อนุทินส่วนตัว ๑๔ เม.ย. ๕๑


วันแห่งการอ่านหนังสือ

อนุทินส่วนตัว  ๑๔ เม.ย. ๕๑

 

ชาติและชาติพันธุ์

เอกสารทางวิชาการ ลำดับที่ ๓๙  ศมส.  วาทกรรมอัตลักษณ์ ๒๕๔๗

ISBN 974-92044-7-6

การใช้ถ้อยคำ (วาทกรรม) สื่อสารสร้างการยอมรับ ความชอบธรรม ความเชื่อ เพื่อการดำเนินการเรื่องใดเรื่องหนึ่ง  เช่นโครงการของรัฐ  การโฆษณาชวนเชื่อ โฆษณาสินค้า  การต่อสู้  การสร้างการยอมรับ/ไม่ยอมรับ ชนกลุ่มน้อย

 

ชาติพันธุ์กับการแพทย์

เอกสารวิชาการลำดับที่ ๓๗  ศมส.  ๒๕๔๗

ISBN 974-92044-5-X

การสร้างความเป็นอื่น   การสร้างความชอบธรรม   การสร้างความเชื่อ  การสร้างบรรทัดฐานทางสังคม  การสถาปนา ความจริง   การตีตราให้เป็นบาป ความเลว หรือความผิด   การพิพากษาโดย ศาลเตี้ย ในชุมชน   หรือโดยสื่อมวลชนที่ทำหน้าที่เป็น ศาลเตี้ย เสียเอง  

เป็นโรคเอดส์

 

จีนทักษิณ วิถีและพลัง

โดย สุธิวงศ์ พงศ์ไพบูลย์  ดิลก วุฒิพาณิชย์  และประสิทธิ์ ชิณการณ์

โครงการ โครงสร้างและพลวัตวัฒนธรรมภาคใต้กับการพัฒนา

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย  ๒๕๔๔  ISBN 974-326-035-8

จีนเป็นชาติที่เดินทางไปอยู่ทั่วโลก   สมัย ๖๐๐ ๗๐๐ ปีก่อน จีนเป็นมหาอำนาจทางเรือ  แต่ใช้ค้าขาย (พาณิชย์นาวี) ไม่ใช้ยึดครองแบบฝรั่งในสมัย ๑๐๐ ๒๐๐ ปีต่อมา    ระหว่าง พ.ศ. ๑๙๔๘ ๑๙๗๘ เจิ้งเหอ ยกกองพาณิชย์นาวีที่มีเรือสำเภาขนาดใหญ่มาก (ใหญ่กว่าของฝรั่งสมัยนั้นหลายเท่า) ๖๒ ลำเดินทางผูกไมตรีและค้าขายไปถึงยุโรป   และแวะมาที่อยุธยาด้วย

จีนทักษิณที่มีลูกหลานเป็นคนไทยในปัจจุบัน อพยพมาในช่วงรัชกาลที่ ๓ รัชกาลที่ ๕ โดยมาเฉพาะผู้ชาย มาแต่งงานกับหญิงไทยหรือไทยเชื้อสายจีน

แต่จริงๆ แล้วคนจีนได้มาค้าขายและตั้งถิ่นฐานตั้งแต่สมัยอาณาจักรศรีวิชัยเมื่อ ๑๐๐๐ ปีก่อน ถอยไปในอดีต 

 

 

การปฏิสัมพันธ์ระหว่างศาสนิกที่ปรากฎในจังหวัดปัตตานี ยะลา และนราธิวาส

โดย รัตติยา สาและ

โครงการ โครงสร้างและพลวัตวัฒนธรรมภาคใต้กับการพัฒนา

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย  ๒๕๔๔  ISBN 974-7772-73-6

 การเมืองการปกครองในพื้นที่ที่ปัจจุบันเป็นจังหวัดยะลา ปัตตานี นราธิวาส (และไทรบุรี กลันตัน ตรังกานู ปลิศ)  เริ่มจากเป็นราชอาณาจักรลังกาสุกะ (มลายูฮินดู พุทธ)   แล้วเป็นราชอาณาจักรมลายู อิสลาม ปตานี (พ.ศ. ๒๐๔๓ ๒๓๕๑)   แล้วเป็นนครรัฐปตานี (พ.ศ. ๒๓๕๑ ๒๔๔๕)   แล้วเป็นบริเวณหัวเมืองปตานี (๒๔๔๕ ๒๔๔๙)   แล้วเป็นมณฑลปตานี (๒๔๔๕ ๒๔๗๕) ประกอบด้วย ๔ เมืองคือ ปตานี ยะลา สายบุรี และบางนรา    แล้วจึงเป็น ๓ จังหวัด (ปัตตานี ยะลา นราธิวาส) ตั้งแต่ปี ๒๔๗๕ ปัจจุบัน

สยามรัตนโกสินทร์ยกกองทัพมารบ (ปราบ) ปตานีถึง ๓ ครั้งในสมัยรัชกาลที่ ๑   ชาวมุสลิมที่ ต. พุมเรียง  อ. ไชยา เป็นคนที่ถูกกวาดต้อนมาจากสงครามคราวนั้น    โดยกรมพระราชวังบวรฯ แม่ทัพ เคยมาตั้งทัพที่พุมเรียงด้วย   นี่คือความรู้ที่ผมได้มาจากญาติที่ไชยาเมื่อกว่า ๓๐ ปีมาแล้ว  

มีกรณีศึกษาสภาพความเป็นอยู่ของคนมุสลิมและพุทธใน ๔ พื้นที่    เห็นภาพการอยู่ร่วมกันแบบเกื้อกูลและเกรงใจกัน   มีญาติต่างศาสนา และมีการเปลี่ยนศาสนา

จุดอ่อนของหนังสือเล่มนี้คือไม่ได้แตะ ๔ รัฐไทยที่ต้องยกให้อังกฤษในสมัย ร. ๕ คือ ไทรบุรี กลันตัน ตรังกานู ปลิศ ไว้ในประวัติศาสตร์  

 

คนพันธุ์ป๊อป : ตัวตนคนไทยในวัฒนธรรมสมัยนิยม

พัฒนา กิติอาษา

เอกสารวิชาการลำดับที่ ๒๘  ศมส. ๒๕๔๖  ISBN 974-91110-6-0

รวมบทความจากการประชุมประจำปีทางมานุษยวิทยา ครั้งที่ ๑  เรื่อง คนมองคน : นานาชีวิตในกระแสการเปลี่ยนแปลง”

AAR ของผม

¨      เป็นการมองว่าวัฒนธรรมของวัยรุ่นไทยมีกระแสเดียว  

¨      เป็นปรากฏการณ์หนึ่งของ โลกาภิวัตน์

¨      น่าจะมีมุมมองเชิง action-oriented    ไม่ใช้แค่ observation-oriented  

 

 

เจ้าแม่ คุณปู่ ช่างซอ ช่างฟ้อน และเรื่องอื่นๆ ว่าด้วยพิธีกรรมและนาฏกรรม

ปริตตา เฉลิมเผ่า กออนันตกูล บรรณาธิการ  เอกสารวิชาการลำดับที่ ๒๙ ศมส. ๒๕๔๖  ISBN 974-91110-9-5

รวมบทความจากการประชุมประจำปีทางมานุษยวิทยา ครั้งที่ ๑  เรื่อง คนมองคน : นานาชีวิตในกระแสการเปลี่ยนแปลง”

www.sac.or.th

 

พลวัตสิทธิชุมชน : กระบวนทัศน์ทางมานุษยวิทยา

ชลธิรา สัตยาวัฒนา บรรณาธิการ

เอกสารวิชาการลำดับที่ ๓๑ ศมส. ๒๕๔๖  ISBN 974-91110-8-7

รวมบทความจากการประชุมประจำปีทางมานุษยวิทยา ครั้งที่ ๑  เรื่อง คนมองคน : นานาชีวิตในกระแสการเปลี่ยนแปลง”

AAR จากการอ่านหนังสือเล่มนี้

จดหมายประวัติศาสตร์ของหัวหน้าชาวอินเดียนแดงเมืองซีแอตเติล น. ๗ ๑๖ แสดงโลกทัศน์ กระบวนทัศน์ที่แตกต่างจากคนขาวโดยสิ้นเชิง   คือมองชีวิตที่แนบแน่นอยู่กับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

ชุมชนท้องถิ่น กับจารีตประเพณีดั้งเดิม ความต่อเนื่อง และการเปลี่ยนแปลง

วิทยาศาสตร์ที่เป็นความรู้บริสุทธิ์ กับเทคโนโลยีที่เป็นความรู้ที่มีบริบท เป้าหมาย  

การพัฒนาเรื่องสิทธิชุมชน ควรเน้นที่กระบวนการ การทำกระบวนการร่วมกันของผู้เกี่ยวข้องหลายๆ ฝ่าย   ควรคำนึงถึงความจริงว่า แนวคิดสิทธิชุมชนมาจากสังคมวัฒนธรรมตะวันตก   การเอามาใช้ในสังคมวัฒนธรรมไทยต้องมีการปรับปรนให้เข้ากัน และให้มีวิวัฒนาการต่อเนื่อง    ควรใช้มุมมองแบบพลวัต  ไม่ใช่แบบแข็งทื่อตายตัว

ความเข้าใจ ยอมรับ สิทธิชุมชนท้องถิ่น มากับความเข้าใจ ยอมรับ ความเป็นสังคมพหุลักษณ์ของสังคมไทย    การละเมิดสิทธิชุมชนท้องถิ่นโดยรัฐ จึงมักมาจากความคิดว่าสังคมไทยเป็นสังคมเอกลักษณ์  

สิทธิ คู่กับ ความรับผิดชอบ

วิชาการมานุษยวิทยาในช่วง ๒ ทศวรรษหลัง เป็นการหักมุมล้างบาป มานุษยวิทยาในช่วง ๒ ศตวรรษก่อน ที่เป็นเครื่องมือของการยึดครองครอบงำ ชุมชนอื่นสังคมอื่น   มานุษยวิทยาเพื่อการครอบงำยึดครอง กลายเป็นมานุษยวิทยาเพื่อการปลดปล่อย    เป็นมานุษยวิทยาที่ยอมรับความแตกต่างหลากหลาย   ยอมรับสภาพของแต่ละชุมชน   ไม่มองพัฒนาการของมนุษย์เป็นเส้นตรงเส้นเดียว

ผมชอบข้อสรุปของ ศ. ดร. ยศ สันตสมบัติ ที่ระบุข้อค้นพบ ๕ ประการคือ

1.     สิทธิชุมชนเชื่อมโยงกับระบบกรรมสิทธิ์ร่วมและการจัดการเชิงซ้อน

2.     สิทธิชุมชนเป็นสิ่งที่มีพลวัต

3.     สิทธิชุมชนเชื่อมโยงกับศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์

4.     สิทธิชุมชนเป็นขบวนการทางสังคมเพื่อเรียกร้องการมีส่วนร่วม หรือการเปิดพื้นที่ทางสังคม

5.     สิทธิชุมชนกับทางเลือกของการพัฒนา

 

ม็อบ หรือการชุมนุมเรียกร้อง เป็นเครื่องมืออย่างหนึ่งของการใช้สิทธิชุมชน   เมื่อหนทางอื่นตันหมด

ใช้หลักการเรียกร้องสิทธิ์อย่างเดียวไม่พอ อาจต้องใช้การจัดการความขัดแย้งด้วยสันติวิธีด้วย

 

มานุษยวิทยากับการศึกษาปรากฏการณ์โหยหาอดีตในสังคมไทยร่วมสมัย

พัฒนา กิติอาษา บรรณาธิการ

เอกสารวิชาการลำดับที่ ๓๒ ศมส. ๒๕๔๖  ISBN 974-91110-8-7

รวมบทความจากการประชุมประจำปีทางมานุษยวิทยา ครั้งที่ ๑  เรื่อง คนมองคน : นานาชีวิตในกระแสการเปลี่ยนแปลง”

สังคมไทยเป็นสังคมโครงสร้างหลวม John Embree เมื่อ ๕๐ ปีก่อน”

AAR ของผม

¨      เป็นการทำงานวิชาการตามกรอบทฤษฎีของ Fredrick Jameson

¨      ผมมองว่าน่าจะเอาประสบการณ์จากอดีตมาศึกษาแนว KM จะเป็นประโยชน์ใช้สอยมากกว่า  เกิดทุนทางปัญญา ทุนทางสังคม มากกว่า

 

สื่อกับมานุษยวิทยา

จำเริญลักษณ์ ธนะวังน้อย บรรณาธิการ

เอกสารวิชาการลำดับที่ ๓๓ ศมส. ๒๕๔๖  ISBN 974-91110-7-9

รวมบทความจากการประชุมประจำปีทางมานุษยวิทยา ครั้งที่ ๑  เรื่อง คนมองคน : นานาชีวิตในกระแสการเปลี่ยนแปลง”

AAR ของผม

¨      บทความเหล่านี้เขียนเมื่อ ๖ ปีที่แล้ว ตอนนั้นสื่อที่สื่อสารแบบ Media 2.0 ยังาไม่ถึง 

¨      ตอนนี้ วงการมานุษยวิทยาน่าจะศึกษาผลของ Media 2.0 ต่อเยาวชนไทย   มองทั้งผลเชิงบวก และผลเชิงลบ

 

อัตลักษณ์ ชาติพันธุ์ และความเป็นชายขอบ

ปิ่นแก้ว เหลืองอร่ามศรี บรรณาธิการ

เอกสารวิชาการลำดับที่ ๓๔ ศมส. ๒๕๔๖  ISBN 974-91110-7-9

รวมบทความจากการประชุมประจำปีทางมานุษยวิทยา ครั้งที่ ๑  เรื่อง คนมองคน : นานาชีวิตในกระแสการเปลี่ยนแปลง”

AAR ของผม

¨      Marginalization เป็นกระบวนการที่คู่กับสังคมรวมศูนย์ สังคมแนวดิ่ง สังคมอำนาจ

    ที่ไม่ให้คุณค่าและเคารพความแตกต่างหลากหลาย

¨      ชายขอบ ในที่นี้ หมายถึงชายขอบสังคม   ที่ไม่จำเป็นต้องเป็นชายขอบเชิงกายภาพ

 

 

 

 

 

 

                                               

         

          

                 

หมายเลขบันทึก: 176972เขียนเมื่อ 15 เมษายน 2008 15:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 มิถุนายน 2012 17:03 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท