ยกระดับราคาข้าว : B2C กับ ห่วงโซ่อุปทาน


จุดที่ดีและเหมาะสมที่สุดอยู่ตรงไหน ระหว่างการผูกขาดเพื่อสร้างความเป็นหนึ่งเดียวโดยรัฐ กับการปล่อยให้เอกชนส่งออกข้าวอย่างเสรีในอย่างปัจจุบัน

หลังจากที่ได้มีโอกาสเสวนากับเพื่อน ๆ ชาวเวียตนาม ผมเห็นทั้งจุดอ่อนและจุดแข็งของระบบเวียตนาม คือ

จุดแข็ง

  • ประเทศเขาจะมีหันซ้าย หันขวา หรือดำเนินการโครงการใด ๆ ที่รัฐเห็นชอบได้อย่างรวดเร็ว
  • คนเก่ง ๆ ระดับอัจฉริยะมีไม่น้อย โดยเฉพาะคนที่รัฐสนับสนุน

จุดอ่อน

  • ลึก ๆ แล้วคนเวียตนามจะเหมือนลูกที่พ่อแม่ใช้พระเดชกำราบอย่างหนัก เขาขาดอิสระภาพทางความคิด คือ ความคิดฉลาดแต่ขาดอิสระทางความคิดสร้างสรรค์ เขาพูดและทำได้อย่างจำกัดเกินไป
  • ถ้าเวียตนาม แข่งขันกับไทยในทางธุรกิจแล้ว ในระยะสั้น ๆ แล้ว เวียตนามจะวิ่งได้เร็วและเป็นระบบกว่า แต่ในระยะยาวเขาจะสู้ไม่ได้ เพราะ เหมือนเอาไมค์ไทสันคนเดียว มาชกกับนักชกอีกเป็น 10 เป็น 100 คน

ประเด็นอยู่ที่ว่า ในโลกของการเปลี่ยนแปลง การผูกขาดหรือรวบอำนาจบริหารโดยรัฐ จะสร้างความอ่อนแอในระยะยาวหรือไม่ ?

การส่งออกข้าวก็เช่นเดียวกัน ถ้ารัฐมาผูกขาด เป็นบริษัท ประเทศไทยส่งออกข้าว จำกัด มีผลดีหลายอย่าง เช่น 

  • เงินถึงมือชาวนามากขึ้น เพราะตัดปัญหาพ่อค้าคนกลาง
  • การสร้างความร่วมมือกับชาติผู้ส่งออกข้าวด้วยกันได้ดีขึ้น
  • มีอำนาจต่อรองมากขึ้น ลดปัญหาการตัดราคากันเองในตลาดโลก เป็นต้น

แต่ถ้าปล่อยให้เอกชนทำเหมือนในปัจจุบัน ข้อดีก็คือ เหมือนกับปล่อยเรือที่มีความอิสระออกไปช่วยกันทำตลาด เหมือนหลายคนช่วยกันทำงานในระบบทุนนิยม

จุดที่ดีและเหมาะสมที่สุดอยู่ตรงไหน ระหว่างการผูกขาดเพื่อสร้างความเป็นหนึ่งเดียวโดยรัฐ กับการปล่อยให้เอกชนส่งออกข้าวอย่างเสรีในอย่างปัจจุบัน

คำสำคัญ (Tags): #ข้าว
หมายเลขบันทึก: 174910เขียนเมื่อ 3 เมษายน 2008 09:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 พฤษภาคม 2012 22:34 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท