KM ในตึกพิเศษ 5


Pain Mangement

ในวันศุกร์ส่งท้ายก่อนหยุดยาวในเทศกาลสงกรานต์  ทางตึกพิเศษ 5 ได้มีการทำKnowledge Sharing ในเรื่องPain Mangement นำเล่าเรื่องโดยพี่พัชรี ซึ่งไปอบรมเรื่องความก้าวหน้าในการดูแลผู้ป่วยศัลยกรรมระบบปัสสาวะมาก็นำความรู้ที่ได้รับมาบอกกล่าวแก่พี่ๆๆน้องๆๆที่ตึกซึ่งวันนั้นมีคนฟังคือ พี่พรรณี  พี่ป้อม พี่พร  แมว ชาญชัย และ น้องตา ซึ่งก็เกือบครบขาดไปสองคนอีกทั้งได้รับเกียรติจาก พญ.รุจนี ที่มาตรวจเยี่ยมเด็กทารก มาร่วมนั่งฟังด้วย  ซึ่งจริงๆๆแล้วการบริหารความปวดในตึกพิเศษ 5 พวกเราได้ปฏิบัติจนเป็นวัฒนธรรมของตึกไปแล้วซึ่งก่อนหน้านี้เรามีการทำCQI ในเรื่องการบริหารความปวดผู้ป่วยที่ผ่าตัดโดยวิธีดมยาสลบภายใน 24 ชั่วโมงแรก จากการปฏิบัติพวกเราจะพบเหตุการณ์ต่างๆทั้งในเรื่องผู้ป่วยปวดในระยะเวลาใกล้ๆๆหลังให้ยาแก้ปวดและผู้ป่วยที่ปลุกให้ตื่นได้ยาก  ซึ่งในที่นี้ที่เน้นย้ำถึงความสำคัญของการประเมินการกดหายใจ

เกณฑ์การประเมินการกดหายใจ ใช้คะแนนความง่วงซึม(sedation score:SS) อัตราการหายใจ(respiratory rate:RR) และความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือด(Oxygen saturation)

โดยทั่วไป ถือว่าการเกิดการกดการหายใจที่RR น้อยกว่า 8 ครั้ง/นาที แต่อาจเกิดการกดการหายใจก่อนนั้นก็ได้ ขึ้นกับคุณภาพการหายใจมากกว่าจำนวนครั้ง ส่วนการวัด Oxygen saturation เพื่อตรวจการกดการหายใจ อาจพบว่าไม่ลดต่ำ ถ้าให้ออกซิเจนสูดดมอยู่ จึงนิยมใช้คะแนนง่วงซึมเป็นตัวชี้วัดของการกดการหายใจซึ่งมีความไวมากกว่าการลดลงของอัตราการหายใจและการลดลงของ Oxygen saturation โดยแบ่ง sedation score เป็น 0-3 และ S

Sedation score ( 0-3,S)

 0 =  ไม่ง่วงเลยอาจนอนหลับตาแต่รู้ตัว ตื่นอยู่ พูดคุยโต้ตอบได้อย่างรวดเร็ว

1 =  ง่วงเล็กน้อยนอนหลับๆตื่นๆปลุกตื่นง่ายตอบคำถามได้อย่างรวดเร็ว

2 = ง่วงพอควร อาจหลับอยู่แต่ปลุกตื่นง่าย ตอบคำถามได้ช้าหรือไม่ช้าก็ได้ แต่พูคุยได้สักครู่ผู้ป่วยจะอยากหลับมากกว่าคุยด้วยหรือมีอาการสัปหงกให้เห็น

3 = ง่วงอย่างมาก ปลุกตื่นยากมากหรือไม่ตื่น ไม่โต้ตอบ

S =ผู้ป่วยกำลังหลับพักผ่อน มารถปลุกตื่นได้ไม่ยาก เป็นการหลับปกติ คือ ตื่นได้ง่ายเมื่อมิ่งกระตุ้น เช่น หันมามองเมื่อถูกสัมผัสเบาๆ ซึ่ง Sedation score อาจเป็น 1 หรือ 2 กรณีที่ผู้ป่วยไม่ได้ต้องการยาแก้ปวดในขณะนั้น ก็ไม่จำเป็นต้องแยกว่าเป็น Sedation score อาจเป็น 1 หรือ 2 ถ้าสัมผัสผู้ป่วยแล้วผู้ป่วยไม่ตอบสนองให้เรียกด้วยเสียงดังและลองเขย่าตัวผู้ป่วยถ้าปลุกตื่นยากมากแสดงว่า Sedation score เป็น 3 ไม่ใช่ S

ควรแยก Sedation score เป็น 1 หรือ 2 ให้ได้ทุกครั้งเมื่อขอยาแก้ปวดเพราะจะให้ยาได้ต่อเมื่อมี Sedation score  = 0,1 เท่านั้น

* จากเอกสารประกอบการอบรม เรื่องความก้าวหน้าในการดูแลผู้ป่วยศัลยกรรมระบบปัสสาวะ หัวข้อ Pain Mangment : ทางเลือกในการรักษา โดย พญวิมลลักษณ์ สนั่นศิลป์

คำสำคัญ (Tags): #pain management
หมายเลขบันทึก: 176752เขียนเมื่อ 13 เมษายน 2008 14:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 00:44 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

ได้ความรู้ดีค่ะ แมวเขียนอ่านง่ายขึ้นมากเพราะตัวใหญ่ขึ้น หมอปรับตัวอักษรยังไม่เป็น

ฝากความคิดถึง ทีมงาน และ คุณพรรณี หัวหน้าคนเก่งด้วย หมอให้กำลังใจเสมอค่ะ แมวถ่ายรูปให้เห็นภาพก็ดีนะคะ

ขอบคุณที่ตามเยี่ยมชมคะ

สวัสดีปี๋ใหม่เมืองคะ

อ่านแล้วใช้ประโยชน์ได้มากเลยค่ะ ขอบคุณสำหรับข้อมูลดีๆนะคะ ^^

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท