คิดแย้งใน "ครึ่งหนึ่งที่ถูกลืม"


The Forgotten Half of Change หน้า 35-36 "คำถามที่ต้องตอบเพื่อการเปลี่ยนแปลง 4 ข้อ "

     ในหนังสือ “ครึ่งหนึ่งที่ถูกลืม” หรือ The Forgotten Half of Change หน้า 35-36 ได้กล่าวถึง คำถามที่ต้องตอบเพื่อการเปลี่ยนแปลง 4 ข้อ คือ มันอยู่ที่ไหน เกิดได้อย่างไร ทำไมมันเกิดขึ้น ถูกหรือผิดที่เป็นเช่นนั้น

     เมื่อได้อ่านแล้ว คิดแย้งว่าควรจะถาม 4 ข้อนี้มากกว่าคือ มันอยู่ได้อย่างไร อะไรทำให้มันคงอยู่อย่างนั้นได้ เราจะได้ประโยชน์อะไรจากการที่มันมีอยู่ และใครจะเสียประโยชน์บ้างเมื่อเราจจะใช้ประโยชน์จากที่มันมีอยู่นั้น

     ทบทวนอีกที เข้าใจว่าคำถามเหล่านี้ เกิดขึ้นเพราะกระบวนทัศน์ต่างกัน หาใช่ใครผิด-ถูกเสียทีเดียว เพียงแต่กระบวนทัศน์ไหนเหมาะกับสถานการณ์กว่ากันเท่านั้น

หมายเลขบันทึก: 174886เขียนเมื่อ 3 เมษายน 2008 01:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มีนาคม 2015 08:32 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

P

ชายขอบ

 

ความเห็นจากหนังสือ...

  1. มันอยู่ที่ไหน
  2. เกิดได้อย่างไร
  3. ทำไมมันเกิดขึ้น
  4. ถูกหรือผิดที่เป็นเช่นนั้น

 

ความเห็นของอาจารย์...

  1. มันอยู่ได้อย่างไร
  2. อะไรทำให้มันคงอยู่อย่างนั้นได้
  3. เราจะได้ประโยชน์อะไรจากการที่มันมีอยู่ 
  4. ใครจะเสียประโยชน์บ้างเมื่อเราจจะใช้ประโยชน์จากที่มันมีอยู่นั้น

 

ไม่เห็นข้อแตกต่าง จึงลองลอกมาเทียบเคียงดู...

เจริญพร

น้องชายขอบ และนมัสการท่านพระอาจารย์มหาชัยวุธ

แวะมาเยี่ยมเฉยๆ ดีใจเจอศิษย์วัดคุยอยู่กับพระอาจารย์ท่านมหาฯพอดี

เห็นสองเจ้าสำนักคิด คิดต่างกันนิดหน่อยครับ

เจ้าแรกหลักคิดใหญ่มุ่งหาคำตอบเกี่ยวกับการเกิด ส่สวนของน้องบ่าวอันหลัง มุ่งหาคำตอบเกี่ยวกับการดำรงอยู่

นมัสการหลวงพี่ชัยวุธ

     ผมว่าต่างกันนะครับ ส่วนหลวงพี่ว่าไม่ต่าง งั้นสรุปเอาตอนนี้ก่อน (ไปเคลียร์งานแล้วจะกลับมาอีกที) ว่า คห.หลวงพี่ กับ คห.ผมต่างกัน (555)

สวัสดีครับพี่บ่าว...ครูนง

     ของหนังสือผมติดใจข้อคำถามที่ 4 ครับ การตัดสินว่าถูกหรือผิด บางทีก็ไม่เหมาะนักในทุกเรื่อง (หรือจริตผมจะชอบ Analog มากกว่า Digital ก็เป็นได้)
     เติมอีกนิดตามที่พี่บ่าวสรุปไว้ คห.ผมจะเน้นไปที่การใช้ประโยชน์สูงสุด (Maximize Utilization)

เรียนท่านน้องชายขอบ ไม่รู้ว่า ลืม ครึ่งใด หนอ

สวัสดีค่ะพี่

นมัสการหลวงพี่ชัยวุธ และ

เรียนคุณชายชอบ

ความคิดเห็นจากหนังสือเป็นมุมมองแบบนักตัดสิน

ด้านความคิดของอาจารย์นั้น เป็นมุมมองแบบนักเรียนรู้

เหมือนคนสองคนที่มองในสิ่งเดียวกัน

แต่มองมาจากคนละมุมก็จะเห็นออกมาต่างกัน

ด้วยถุกผู้มองนั้นต่างมีมุมมองส่วนตัว

คำถามหรือความคิดแย้งที่เกิดขึ้นหลังอ่านหนังสือ

อาจเป็น ครึ่งหนึ่งที่ถุกลืม ที่ผู้อ่านแต่ละท่านได้ค้นพบก็เป็นไปได้ครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท