ยาฆ่าแมลง เพิ่มเสี่ยงพาร์คินสัน (สมองเสื่อม+มือสั่น+ตัวเกร็ง)


ยาฆ่าแมลงอาจทำให้เกิดอาการป่วยประหลาดๆ ได้หลายอย่าง เช่น อ่อนเพลีย ไม่มีแรง มึนงง ฯลฯ โดยเฉพาะคนที่ทำงานพ่นยา หรือได้รับอาหารที่มียาฆ่าแมลงขนาดสูงติดต่อกันนานๆ

 

...

เป็นที่ทราบกันดีว่า ยาฆ่าแมลงอาจทำให้เกิดอาการป่วยประหลาดๆ ได้หลายอย่าง เช่น อ่อนเพลีย ไม่มีแรง มึนงง ฯลฯ โดยเฉพาะคนที่ทำงานพ่นยา หรือได้รับอาหารที่มียาฆ่าแมลงขนาดสูงติดต่อกันนานๆ

วันนี้มีข่าวผลการศึกษาพบว่า ยาฆ่าแมลงเพิ่มโรคสมองเสื่อมพาร์คินสัน (Parkinson's disease) มาฝากครับ

...

พาร์คินสันเป็นโรคสมองเสื่อมเฉพาะส่วน (substantia nigra) ไม่ได้เสื่อมไปทุกส่วน ทว่า... มีส่วนทำให้เกิดอาการเกร็งและสั่นในส่วนต่างๆ ของร่างกายหลายส่วนด้วยกัน โดยเฉพาะใบหน้า มือ และลำตัว

ตำแหน่งที่พบอาการบ่อยได้แก่

  • ใบหน้า > หน้าเกร็ง-ยิ้มไม่ออก ดู "เหี้ยม" นิดหน่อย (โปรดสังเกตว่า "เหี้ยม" มีตัว "ม" ไม่เหมือนใจคนบางคน) ทั้งที่ไม่ได้ตั้งใจ (จากการเกร็งของกล้ามเนื้อใบหน้า) อาจารย์ท่านกล่าวว่า คล้ายกับ "หน้าใส่หน้ากาก (masked face)" 
  • มือ > มือสั่น อยู่ไม่สุข คล้ายๆ คนปั้นยาลูกกลอน เรียกว่า "มือปั้นยา (rolling pills)"
  • ลำตัว > ตัวเกร็ง หลังแข็ง โน้มไปทางด้านหน้า

...

โปรดสังเกตว่า อาการเหล่านี้คล้ายๆ กับอาการของคนที่กำลังโกรธอย่างมาก ซึ่งมักจะมีหน้าเกร็ง มือสั่น และตัวเกร็ง

ขอให้พวกเราหมั่นฝึกสังเกตคนอื่นเวลาโมโหดู... โดยเฉพาะผู้บริหารบางคนนี่จะคล้ายเป็นโรคพาร์คินสันมากเป็นพิเศษ

...

คณะนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยดุค มหาวิทยาลัยไมอามี และศูนย์วิจัยเพื่อความเป็นเลิศด้านโรคพาร์คินสันอูดาลล์ สหรัฐฯ ทำการศึกษาคนไข้ 319 คน

เปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม ซึ่งเป็นสมาชิกในครอบครัวที่ไม่เป็นโรค และกลุ่มควบคุมที่ไม่ใช่สมาชิกในครอบครัว รวม 200 คน

...

ผลการศึกษาพบว่า

ความเสี่ยงจากยาฆ่าแมลง / ยาปราบศัตรูพืช ความเสี่ยงโรคพาร์คินสัน

ได้รับเป็นประจำ

1.6 เท่า
ได้รับมากกว่า 200 วัน(ตลอดชีวิต) มากกว่า 2 เท่า

...

เรียนเสนอให้พวกเราหันมาเลือกกินอาหารที่ไม่ใช้ยาฆ่าแมลงกัน ทีนี้ถ้าทำไม่ได้... การล้างผักผลไม้ให้ถูกวิธีมีส่วนช่วยได้ และจะดีที่สุดถ้าทำพืชผักสวนครัวกินเองแบบเศรษฐกิจพอเพียง

ถึงตรงนี้... ขอให้พวกเรามีสุขภาพดีไปนานๆ ครับ

...

ที่มา                                                  

  • Thank BBC > Pesticide Parkinson's link strong > [ Click ] > March 28, 2008. / BMJ Neurology.
  • ข้อมูลและการอ้างอิงในบล็อก "บ้านสุขภาพ" เป็นไปเพื่อส่งเสริมสุขภาพ และป้องกันโรค ไม่ใช่รักษาโรค
  • ท่านที่มีโรคประจำตัวควรปรึกษาหมอ พยาบาล เภสัชกร หรืออนามัยที่ดูแลท่านก่อนนำข้อมูลไปใช้
  • ขอขอบคุณอาจารย์ณรงค์ ม่วงตานี + อาจารย์เบนซ์ iT > สนับสนุนเทคนิค iT.
  • นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์ โรงพยาบาลห้างฉัตร ลำปาง > 31 มีนาคม 2551.
หมายเลขบันทึก: 175228เขียนเมื่อ 4 เมษายน 2008 19:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 23:27 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ไม่อนุญาตให้แสดงความเห็น
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท