โลกร้อน (2.3.0)


ต่อจากบันทึก โลกร้อน (2.2) โลกร้อน (2.1) และ โลกร้อน (2)

เพราะว่าสถานการณ์โลกร้อนที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน เกิดมาจากเหตุในอดีต

...ถ้าอพยพคนทั้งหมดไปไว้โลกอื่นทันทีเดี๋ยวนี้ โลกร้อนก็ยังมีปัญหาอยู่ อธิบายด้วยกฏการอนุรักษ์พลังงาน ว่ายังมีพลังงานของดวงอาทิตย์ที่แผ่ให้กับโลกสะสมเพิ่มขึ้นทุกวันๆ

ดังนั้น หากจะย้อนผลกลับไปสู่จุดสมดุลย์อีกที เรากลับต้อง "ทำ" มากกว่าแค่ "หยุด" แล้วนะครับ

เพื่อย้อนกระบวนการโลกร้อนกลับ นอกจากจะต้องหยุดสร้างก๊าซเรือนกระจกแล้ว ก็ยังจะต้องพยายามกำจัดก๊าซเรือนกระจกออกจากบรรยากาศด้วย ก่อนที่โลกจะเดินไปสู่หายนะแบบดาวศุกร์

ถ้าจะทำให้เกิดผลมากที่สุด น่าจะต้องทำอะไรบางอย่างเกี่ยวกับการดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ที่ผิวมหาสมุทร เพราะมหาสมุทรมีพื้นที่ถึง ¾ ของพื้นที่ผิวโลก (อาจารย์วิบุลให้ข้อมูลไว้ในความเห็นที่ 10 และคำอธิบายกระบวนการในความเห็นที่ 12 -- ใช้ไฟฟ้าสร้าง Ca(OH)2 เพื่อให้ไปจับคาร์บอนไดออกไซด์ที่ละลายอยู่ที่ผิวมหาสมุทร ให้กลายเป็นหินปูน CaCO3 แล้วตกตะกอนลงสู่ก้นมหาสมุทร) แต่การทำอย่างนั้นจะใช้พลังงานมหาศาล และอาจเปลี่ยนชีวเคมีของมหาสมุทร เป็นอันตรายต่อสัตว์น้ำ ยังไม่มีแนวทางปฏิบัติที่เหมาะสม แม้ว่าความคิดนี้น่าสนใจมาก

การฟื้นฟูป่าเสื่อมโทรม

การฟื้นฟูป่าเสื่อมโทรม เป็นวิธีที่อาจทำได้ ถึงจะไม่ง่ายและจะต้องอาศัยเวลายาวนาน มนุษย์ใช้ประโยชน์จากป่าตลอดมาตั้งแต่ดึกดำบรรพ์ จนมาถึงยุคปัจจุบัน

ในส่วนของเมืองไทย เราทำลายป่าได้อย่างมีประสิทธิภาพมาก ที่จริงแล้ว เราอยู่ร่วมกับป่าได้โดยไม่ต้องทำลาย [แนวพระราชดำริเรื่องการป่าไม้]

เศรษฐกิจพอเพียงกับความยั่งยืนของชุมชน

แนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับการพัฒนาและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

นอกเหนือไปจากการให้ความสำคัญอย่างยิ่งยวดกับเรื่องของดินและน้ำแล้ว แนวคิดและทฤษฎีของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในโครงการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระ ราชดำรินั้น ยังคำนึงถึงความสอดคล้องเกื้อกูลกันระหว่างการพัฒนาและการอนุรักษ์ทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างเคร่งครัดมาโดยตลอด ความเข้าใจถ่องแท้ถึงธรรมชาติและสภาวะตามธรรมชาติ ตลอดจนความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติของพระองค์นั้นทำให้เกิดแนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นของทรัพยากรป่าไม้ และเรื่องของการอนุรักษ์สภาพแวดล้อมในด้านต่าง ๆ ซึ่งในส่วนแรกนี้ ตัวอย่างที่พอจะแสดงให้เห็นเป็นสังเขปคือ

ป่า 3 อย่าง ป่าไม้ 3 อย่างเป็นแนวคิดของการผสมผสานความต้องการในการอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยกรป่าไม้ ควบคู่ไปกับความต้องการด้านเศรษฐกิจและสังคม กล่าวคือ เพื่อป้องกันมิให้เกษตรกรเข้าบุกรุกทำลายป่าไม้ เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ จึงควรให้ดำเนินการปลูกป่า 3 อย่าง เพื่อประโยชน์ 4 อย่าง คือ ป่าสำหรับเป็นเชื้อเพลิง ป่าหรือสงวนป่าเหล่านี้ นอกจากเป็นการเกื้อกูลและอำนวยประโยชน์ใน 3 อย่าง นั้นแล้ว ป่าไม้ไม่ว่าจะเป็นชนิดใด ก็จะอำนวยประโยชน์ในการอนุรักษ์ดินและน้ำ และคงความชุ่มชื้นเอาไว้ อันเป็นการอำนวยประโยชน์ อย่างที่ 3 ซึ่งเป็นผลพลอยได้

"ปลูกป่าโดยไม่ต้องปลูก" ก็เป็นอีกตัวอย่างหนึ่งที่สะท้อนให้เห็นความเข้า พระทัยอย่างลึกซึ้งถึงวิธีแห่งธรรมชาติ โดยที่ได้พระราชทานแนวคิดว่าบางครั้งป่าไม้ก็เจริญ เติบโตขึ้นเองตามธรรมชาติขอเพียงอย่าเข้าไปรบกวนและทำลายโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ หากปล่อยไว้ตามสภาพ ธรรมชาติชั่วระยะเวลาหนึ่งป่าไม้ก็จะขึ้นสมบูรณ์เอง การระดมปลูกป่าด้วยความไม่เข้าใจ เช่น ปอกเปลือกหน้าดินซึ่งมีคุณค่ามากออกไป และปลูกพันธุ์ไม้ซึ่งไม่เหมาะสมกับสภาพท้องถิ่นและระบบนิเวศน์บริเวณนั้น นอกจากต้นไม้ที่ปลูกไว้จะตายโดยไม่ได้ประโยชน์แล้วยังทำลายสภาพแวดล้อมอีกด้วย แนวความคิดที่ลึกซึ้งนี้ จึงเป็นที่มาของคำว่า "ปลูกป่าโดยไม่ต้องปลูก" ซึ่งเป็นที่ยึดถือกันในหมู่ผู้รู้ทั่วไป

"ฝายชะลอความชุ่มชื้น" (Check Dam) ก็เป็นอีกแนวคิดหนึ่งที่เกิดจากพระปรีชาสามารถอันยิ่งใหญ่ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ได้ทรงคิดค้นขึ้นเพื่อเป็นวิธีการในการสร้างความ ชุ่มชื้นให้กับพื้นที่ป่าไม้ด้วยวิธีง่าย ๆ ประหยัด และได้ผลดี นั้นคือการสร้างฝายเล็ก ๆ ให้สอดคล้องไปกับสภาพธรรมชาติ โดยการใช้วัสดุธรรมชาติที่หาได้ง่ายในท้องถิ่น ฝายชะลอความชุ่มชื้น (check dam) มีอยู่ 2 ประเภทคือ ฝายต้นน้ำลำธาร สำหรับกักกระแสน้ำไว้ให้ไหลช้าลง และสามารถซึมลงใต้ผิวดินเพื่อสร้างความชุ่มชื้นในบริเวณนั้น และอีกประเภทหนึ่งคือ ฝายดักตะกอนดินและทรายมิให้ไหลลงสู่แหล่งน้ำเบื้องล่างฝายทั้ง 2 ประเภทสามารถสร้างความชุ่มชื้นและชะลอความชุ่มชื้นและอนุรักษ์ป่าไม้ได้อย่างมีประสิทธิภาพดียิ่ง ดังตัวอย่างที่ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้ อำเภอดอยสะเก็ต จังหวัดเชียงใหม่ เป็นต้น

แนวคิดและทฤษฎีที่สำคัญในด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอีกประการหนึ่งก็คือ ทฤษฎีในการแก้ไขปัญหาความแห้งแล้งและการขาดแคลนน้ำเพื่อเกษตรกรรม โดยการดำเนินการ ตามแนว "ทฤษฎีใหม่" อันเป็นการใช้ประโยชน์จากพื้นที่ซึ่งมีอยู่จำกัดให้ก่อประโยชน์สูงสุด ขณะเดียวกันก็มีน้ำไว้ใช้ตลอดปี เป็นการอำนวยประโยชน์ต่อทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และการพัฒนาคุณภาพสิ่งแวดล้อมโดยทั่วไปด้วย

"ทฤษฎีใหม่" อันเกิดจากพระปรีชาสามารถ และพระอัจฉริยภาพของพระองค์นั้น มีหลักสำคัญง่าย ๆ ไม่สลับซับซ้อน สรุปได้ว่า พื้นที่ถือครองโดยถัวเฉลี่ยของเกษตรกรไทยอนุมานว่าจะมีเนื้อที่ประมาณ 15 ไร่ แบ่งพื้นที่ตามวิธีการทฤษฎีใหม่จะเป็นนาข้าว 5 ไร่ พืชไร่ พืชสวน 5 ไร ที่อยู่อาศัยและอื่น ๆ 2 ไร่ สระน้ำ 3 ไร่ (ลึกประมาณ 4 เมตร) จุน้ำได้ประมาณ 19,000 ลูกบาศก์เมตร หรือสูตร 30-30-30-10

ในที่นี้ใคร่ขอนำแนวคิดเรื่องทฤษฎีใหม่ที่ได้พระราชทานรายละเอียดเมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2537 มาเพื่อเป็นการอธิบายความให้ชัดเจน ดังนี้

ถ้าพูดอย่างสรุปที่สุด เป็นวิธีปฏิบัติของเกษตรกรที่เป็นเจ้าของที่ดินจำนวนน้อย แปลงเล็ก (ประมาณ 15 ไร่) ซึ่งเป็นอัตราถือครองโดยเฉลี่ยของเกษตรกรโดยทั่ว ๆ ไป

หลักสำคัญ : ให้เกษตรกรมีความพอเพียงโดยเลี้ยงตัวเองได้ (Self Sufficiency) ในระดับที่ประหยัด

มีการผลิตข้าวบริโภคพอเพียงประจำปี โดยถือว่าครอบครัวหนึ่งทำนา 5 ไร่ จะมีข้าวพอกินตลอดปี ข้อนี้เป็นหลักสำคัญของทฤษฎีนี้

เพื่อการนี้จะต้องใช้หลักเกณฑ์เฉลี่ยว่าต้องมีน้ำใช้ระหว่างช่วงฤดูแล้งประมาณ 1,000 ลูกบาศก์เมตร ต่อ 1 ไร่ หากแต่ละแปลงเกษตรมีเนื้อที่ 5 ไร่ และแบ่งตามสัดส่วน 30-30-30-10 จะมีพื้นที่การเกษตรที่ต้องการน้ำอยู่ 2 ส่วนใหญ่ ๆ คือ

นาข้าว 5 ไร่ จึงต้องมีน้ำ 5 X 1,000 = 5,000 ม.3

พืชไร่ หรือไม้ผล 5 ไร่ จึงต้องมีน้ำ 5 X 1,000 = 5,000 ม.3

รวม 10,000 ม.3

ฉะนั้นจึงมีความจำเป็นต้องมีน้ำสำรองไว้หน้าแล้ง โดยเฉลี่ยประมาณ 10,000 ม.3 จึงได้ตั้งสูตรคร่าว ๆ ว่า แต่ละแปลงประกอบด้วย

สระน้ำเนื้อที่ 3 ไร่ ขุดลึก 4 เมตร จะมีน้ำจุได้ประมาณ 19,000 ม.3

ที่อยู่อาศัยและอื่น ๆ 2 ไร่

นาข้าว 5 ไร่

พืชไร่ พืชส่วน 5 ไร่

รวมทั้งแปลงเนื้อที่ 15 ไร่

อุปสรรคสำคัญที่สุดคือ อ่างเก็บน้ำหรือสระที่มีน้ำเค็ม และได้รับน้ำให้เต็มเพียง ปีละหนึ่งครั้งในหน้าฝน และจะมีการระเหยวันละ 1 เซนติเมตร โดยเฉลี่ยในวันที่ไม่มีฝนตก หมายความว่า ในปีหนึ่งถ้านับว่าฝนไม่ตก 300 วัน ระดับของสระจะลดลง 3 เมตร (ในกรณีนี้ ¾ ของ 19,000 ลูกบาศก์เมตร น้ำที่ใช้จะเหลือ 4,750 ลูกบาศก์เมตร) จึงต้องมีการเติมน้ำเพื่อให้เพียงพอ

ด้วยเหตุนี้ หากจะให้ทฤษฎีสมบูรณ์สระน้ำทำหน้าที่อย่างมีประสิทธิภาพ และเต็มความสามารถ ก็มีความจำเป็นต้องมีแหล่งน้ำใหญ่มาคอยเติม เปรียบเสมือนมีแทงก์น้ำใหญ่มาคอยเติมตุ่มน้ำเล็กให้เต็มอยู่เสมอ ในกรณีของโครงการวัดมงคลชัยพัฒนา จังหวัดสระบุรี จึงมีการสร้างอ่างเก็บน้ำห้วยหินขาว โดยมี ความจุ 800,000 ลูกบาศก์เมตร ซึ่งถ้าใช้วิธีจ่ายน้ำเข้าแปลงตามแบบเดิมจะเลี้ยงพื้นที่การเกษตรได้เพียง 600 - 800 ไร่ แต่ถ้าใช้ทฤษฎีใหม่จะเลี้ยงพื้นที่ได้ถึง 3,000 ไร่ หรือ 5 เท่า ลำพังอ่างเก็บน้ำ 800 ,000 ลูกบาศก์เมตร จะเลี้ยงได้ 800 ไร่ (โครงการวัดมงคลฯ มีพื้นที่ 3,000 ไร่ แบ่งเป็น 200 แปลง) อ่างนี้เลี้ยงได้ 4 ไร่ ต่อแปลง ลำพังสระเลี้ยงได้ 4.75 ไร่ (4.755+4 ไร่ = 7.75 ไร่) จึงเห็นได้ว่า หมิ่นเหม่มาก แต่ถ้าคำนึงว่า 8.75 ไร่นั้น จะทำเกษตรกรรมอย่างสมบูรณ์ได้อีก 6.24 ไร่ จะต้องอาศัยเทวดาเลี้ยง แต่ถ้าคำนึงว่าในระยะที่ไม่มีความจำเป็นที่จะใช้น้ำหรือมีฝนตก น้ำฝนที่ตกมาจะเก็บไว้ได้ในอ่างและสระสำรองไว้สำหรับเมื่อต้องการ อ่างและสระน้ำจะทำหน้าที่เฉลี่ยน้ำฝน (Regulator) จึงเข้าใจว่าในระบบนี้น้ำจะพอ

ปัญหาใหญ่อีกข้อหนึ่ง คือ ราคาการลงทุนค่อนข้างสูง เกษตรกรจะต้องได้รับความช่วยเหลือจากภายนอก (ทางราชการ ทางมูลนิธิ และเอกชน) แต่ค่าดำเนินการไม่สิ้นเปลืองสำหรับเกษตรกร

อยู่ร่วมกันได้ ทำไมต้องทำลาย

หมายเลขบันทึก: 177061เขียนเมื่อ 16 เมษายน 2008 03:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 เมษายน 2012 17:07 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)
  • ประมวลเรื่องไว้ดีมาก
  • ทางออก
  • ทางเลือก
  • ไว้ได้ครอบคุม
  • แต่ต้องช่วยกัน
  • หาทางทำ
  • จะมีวิธี ชวนกันทำอย่างไร?

แปลกแต่จริงว่า...

เรื่องพื้นที่ 5 ไร่ คือความพอเหมาะนี่ มีมานานแล้ว ตอนอยู่เมืองกาญจน์ เกษตรกรไม่ค่อยมีที่ทำกินมากกว่า 5 ไร่ค่ะ โดยที่เขาสามารถควบคุมได้

พี่เองยังเคยพูดบ่อยๆแต่ก่อนว่า ถ้ามีกันแค่ คนละ 5 ไร่ๆ เราคงไม่ได้เห็นคำว่า Plantation ซึ่งมีการทำการเกษตรได้สุดลูกหูลูกตาแบบที่อเมริกา แต่ตอนนี้เข้าใจแล้วว่า แต่ละประเทศไม่เหมือนกัน

ประเทศเราจะคล้ายฝรั่งเศส ที่พื้นที่ทำไร่ไม่มาก แต่ผลผลิตเขาสูงมาก เพราะใช้เทคโนโลยี่เข้าช่วย เคยไปดูงานหลายหน เรื่องเทคโนโลยี่การเกษตรดีๆ ช่วยได้มากค่ะ

ที่ไต้หวัน ก็เป็นอีกประเทศหนึ่งที่ yield/ไร่ สูงมากนะคะ ประเทศเขามีพายุแรงกว่าบ้านเรามาก

พี่เคยปลูกไผ่ตง เป็นหลายสิบไร่ ก็ให้ชาวไต้หวันมาสอนเทคนิคให้ค่ะ

ฝรั่งว่า Think globally, act locally ก็ตื่นเต้นกันใหญ่

เศรษฐกิจพอเพียงเป็นการเอาปัญหาของส่วนรวมมาเป็นตัวตั้ง เป็นเป้าหมาย (think globally) ให้ชุมชนทำไปในแนวทางเดียวกัน-แต่ไม่จำเป็นต้องเหมือนกันต่างคนต่างทำ ปรับ/ประยุกต์ให้เหมาะกับข้อจำกัดของตน (act locally) เพื่อไปสู่เป้าหมายเดียวกันครับ

ที่ผ่านมาเรามักทำกันตรงกันข้าม คือเอาตัวเองให้รอดก่อน ส่วนเรื่องของส่วนรวมจะเป็นยังไงก็ช่าง โบ้ยไปที่คนอื่น ชี้นิ้วสั่งเรียกร้อง แต่ไม่ทำ ไม่มีเป้าหมายร่วมกัน จึงทำลายสิ่งต่างๆที่ไม่ใช่ "ของตัว" -- อันนี้เป็นเพราะเราไม่รู้สึกว่ามันเป็น "ของเรา"

ผมยังมีประเด็นอื่นอีกเยอะ แต่บันทึกชักยาวแล้ว จึงตัดตอนไว้เขียนอีกหลายบันทึกครับ

I listened to NPR on my way to work yesterday, there are skeptics ... 

"In one poll last year, only about 50 percent of people agreed humans were contributing to global warming. The other half either disagreed, weren't sure or didn't believe the Earth was warming in the first place."

In this case, it was a 16 year-old scientist-minded girl who challenged  Al Gore's documentary An Inconvenient Truth.

She says, "the Earth is warming. But no, humans aren't causing it. She says it's part of the natural climate cycle."

Being a skeptic, doesn't mean she does not think Green. Here's the last two paragraphs;

Kristen is getting out of the climate-change business. She thinks she would like to become an architect — maybe even build energy-efficient "green" buildings.

She does not see herself as an environmentalist, though. She says that makes her think of hippies.

 

 

 

 

 

อเมริกาดีอยู่อย่างหนึ่ง คือทุกคนมีสิทธิ์ที่จะแสดงอัจฉริยภาพ หรือแสดงความโง่เขลาได้ แต่อย่างน้อยก็จะมีคนฟัง -- ไม่เหมือนนายกบางที่ ที่ใช้เวลากว่าครึ่งของ national address มาตอบโต้สื่อหรือคู่แข่ง เวลานี้เป็นเวลาของเรื่องของส่วนรวม เจออย่างนี้เข้าสองสามครั้ง ก็ไม่เอาแล้ว

จริงอยู่ที่มีคนมากมายคิดว่ามนุษย์ไม่ได้ทำให้โลกร้อน มันร้อนของมันเองต่างหาก โทษอะไรต่างๆไปได้เรื่อยๆ จากข้อมูลที่ให้มาตั้งหลายบันทึกแล้ว ก็ลองคิดดูซิครับว่าจะเชื่อหรือไม่เชื่อ

ใช้คำสำคัญ ร้อน (2.*) เพื่อดูบันทึกทั้งชุดครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท