อ้วน+ไม่ฟิตวันนี้ อีก 17 ปีเสี่ยงเบาหวานเท่าไร


น้ำหนักตัวเกินมาตรฐาน โรคอ้วน และการออกแรง-ออกกำลังน้อยเพิ่มความเสี่ยงโรคเบาหวาน วันนี้มีผลการศึกษาที่ช่วยทำนาย หรือพยากรณ์ได้ว่า ถ้าอ้วนและไม่ฟิตวันนี้ อีก 17 ปีจะเสี่ยงเบาหวานเพิ่มเป็นกี่เท่ามาฝากครับ

...

น้ำหนักตัวเกินมาตรฐาน โรคอ้วน และการออกแรง-ออกกำลังน้อยเพิ่มความเสี่ยงโรคเบาหวาน วันนี้มีผลการศึกษาที่ช่วยทำนาย หรือพยากรณ์ได้ว่า ถ้าอ้วนและไม่ฟิตวันนี้ อีก 17 ปีจะเสี่ยงเบาหวานเพิ่มเป็นกี่เท่ามาฝากครับ

ท่านอาจารย์ดอกเตอร์ซูไม ซุบ (Dr. Xuemei Sui) และคณะ แห่งมหาวิทยาลัยเซาต์ แคโรไลนา โคลัมเบีย สหรัฐฯ ทำการศึกษากลุ่มตัวอย่างผู้หญิง 6,249 คน อายุ 20-79 ปี ติดตามไป 17 ปี

...

ผลการศึกษาพบว่า คนที่น้ำหนักเกิน หรืออ้วนมีความเสี่ยงเบาหวานมากขึ้นดังตาราง

น้ำหนัก ความเสี่ยงเบาหวาน (เท่า)
น้ำหนักเกินมาตรฐาน 2.3 เท่า
อ้วน 3.7 เท่า

...

น้ำหนักเกินมาตรฐานตามเกณฑ์ฝรั่งนิยมคิดจากดัชนีมวลกาย (body mass index / BMI) โดยนำน้ำหนักเป็นกิโลกรัมมาตั้ง หารด้วยส่วนสูงเป็นเมตร 2 ครั้ง

  • ค่าปกติของฝรั่งไม่เกิน 25
  • น้ำหนักเกินคือ BMI = 25-30
  • ส่วนอ้วนคิดที่ BMI = 30 ขึ้นไป

...

คนไทยและคนเอเชียมีโครงสร้างเล็กกว่าฝรั่ง

  • ค่าปกติของคนไทยคิด BMI = 18.5-22.9
  • อ้วนระดับ 1 คือ BMI = 23.0-29.9
  • อ้วนระดับ 2 คือ BMI = 30.0-39.9
  • อ้วนระดับ 3 คือ BMI = มากกว่า 40

...

ทีนี้ถ้ามาดูฝ่ายความฟิตหรือความแข็งแรงทางกายบ้าง อาจารย์ซุยกล่าวว่า การศึกษาครั้งนี้แบ่งความฟิตเป็น 3 กลุ่มตามผลการตรวจด้วยลู่วิ่ง-เดินไฟฟ้า (treadmill) หรือความฟิตทางแอโรบิคในการเดิน วิ่ง

คนที่ฟิตมากหรือแข็งแรงมาก จะเดินหรือวิ่งได้เร็วกว่า ไกลกว่าคนที่ฟิตน้อยหรือแข็งแรงน้อย

...

ผลการศึกษาพบว่า ถ้าแบ่งระดับความฟิตเป็น 3 กลุ่ม คนที่อยู่กลุ่มฟิตมากและฟิตปานกลางมีความเสี่ยงเบาหวานน้อยกว่ากลุ่มฟิตน้อยอย่างชัดเจน

กลุ่มคนที่เสี่ยงเบาหวานน้อยที่สุดคือ ไม่อ้วนด้วยและฟิตด้วย

...

อาจารย์ซุยฝากมาบอกพวกเราว่า ถ้าจะป้องกันเบาหวานให้ดีแล้ว ขอไม่อ้วนด้วยและขอฟิตด้วย จึงจะดีที่สุด

ถึงตรงนี้... ขอให้พวกเรามีสุขภาพดีไปนานๆ ครับ

...

ที่มา                                                  

  • Thank Reuters > Fitness, body weight impact type 2 diabetes risk > [ Click ] > April 2, 2008. / J Diabetes Care. March 2008.
  • ข้อมูลและการอ้างอิงในบล็อก "บ้านสุขภาพ" เป็นไปเพื่อส่งเสริมสุขภาพ และป้องกันโรค ไม่ใช่รักษาโรค
  • ท่านที่มีโรคประจำตัวควรปรึกษาหมอ พยาบาล เภสัชกร หรืออนามัยที่ดูแลท่านก่อนนำข้อมูลไปใช้
  • ขอขอบคุณอาจารย์ณรงค์ ม่วงตานี + อาจารย์เบนซ์ iT ศูนย์มะเร็งลำปาง > สนับสนุนเทคนิค iT.
  • นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์ > 3 เมษายน 2551.
หมายเลขบันทึก: 175247เขียนเมื่อ 4 เมษายน 2008 19:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 เมษายน 2012 02:06 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ไม่อนุญาตให้แสดงความเห็น
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท