ตอนที่47 การป้องกันและกำจัดศัตรูข้าวโดยวิธีผสมผสาน


การป้องกันและกำจัดศัตรูพืชโดยวิธีผสมผสาน หมายถึง การนำเอาวิธีการควบคุมศัตรูพืชวิธีต่าง ๆ มาใช้ร่วมกันอย่างเหมาะสมกับสถานการณ์ของศัตรูพืชและระบบนิเวศน์ของแต่ละพื้นที่

ในช่วงของข้าวราคาแพงในปี พ.ศ. 2551 การถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตเพื่อให้เกษตรกรได้ลดต้นทุนการผลิต รักษาสภาพแวดล้อม และเพื่อรักษาสุขภาพ  ให้มีการป้องกันและกำจัดศัตรูพืชโดยวิธีผสมผสาน โดยไม่มีหลักประกันว่าผลผลิตข้าวของผู้ทำนาจะได้จำนวนมากเช่นเดียวกับเพื่อนเกษตรกรใกล้เคียงที่ใช้สารเคมี  นับเป็นปัญหาของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรยิ่งนัก  ผู้เขียนได้ไปเข้าร่วมเป็นเสวนาการปลูกข้าวปลอดภัยจากสารพิษ พบปัญหาหลากหลายทั้งที่แก้ไขเองได้ และไม่ได้ ถ้าแก้ไขเองไม่ได้ก็ไม่เป็นปัญหา แต่ในส่วนที่ต้องการแก้ปัญหา แต่ไม่สามารถแก้ปัญญาได้นี่ซิเป็นเรื่องที่ต้องเก็บไปคิดอีกหลายครั้งก็ไม่รู้ว่าจะทำอย่างไร นั้นคือ เจ้าของที่นาเช่า ซึ่งได้ค่าเช่า 600 1,000 บาท/ไร่   จึงเร่งให้เกษตรกรทำนาเพื่อจะได้จำนวนเงินเพิ่มขึ้น แต่ถ้าทำช้าหรือไม่ทำนาก็จะเปลี่ยนให้ผู้อื่นเช่า นี่เป็นเพียงปัญหาบางส่วนที่ผู้ทำนากล่าวถึง

ในส่วนนี้ พี่เฉลย   ปิ่นทอง  นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร  6ว ผู้รับผิดชอบศูนย์เรียนรู้การเกษตรพอเพียง ( ศูนย์หลัก) ตำบลสรรพยา   อำเภอสรรพยา    จังหวัดชัยนาท โทรศัพท์  08 -9705 -4440   บอกว่าขอยีนหยัดส่งเสริมการทำนาโดยให้เกษตรกรป้องกันและกำจัดศัตรูพืชโดยวิธีผสมผสาน ต่อไป และได้ให้ความรู้ว่า

การป้องกันและกำจัดศัตรูพืชโดยวิธีผสมผสาน  หมายถึง     การนำเอาวิธีการควบคุมศัตรูพืชวิธีต่าง ๆ มาใช้ร่วมกันอย่างเหมาะสมกับสถานการณ์ของศัตรูพืชและระบบนิเวศน์ของแต่ละพื้นที่  เพื่อให้บังเกิดผลดีทั้งด้างเศรษฐกิจ  สังคมและสิ่งแวดล้อม ซึ่งวิธีการควบคุมศัตรูพืชโดยวิธีผสมผสานนี้  เป็นหลักการที่สามารถนำไปใช้ได้กับทุกพืชทุกสถานการณ์ โดยเกษตรกรสามารถตัดสินใจเลือกใช้วิธีการที่เหมาะสมในการควบคุมศัตรูพืชได้ด้วยตนเอง

วิธีการควบคุมศัตรูพืชมีหลายวิธี

1.  วิธีเขตกรรม  ได้แก่  การเตรียมดินที่ถูกวิธี  การใช้เมล็ดพันธ์และการใช้อัตราปลูกที่เหมาะสม  การใส่ปุ๋ยอย่างถูกต้อง  การตัดแต่งกิ่ง  การเก็บทำลายส่วนของพืชที่เป็นโรค การปลูกพืชหมุนเวียน เพื่อตัดวงจนชีวิตของศัตรูพืช  การปรับปรุงสภาพของดินให้อุดมสมบูรณ์  เพื่อให้พืชเจริญเติบโตและแข็งแรง  ฯลฯ  จะช่วยลดปัญหาการระบาดของศัตรูพืชได้

2.  ใช้พันธุ์ต้านทาน  ช่วยแก้ปัญหาการระบาดของศัตรูพืชได้  โดยเฉพาะการปลูกพืชที่มีความหลากหลาย  ไม่ปลูกพืชพันธุ์เดียวกันเป็นพื้นที่กว้างขวาง  ควรปลูกหลายพันธุ์ในพื้นที่เดียวกัน  จะช่วยลดปัญหาการระบาดของศัตรูพืช

3.  ใช้ชีววิธี  หมายถึง   การใช้สิ่งมีชีวิตที่มีอยู่ตามธรรมชาติ  โดยการอนุรักษ์และทำให้เพิ่มพูนมากขึ้น  เพื่อช่วยในการควบคุมศัตรูพืช  ได้แก่  ตัวห้ำ  ตัวเบียน  และเชื้อจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์  เช่น  เชื้อแบคทีเรีย  เชื้อไวรัสกำจัดหนอน   เชื้อราไตรโคเดอร์มา  ไส้เดือนฝอย ฯลฯ

4.  วิธีกลและฟิสิกส์  หมายถึง  การใช้เครื่องมือกลต่าง ๆ ในการกำจัดศัตรูพืช  เช่น  กับดักหนู  กับดักกาวเหนียว  การห่อผล  การใช้มุ้งตาข่ายไนล่อนคลุมแปลงปลูกพืช  การใช้กับดักแมลงวันผลไม้  การใช้กับดักแสงไฟ  การใช้ความร้อน  ความเย็น  สี  เสียง  คลื่นความถี่ต่าง ๆ ฯลฯ

5.  การใช้สารป้องกันและกำจัดศัตรูพืช  ที่นิยมใช้ในปัจจุบัน  คือ 

                                                5.1  สารเคมีกำจัดศัตรูพืช  ได้แก่  สารเคมีกำจัดแมลงศัตรูพืช  สารเคมีกำจัดโรคพืช  สารกำจัดวัชพืช  และสารกำจัดสัตว์ศัตรูพืช  ซึ่งสารเคมีนี้  เป็นอันตรายและมีพิษตกค้างในผลผลติและสภาพแวดล้อม ควรใช้เมื่อมีการระบาดของศัตรูพืชอย่างรุนแรงและกว้างขวาง ไม่ควรใช้พร่ำเพื่อ  หรือ  บ่อยครั้ง

                                                5.2  สารธรรมชาติ  ได้แก่ สารสกัดจากพืช เช่น สะเดา  หางไหล   ใบยาสูบ  ฯลฯ  ไม่เป็นอันตรายต่อสภาพแวดล้อมและผลผลิต

                              วิธีการควบคุมศัตรูพืชแต่ละวิธีดังกล่าว ก่อนที่เกษตรกรจะมีการตัดสินใจและเลือกใช้วิธีการที่เหมาะสมกับสถานการณ์ของศัตรูพืชและสภาพแวดล้อมที่เกิดขึ้นในขณะนั้นได้  เกษตรกรจะต้องมีการปฏิบัติตามขั้นตอนต่าง ๆ ก่อน  ดังนี้

1.  การสำรวจ    เพื่อติดตามความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ของศัตรูพืช    และสภาพแวดล้อมทั่วไปหรือระบบนิเวศน์ เช่น ชนิดและความหนาแน่นของศัตรูพืชที่พบ ระยะการเจริญเติบโตและความหนาแน่นของพืชหลักพืชข้างเคียง  และวัชพืชชนิด  และความหนาแน่นของศัตรูธรรมชาติ  ลักษณะพื้นที่สภาพดิน  น้ำ  อากาศ  ฝนตก  แดดออก  แห้งแล้ง  ฯลฯ

2.  การวิเคราะห์ข้อมูล    เมื่อมีการสำรวจสถานการณ์ทั่วไปแล้วก็มีการรวบรวมข้อมูลที่ได้จากการสำรวจ  แล้วนำมาวิเคราะห์ว่าข้อมูลต่าง ๆ  ที่ได้จากการสำรวจนั้น   มีสถานการณ์เป็นอย่างไร  เช่น  มีศัตรูธรรมชาติหนาแน่นมากพอที่จะควบคุมศัตรูพืชได้หรือไม่    ระยะการเจริญเติบโตของ  ต้นพืชอยู่ในระยะที่ปลอดภัยจากการทำลายของศัตรูพืชหรือไม่   ศัตรูพืชหนาแน่นพอที่จะทำให้เกิด     ความเสียหายแก่พืชหลักได้หรือไม่อย่างไร เป็นต้นซึ่งข้อมูลต่าง ๆ   ที่รวบรวมและนำมาวิเคราะห์เหล่านี้     จะนำไป สู่การตัดสินใจที่ดี

3.  การตัดสินใจ     เกษตรกรที่ได้มีการสำรวจ  รวบรวมข้อมูล  และนำข้อมูลมาวิเคราะห์  จะสามารถตัดสินใจด้วยตนเองได้ว่า  ควรจะเลือกใช้วิธีการควบคุมศัตรูพืชที่มีอยู่วิธีการใดบ้าง  ที่เหมาะสมกับสถานการณ์ของศัตรูพืช     และสภาพแวดล้อมที่เป็นอยู่ในขณะนั้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ  ประหยัด   และปลอดภัยต่อเกษตรกรมากที่สุด

6.  การเก็บเกี่ยวข้าวให้มีคุณภาพ

การเก็บเกี่ยวข้าวให้มีคุณภาพ  ควรเก็บเกี่ยวในระยะพลับพลึง  คือ  ระยะ  30  -  35  วันหลังจากข้าวออกดอก   ข้าวแต่ละรวงสุกเหลืองประมาณ  3  ใน  4  ส่วน  จะทำให้ได้ข้าวคุณภาพดี     เมื่อนำไปลดความชื้นแล้ว  สีเป็นข้าวสารจะได้ข้าวเต็มเมล็ดจำหน่ายได้ราคาดี  การเก็บเกี่ยวข้าวในระยะพลับพลึง  จะมีความชื้น  21 – 24 %  ข้าวร่วงหล่นยาก  เกิดความสูญเสียน้อย  เมื่อเกษตรกรเก็บเกี่ยวข้าวแล้ว  ต้องลดความชื้นทันทีด้วยเครื่องอบลดความชื้นหรือตากแดด

7.  การเก็บรักษาข้าวไว้ทำพันธุ์

การเก็บรักษาข้าวไว้ทำพันธุ์   ควรเลือกแปลงที่ดูแลโดยเฉพาะ  เพื่อเก็บไว้ทำพันธุ์  คือ  คัดพันธุ์ปนไม่สม่ำเสมอออก  ควรเก็บไว้ในกระสอบ  ขณะที่มีความชื้นไม่ควรเกิน  14 %  เก็บไว้ในยุ้งฉางที่ระบายอากาศได้ดี  และสามารถป้องกันแมลงศัตรูได้  และควรมีป้ายบอกข้อมูลที่จำเป็น  เช่น  ชื่อพันธุ์  วัน  เดือน  ปี  ที่เก็บ  ผู้ติดไว้ทุกกระสอบ  ตั้งกระสอบเรียงให้เป็นระเบียบ

RRRRRRRRRRRRRRR

ผู้เขียนขอให้กำลังใจกับทีมงานส่งเสริมการเกษตรทุกท่านได้สู้เพื่อเกษตรกรต่อไปครับ 

ขอแนะนำอิทธิบาท 4 ไว้ครับ    

ฉันทะ       ความพึงพอใจที่จะส่งเสริมให้เขามีความสุข

วิริยะ        ด้วยความเพียรพยายาม

จิตตะ        ด้วยความใส่ใจ

วิมังสา      ใคร่คราญพิจารณาเรื่อยๆ  เพื่อการปรับกลยุทธ์ต่อไป..............ครับ

RRRRRRRRRRRRRRR

 

หมายเลขบันทึก: 175765เขียนเมื่อ 7 เมษายน 2008 21:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:55 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

สวัสดีครับ

ขอเป็นกำลังใจให้ด้วยนะครับกับชาวนาทุกคน

และผู้เขียนด้วยนะครับ

i really interest in this web page .

then how can i get more information about IPM ?

ขอบคูณสำหรับข้าวทุกเม็ด

ที่ผลิตมาให้พวกเราชาวสุโขทัย

ได้ข้อมูลที่ดีมากเลย ขอบคุณค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท