โลกร้อน (2.2)


ปาฐกถาของ Al Gore ที่ TED เรื่อง New thinking on the climate crisis

เมื่อเดือนที่แล้ว อัลกอร์แสดงปาฐกถาที่ TED (ซึ่งเคยนำปาฐกถาดีๆมาให้ดูหลายครั้งแล้วนะครับ) เรื่อง New thinking on the climate crisis ความยาวทั้งสิ้น 27 นาที 54 วินาที

ปาฐกถาเรื่อง an Inconvenient Truth ที่เขาได้รับรางวัลต่างๆทั่วโลกนั้น แสดงมาแล้วประมาณสองพันครั้ง แต่ New thinking on the climate crisis อันนี้ แสดงต่อโลกเป็นครั้งแรกที่ TED และเพิ่งมีวิดีทัศน์บนอินเทอร์เน็ตในคืนนี้เอง

อยากให้ดูแม้เป็นภาษาอังกฤษ​ (ซึ่งสมาชิกหลายท่านอาจไม่ชอบ) แต่แค่ดูเขาพูด ดูภาพบนจอ ก็คงจะจับประเด็นสำคัญได้บ้าง

 

ผมเอาวิดิโอของ TED มาลงไม่ได้ เพราะตอนนี้ GotoKnow ชอบมาเปลี่ยน HTML code ของผม จึงเอาของ YouTube มาให้ดูแทน 

ข้อมูลชุดใหม่นี้ น่ากลัวมากครับ น้ำแข็งขั้วโลกเหนือละลายไปแล้วมหาศาล (นาทีที่ 6) อาจจะละลายหมดขั้วโลกในอีก 5 ปี สาเหตุมาจากการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (เข้ากับสมมุติฐานที่ตั้งไว้ในบันทึก โลกร้อน (2.1))

ในนาทีที่ 7:25 มีข้อมูลเปรียบเทียบโลกกับดาวศุกร์ซึ่งมีขนาดเท่าๆกัน (เส้นผ่าศูนย์กลางของโลก โตกว่าของศุกร์ 400 กม.) ดาวทั้งสองดวนจึงมีปริมาณคาร์บอนพอๆกัน แต่คาร์บอนในโลกเก็บไว้ในรูปแบบของฟอสซิลทำให้บรรยากาศของโลกมีอุณหภูมิเฉลี่ย 59 °F (15 °C) ในขณะที่คาร์บอนของดาวศุกร์ถูกปล่อยออกสู่บรรยากาศเกือบหมด ทำให้ดาวศุกร์ร้อนถึง 855 °F (457 °C) -- ท่านอาจจะคิดว่าดาวศุกร์ร้อนกว่าโลกเพราะอยู่ใกล้ดวงอาทิตย์มากกว่า ที่จริงแล้วดาวพุธซึ่งอยู่ใกล้กว่าดาวศุกร์มาก กลับมีอุณหภูมิเฉลี่ยเพียง 300 °F (149 °C) เท่านั้น

ดังนั้นตัวอันตรายคือก๊าซเรือนกระจกครับ เราเผา เราปลดปล่อยคาร์บอน (ที่โลกสะสมไว้ในรูปของฟอสซิล) ออกไปในบรรยากาศ

สงครามครั้งนี้จึงหนักหนาและยาวนานแน่นอนครับ มีเดิมพันเป็นความอยู่รอดของเผ่าพันธุ์

เดิมทีคิดว่าผลร้ายแรงอาจจะเริ่มเห็นในรุ่นลูก แต่ด้วยข้อมูลที่เห็นเชื่อได้ว่าผลร้ายแรงจะเกิดในคนรุ่นเรานี่เอง

...บันทึกนี้ไม่มีการ์ตูนหรือการหักมุมครับ...

หมายเลขบันทึก: 176174เขียนเมื่อ 10 เมษายน 2008 01:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 01:45 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

อีก 5 ปี ตัวใคร ตัวมัน อิ อิ

แต่เดือนนี้ คนแซ่เฮ

จะไปคุยเรื่องร้อนๆ ในบรรยากาศเย็นๆ ที่ภูเก็ต

เอาเทปอัลกอร์ พูด เปิดให้ชาวบ้านดู  เขาสนใจดีมาก แต่ไม่รู้ว่าจะคิดอะไรบ้าง

ดูแล้วถอนหายใจไปด้วย

ดูภาพที่เกิดกับโบลิเวียในสามสิบปีแล้วนึกถึงเมืองไทยเลย ของเราก็คงไม่แพ้กัน

แต่ก็ชอบที่กอร์พยายามทำให้คนไม่ท้อถอยโดยการบอกว่าไม่เคยมีคนรุ่นไหนที่มีศักยภาพเท่าคนรุ่นนี้ที่จะช่วยกันแก้ไขปัญหานี้ได้ เรามีเทคโนโลยี เรามีความรู้ แต่ที่ขาดคือการเมืองที่มองเรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญ ไม่มีการเมืองก็ไม่มีนโยบาย ไม่มีการสร้างวัฒนธรรมอนุรักษ์หรือสร้าง/ปล่อยคาร์บอนให้น้อยกว่านี้..

การให้ความรู้คนอย่างที่เขาทำก็เป็นวิธีหนึ่ง แต่คนที่ฟังก็ต้องนำไปทำ นำไปเผยแพร่ด้วย ไม่งั้นก็คงแก้ไขกันไม่ได้แน่ๆ

เคยดู An inconvenient truth มาแล้ว ปาฐกาอันใหม่นี้ก็น่ากลัว เราต้องทำมากกว่าการหยุด ต้องทำเพิ่มซ่อมส่วนที่คนรุ่นก่อนและรุ่นเราใช้อย่างกระหน่ำ แต่ในขณะเดียวกันประเทศกำลังพัฒนาตระหนักถึงเรื่องนี้ ประเทศพัฒนาแล้วบางทวีปก็ใส่ใจเรื่องนี้อย่างมหาศาล ยกเว้นประเทศที่อยู่ใกล้ขั้วโลกเหนือมากๆ ประเทศนั้นไม่ยอมสำนึกสักที เห็นแก่เรื่องเศรษฐกิจจนลืมว่าถ้าน้ำแข็งละลายมาเอ็งก็ตายก่อน หรือเขามีแผนจะย้ายไปอยู่ดาวอื่นถึงไม่ยอมลงนามในสนธิสัญญาโตเกียว บ่นไปก็เท่านั้น เราทำอะไรได้วันนี้ก็ทำก่อน แค่ลดการเปิดแอร์ ปิดไฟ ลดการเดินทางด้วยรถยนต์ส่วนตัว ใช้พลังงานเท่าที่จำเป็น นึกทุกอย่างก่อนใช้ก็น่าจะพอช่วยได้ถ้าทุกคนคิดเหมือนกันทั้งโลก

แต่เท่าที่เห็นในบ้านเรายังไม่มีการรณรงค์จิตสำนึกอย่างจริงจัง ส่วนมากที่เห็นภาครัฐออกมาทำก็เป็นการทำรายครั้ง ไม่มีหน่วยงานที่ทำงานเรื่องนี้อย่างต่อเนื่องและจริงจังอย่างเป็นรูปธรรม น่าจะมีนะ ไม่ใช่ทำเพราะฝรั่งบอกว่าโลกร้อน ก็เห่อกันเป็นพักๆ มันใกล้ตัวเข้ามาทุกวัน เคยมั้ยตั้งแต่อยู่มาแล้วอากาศวิปริตอย่างทุกวันนี้ ร้อนกระจาย ฤดูเพี้ยนไปหมด ยังไม่สำนึกไม่รู้ว่าต้องรอเมื่อไหร่

Mohandas K. Gandhi ได้กล่าวไว้ว่า "Earth provides enough to satisfy every man's need, but not for every man's greed."

น้ำแข็งหายไปเยอะจริงๆ กราฟลดลงเรื่อยๆเลย

ถ้าโลกเปลี่ยนแปลงเหมือนในหนัง the day after tomomor ละก็ เตรียมซื้อโลงศพได้เลย

น้ำจะท่วมโลกแล้วเหรอ ทามไงดีเนี่ย

เรื่องการเมืองสำคัญมากค่ะ เท่าที่ผ่านมา สหรัฐมักไม่เห็นด้วยกับแนวคิดของประเทศส่วนใหญ่ในสังคมโลก โดยเฉพาะในยุคปัจจุบัน

 เมื่อเปลี่ยนรัฐบาลหลังการเลือกตั้ง อาจมีเปลี่ยนแปลง

ถึงแม้รัฐบาลอเมริกันจะเปลี่ยนใจ ก็ใช่ว่าการแก้ปัญหาโลกร้อนได้ทันที

 เนื่องจากเท่าที่ผ่านมา ไม่มีการพูดถึงรากเหง้าที่แท้จริงของมัน นั่นคือ การใช้ทรัพยากรโลกเพื่อสนองการบริโภคที่เพิ่มขึ้นอย่างไม่หยุดยั้งของมนุษย์เรา การบริโภคเพิ่มขึ้นจากการขยายตัวอย่างต่อเนื่องของจำนวนประชากรโลกและการบริโภคของแต่ละคนค่ะ

ต่อไปหมีขั้วโลกตัวนี้ คงลำบากนะคะ เพราะน้ำแข็งขั้วโลกเหนือละลายไปแล้วมหาศาล

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท