัชฌาย์ ต่อมาได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุสงฆ์ เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2537 ณ พัทธสีมาวัดครึ่งใต้ โดยมีพระสุนทรปริยัติวิธาน เจ้าคณะจังหวัดเชียงราย เป็นพระอุปัชฌาย์ ปัจจุบันพระมหาวุฒิชัยจำพรรษาอยู่ที่วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม กรุงเทพมหานคร[2]

พระมหาวุฒิชัย เป็นพระนักวิชาการ นักคิดนักเขียนพระพุทธศาสนารุ่นใหม่ เป็นนักปฏิบัติธรรม และนักบรรยายธรรมที่ผลิตผลงานออกมาในรูปสื่อโทรทัศน์ และหนังสือออกมาอย่างสม่ำเสมอในยุคปัจจุบัน ผลงานที่เป็นที่รู้จักกันดีคือ การประพันธ์บทละครโทรทัศน์และหนังสือเรื่อง "ธรรมะติดปีก" และเพลงประกอบละครธรรมะมากมาย จนได้รับพระราชทานรางวัลเสาเสมาธรรมจักร จากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารีฯ ในงานสัปดาห์พระพุทธศาสนาวิสาขบูชาประจำปี ๒๕๕๐

พระเจ้าอโศกมหาราช กับพระพุทธศาสนา

ก่อนที่จะเปลี่ยนมานับถือพุทธศาสนา มีความดุร้ายและโหดเหี้ยมเป็นอย่างยิ่ง จนได้รับฉายาว่า จัณฑาโศก แปลว่าอโศกผู้ดุร้าย ต่อมาเมื่อไปรบที่แคว้นกาลิงคะ (ปัจจุบันอยู่รัฐโอริสสา)มีผู้บาดเจ็บล้มตายจำนวนมาก จึงเกิดความสลดสังเวชในบาปกรรม และตั้งใจแสวงหาสัจธรรมและพบนิโครธสามเณรที่มีกิริยามารยาทสงบเรียบร้อย จึงทรงนิมนต์พระนิโครธโปรดแสดงธรรม พระนิโครธก็แสดงธรรม จึงมีความเลื่อมใสในพุทธศาสนาอย่างแรงกล้า ต่อมาได้ฟังพระธรรมจากพระสมุทระทรงส่งกระแสจิตตามพระธรรมเทศนาจนบรรลุพระโสดาบัน พระองค์ทรงทำนุบำรุงพุทธศาสนา เช่น ทรงสร้างวัด วิหาร พระสถูป พระเจดีย์ หลักศิลาจารึก มหาวิทยาลัยนาลันทา ทรงเป็นกษัตริย์พระองค์แรกที่ทรงผนวชขณะที่ยังทรงครองราชย์อยู่ และเลิกการแผ่อำนาจในการปกครอง มาใช้หลักพุทธธรรม(ธรรมราชา)ปกครอง นอกจากนี้พระเจ้าอโศกมหาราชยังทรงส่งสมณะทูตไปเผยแพร่ศาสนา โดยแบ่งเป็น 9 สาย สายที่ 8 มาเผยแพร่ที่ สุวรรณภูมิ โดยพระโสณะและพระอุตระเป็นสมณะทูต และพระองค์เป็นผู้จัดการสังคายนาพระไตรปิฎกครั้งที่3 ณ วัดอโศการาม เมืองปาฏลีบุตร

ต่อมาก็ทรงโปรดเกล้าให้สร้างบ่อน้ำ ที่พักคนเดินทาง โรงพยาบาล และปลูกต้นไม้ เพื่อจัดสาธารณูปโภคและสาธารณ ตามหลักพุทธธรรม ต่อจากนั้นก็เสด็จไปพบสังเวชนียสถาน4แห่ง เป็นผู้แรก และทรงสถาปนาให้เป็นเป็นสถานที่สักการะบูชาของพุทธศาสนิกชนในเวลาต่อมา นับว่าพระองค์เป็นอัครศาสนูปถัมภ์พระพุทธศาสนาอย่างแท้จริง และต่อมาพระองค์ทรงได้สมญานามว่า ธรรมมาอโศก แปลว่า อโศกผู้ทรงธรรม ทรงครองราชย์ได้43ปี

ความรู้คือวิชา ดังนั้นมนุษย์มีเวลาเท่ากันแต่ใครบ้างที่สร้างจินตนการเพื่อให้มีเวลานำความรู้มาประยุกต์ใช้ ใช่หรือไม่

อันความรู้ รู้กระจ่าง แต่อย่างเดียว ขอให้เชี่ยวชาญเถิดจะเกิดผล

"ความรู้ที่ยั่งยืน ต้องไม่ฝืนใจที่จะใฝ่รู้ รู้ที่จะเพิ่มความกว้าง ยาว และลึก รู้ที่จะเพิ่มพูนที่เรายังมองไม่ชัด ไม่เต็มตา และไม่เต็มใจ"

ความรู้ เป็นการนำเอาการพูด การคุย การฟัง การเขียน ไปวิเคราะห์/สังเคราะห์ แล้วได้สิ่งที่เป็นเหตุเป็นผลกัน นำไปปฏิบัติก็เกิดผล จนสาธารณะชนยอมรับ ... ฝืนใจ หรือไม่? ที่จะรู้ไม่แน่ใจ เพราะขนาดพระไตรปิฏก ของพุทธศาสนา ซึ่งเป็นความรู้ที่ประจักษ์แจ้งแล้วมีมาแล้ว ไม่น้อยกว่า 2,500 ปี คนไทยเองก็ไม่ฝืนใจจะรู้

พระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า พระองค์จะมาสอนล้อเล่นกับพวกเราหรือ?....

แค่จะอ่านยังไม่สนใจเลยครับ...แล้วจะไปรู้กว้าง รู้ลึก ได้อย่างไร?

และจะไปทำความรู้ (KM) ให้เพิ่มพูนได้อย่างไร? ที่จะทำให้ไม่ชัด ให้ชัด ที่มองไม่เห็น ให้เห็น และที่ไม่เต็มใจ ให้เต็มใจ ....ผมว่ายากครับ เพราะทุกคนไม่ใฝ่รู้ครับ...

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท