องค์การสัมพันธภาพสหกรณ์สากล International Cooperative Alliance : ICA


ความเป็นมาของ ICA

1.  ความเป็นมาของ ICA

          เป็นองค์อิสระ เช่นเดียวกับองค์กรพัฒนาเอกชนอื่นๆ โดยเป็นตัวแทน และให้บริการด้านต่างๆแก่สหกรณ์

          องค์การสัมพันธภาพสหกรณ์สากลได้รับการจัดตั้งขึ้นในมหานครลอนดอนประเทศสหราชอาณาจักร ในปี พ.ศ. 2438 (ค.ศ. 1895) มีสมาชิกที่เป็นสมาชิกภายในประเทศและประเทศต่างๆที่ประกอบธุรกิจ ในด้านการเกษตร ธนาคาร พลังงาน การอุตสาหกรรม การประกันภัย การท่องเที่ยว และสหกรณ์บริการ

          องค์การสัมพันธภาพสหกรณ์สากลมีสมาชิกที่เป็นองค์การสหกรณ์ทั่วโลก จำนวน 230 องค์กร จากประเทศต่างๆ 100 ประเทศ ซึ่งรวมถึงสันนิบาตสหกรณ์แห่งประเทศไทย และมีสมาชิกรายบุคคลกว่า 760 ล้านคน

          ในปี พ.ศ. 2489 (ค.ศ.) 1946 องค์การสัมพันธภาพสหกรณ์สากลได้เป็นองค์กรพัฒนาเอกชนองค์กรแรก ที่ได้รับการรับรองสถานะจากองค์การสหประชาชาติ (UN) ในปัจจุบันองค์การสัมพันธภาพสหกรณ์สากลได้รับการรับรองสถานะขั้นสูงสุดจากสภาเศรษฐกิจและสังคม องค์การสหประชาชาติ (United Nations Economic and Social Council : ECOSOC)

 

2. บทบาทหน้าที่ของ ICA

                องค์การสัมพันธภาพสหกรณ์สากล มีบทบาทในการพัฒนาชนบทของประเทศต่างๆ ผ่านสำนักงานใหญ่ และสำนักงานในภูมิภาคต่างๆ  โดยการเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับสหกรณ์และให้สหกรณ์ต่างๆสามารถดำเนินธุรกิจอยู่ได้ในประเทศกำลังพัฒนาต่างๆโดย  ICA มีบทบาทในการเป็นผู้ประสานงานและกระตุ้นในการพัฒนาสหกรณ์ในประเทศต่างๆ

 

3. วัตถุประสงค์และวิธีดำเนินงาน

3.1 วัตถุประสงค์

          องค์การสัมพันธภาพสหกรณ์สากล มีวัตถุประสงค์ในการส่งเสริมความเข้มแข็ง และการพึ่งพาตนเองของสหกรณ์ต่างๆทั่วโลก โดยผ่านการปฏิบัติงานต่างๆในระดับสากล ระดับภูมิภาค และระดับชาติ นอกจากนั้นองค์การสัมพันธภาพสหกรณ์สากลยังดำเนินการมองหา

          การส่งเสริมและป้องกันคุณค่าและหลักการของสหกรณ์

          ดำเนินการช่วยเหลือในการพัฒนาด้านเศรษฐกิจและผลประโยชน์ที่จะได้รับร่วมกันจากความสัมพันธ์ระหว่างองค์การสมาชิก

          การสร้างความเจริญก้าวหน้าในทางเศรษฐกิจและสังคมให้กับประเทศ   สมาชิกและชุมชนของประเทศ นั้นๆ

 

3.2 วิธีการดำเนินงาน

          องค์การสัมพันธภาพสหกรณ์สากลจะเป็นผู้รวบรวมข้อมูล ทรัพยากร และสถิติให้กับองค์การสมาชิกได้ศึกษา และเรียนรู้และนำข้อมูลไปพัฒนาและปรับปรุงตนเอง

          ส่งเสริมให้เกิดการเชื่อมโยงเครือข่ายสหกรณ์ระหว่างองค์กรสมาชิกและสหกรณ์ต่างๆทั่วโลกทั้งการเชื่อมโยงกันในด้านการค้า ธุรกิจและด้านวิชาการและเทคโนโลยี

          องค์การสัมพันธภาพสหกรณ์สากลมีศูนย์รวบรวมข้อมูล เอกสาร และผลผลิตเอกสาร หนังสือต่างๆ ในหัวข้อเรื่องที่มีความสำคัญ นอกจากนั้นยังมีการผลิตเอกสารรายดือนอย่างเป็นทางการ มีชื่อว่า “Review of International Cooperation” และ “Alliance” เพื่อแจกจ่ายให้กับองค์กรสมาชิก

          องค์การสัมพันธภาพสหกรณ์สากล ยังให้ความช่วยเหลือด้านวิชาการต่างๆในการพัฒนาสหกรณ์ใน อัฟริกา  เอเชีย ลาตินอเมริกา และยุโรปตะวันออก และยุโรปตอนกลาง  ผ่านทางสำนักงานใหญ่  และสำนักงานภูมิภาค

          องค์การสัมพันธภาพสหกรณ์สากล ยังมีบริการจัดการผ่านระบบที่เรียกว่า คณะกรรมการ ด้านต่างๆ  เพื่อร่วมกันแก้ไขปัญหาทางด้านวิชาการ และด้านเศรษฐกิจและสังคมของประเทศต่างๆ ซึ่งสันนิบาตสหกรณ์ฯ ก็ได้ส่งคณะกรรมการของสันนิบาตสหกรณ์ฯ เข้าไปเป็น กรรมการในคณะกรรมการต่างๆขององค์การสัมพันธภาพสหกรณ์สากล เช่นคณะกรรมการด้านการเกษตร ฯลฯ

 

4. โครงการพัฒนาขององค์การสัมพันธภาพสหกรณ์สากล

          องค์การสัมพันธภาพสหกรณ์สากล มีประสบการณ์ในการพัฒนาด้านต่างๆ มากกว่า 40 ปี โดยการให้ความช่วยเหลือด้านวิชาการ ในการพัฒนาด้านต่างๆ แก่องค์การสมาชิก บทบาทหน้าที่ขององค์การสัมพันธภาพสหกรณ์สากล มีบทบาทหลักในการกระตุ้นและประสานการดำเนินการพัฒนาสหกรณ์ต่างๆ โดยมีวัตถุประสงค์ในการสร้างความเข้มแข็ง และกาพึ่งพาตนเองของสหกรณ์ต่างๆ ทั่วโลก องค์การสัมพันธภาพสหกรณ์สากลมีจุดเน้น และให้ความสำคัญ แก่สหกรณ์สมาชิกในด้าน

          การสร้างความเข้มแข็งให้กับองค์การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ การสร้างความทัดเทียมกันระหว่างหญิงและชาย  การจัดทำแผนยุทธศาสตร์ การพัฒนาสหกรณ์

          กระตุ้นให้ภาครัฐเห็นความสำคัญของการพัฒนาสหกรณ์และการพัฒนาองค์กรต่างๆผ่านการประชุมสัมมนาในระดับรัฐมนตรีสหกรณ์เพื่อให้ผู้นำในภาครัฐต่างๆเห็นความสำคัญของการสหกรณ์

          สร้างเครือข่ายและสนับสนุนส่งเสริมการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ต่างๆ ระหว่างองค์การสหกรณ์ต่างๆ รวมทั้งด้านวิชาการ ธุรกิจ และการค้าของสหกรณ์

          ดำเนินการระดมทุน เพื่อการพัฒนาสหกรณ์ต่างๆ ทั่วโลก  เมื่อ 3 ปีที่แล้ว ICA ได้ให้ผมเป็นผู้เชี่ยวชาญในการศึกษาเพื่อการพัฒนาสหกรณ์การเกษตรใน สปป.ลาว และปัจจุบันทราบว่าองค์การพัฒนาของเยอรมัน ได้ให้ความช่วยเหลืออยู่

 

5. สำนักงาน

          สำนักงานขององค์การสัมพันธภาพสหกรณ์สากล จะมีอยู่ในภูมิภาคต่างๆ ทั่วโลก คือ

          ยุโรปตะวันออก

          ยุโรปตอนกลาง

          อัฟริกา

          ลาตินอเมริกา

          อเมริกาเหนือ

          เอเชียและแปซิฟิก

          สำนักงานใหญ่ อยู่ที่ เมือง Geneva ประเทศ Switzerland

International Cooperative Alliance 

15, Route Des Morillons                 

1218 Grand   Saconnex                   

Geneva   Switzerland     

 

          สำนักงานภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิค อยู่ที่ INDIA

International Cooperative Alliance  Regional Office For Asia and Pacific                                                          (ICA/Roap)                                          

9         Arachana Enclave                      

Secter 13 , R,K. Puram Ring Road                    

New Delhi 110066 , INDIA 

 

          สำนักงานประสานงานด้านการค้าและธุรกิจขององค์การสัมพันธภาพสหกรณ์สากล     สำนักงานภูมิภาคเอเชีย และแปซิฟิค  อยู่ที่ Singapore

ICA Singapore Business Office                                                 

ICA Regional Office For Asia and Pacific                               

C/O Singapore National Cooperative  Federation Ltd                  

# 12-02 , SLE  Building 510 Thomson Road Singapore 298135

 

          6.   การประสานการเชื่อมโยงเครือข่ายทางด้านการค้าและธุรกิจขององค์การสัมพันธภาพสหกรณ์สากล

          ในภูมิภาคอเมริกาเหนือ 

ที่ประเทศแคนาดา โดย Co-op Atlantic เป็นองค์กรกลางในการเชื่อมโยงเครือข่าย

          ในภูมิภาคยุโรป 

ที่ประเทศสหราชอาณาจักร โดย International  Whole sale Society :(สมาคมการค้าส่งสากล)  เป็นองค์กรกลางในการเชื่อมโยงเครือข่าย

          ในภูมิภาคเอเชียตะวันออก 

ที่ประเทศญี่ปุ่น โดย Co-op  Trade Japan  JCCU  (Japanese Consumer Cooperative Union)   เป็นองค์กรกลางในการเชื่อมโยงเครือข่าย

          ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเอเชียใต้

         ที่ประเทศสิงคโปร์  โดย NTUC Fair Price  เป็นองค์กรกลางในการเชื่อมโยงเครือข่าย

 

คำสำคัญ (Tags): #สหกรณ์
หมายเลขบันทึก: 176675เขียนเมื่อ 12 เมษายน 2008 22:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 มิถุนายน 2012 19:38 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท