ครั้งแรกกับที่นี่ BUG (Bangkok University Gallery)


เราไม่จำเป็นต้องเข้าใจทุกเรื่องราวที่เกิดขึ้นกับชีวิต และศิลปะก็ได้เปิดปลายให้กว้างไว้เพื่อให้ผู้ชมไปขบคิดต่ออย่างอิสระไม่มีข้อจำกัดว่าความคิดนั้นผิดหรือถูก

ตั้งแต่หอศิลป มหาวิทยาลัยกรุงเทพ เปิดตัวพื้นที่หอศิลปแห่งใหม่โดยย้ายจากพื้นที่เดิมที่ชั้น 3อาคาร 9 วิทยาเขตกล้วยน้ำไท ไปอยู่ที่อาคารนานาชาติ ซึ่งจัดสร้างใหม่ภายในวิทยาเขตเดียวกัน  ผู้เขียนก็ยังไม่ได้มีโอกาสไปดูนิทรรศการศิลปะที่นี่เลยสักที  ก่อนหน้านี้ราวๆ เกือบปีได้อ่านข่าวจากกรุงเทพธุรกิจออนไลน์ซึ่งเนื้อหากล่าวว่า ว่ากันว่า ที่นี่อาจจะเป็นหนึ่งในหอศิลป์ที่มี Art Space (พื้นที่แสดงงานศิลปะ) ที่ดีที่สุดในประเทศไทย เพราะอาคาร 'หอศิลป์มหาวิทยาลัยกรุงเทพ' มูลค่ากว่า 100 ล้านถูกสร้างมาเพื่อจุดประสงค์นี้โดยเฉพาะ  ก็ยิ่งน่าสนใจ แต่จากวันนั้นนับเป็นเวลานานเป็นปีที่ยังไม่มีโอกาสได้แวะไปอย่างที่ตั้งใจ 

 

แล้วจู่ๆ ผู้เขียนก็ได้รับ e-mail จากพี่บอล(อาจารย์ปิยลักษณ์ เบญจดล)  เกี่ยวกับข่าวประชาสัมพันธ์การนำเสนอผลงานนิวมีเดีย ในโครงการ 5th Asia-Europe Art Camp หัวข้อ “Re-Vision Bangkok: New Media Art and Interactivity” ซึ่ง จัดโดยคณะศิลปกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยกรุงเทพ  Asia-Europe Foundation (ASEF) และหอศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร  ในวันเสาร์ที่ 29 มีนาคม 2551  ผู้เขียนจึงรีบตอบรับไปทันทีและดีใจว่าคราวนี้จะได้ไปที่หอศิลปมหาวิทยาลัยกรุงเทพแห่งใหม่นี้ซะที

วันนั้นเดินทางไปถึงที่หน้าหอศิลป์ ราวๆ 17.00 น. อากาศกำลังสบายๆ ไม่ร้อนมาก เพราะที่หน้าหอศิลป์เป็นพื้นที่โปร่งโล่ง(สามารถใช้จัดกิจกรรมศิลปะกลางแจ้งหรืออื่นๆ ได้) มีที่ให้นั่งพักหลายจุด  และมีร้านกาแฟน่านั่ง (แต่ไปคราวนี้ยังไม่ได้เข้าไปนั่งค่ะได้แต่แอบมองไว้ก่อน) เมื่อขึ้นไปบนอาคาร ก็จะพบห้องแสดงงานอยู่ด้านขวามือ  จึงได้แวะเข้าไปดูงานที่กำลังจัดแสดงอยู่ก่อนจะเข้าไปที่ส่วน Event Stair ทางฝั่งซ้ายมือซึ่งไม่ไกลจากกัน  เจ้าหน้าที่ด้านหน้าห้องแสดงงานแจ้งว่ายังมีห้องจัดแสดงงานที่ชั้น 4 อีกด้วย  แต่เห็นว่าใกล้เวลา 17.30 น. ซึ่งกิจกรรม Public Presentation ใกล้จะเริ่มแล้วก็เลยไม่ได้ขึ้นไปดู(แต่อย่างไรก็ตามคราวหน้าไปจะต้องขอดูให้ทั่วทุกห้องจัดแสดงเชียวค่ะ) อ้อ...ลืมบอกไปว่า ที่นี่เข้าชมฟรีไม่ต้องเสียค่าเข้าชมใดๆ ค่ะ

ภายในส่วน Event Stair มีลักษณะเป็นขั้นบันไดกว้างๆ ให้เลือกนั่งกันได้ตามสบาย  ผู้เขียนกับเพื่อนเลือกขึ้นไปนั่งด้านบนสุด ด้วยหวังมุมมองที่กว้างไกล ซึ่งก็ไม่ผิดหวัง  หลังจากที่นั่งสำรวจคนที่อยู่ภายในพื้นที่นี้ก็พบว่าสมาชิกในห้องส่วนใหญ่เป็นศิลปินรุ่นใหม่ทั้งจากประเทศไทย ประเทศในแถบเอเชียอื่นๆ และยุโรป  ซึ่งพี่บอลได้ให้ข้อมูลไว้ว่าเป็นศิลปินนิวมีเดียรุ่นใหม่ 22 คน จาก 18 ประเทศ ทั่วโลก นอกเหนือจากนี้ก็มีคณาจารย์และผู้ที่มาชมมาเชียร์อย่างเช่นผู้เขียนอีกส่วนหนึ่ง  การนำเสนองานในครั้งนี้จึงมีผลงานศิลปะและภาษาอังกฤษเป็นสื่อกลางในการนำเสนอ  (ซึ่งผู้เขียนก็แอบหวั่นใจไปกับข้อจำกัดด้านภาษาของตัวเองอยู่ด้วยค่ะ)

เมื่อผู้ใหญ่จากหน่วยงานร่วมจัดมากันพร้อมหน้า  พิธีการก็เริ่มต้นขึ้นแบบกึ่งทางการ(เพราะดูสบายๆ ไม่เคร่งเครียดชวนอึดอัด) มีการกล่าวถึงความเป็นมาต่างๆ ของโครงการ ผู้ใหญ่จากแต่ละหน่วยงานพูดกันครบถ้วน และมีการมอบประกาศนียบัตรให้กับศิลปินและอาสาสมัครของโครงการ  แล้วจึงจะถึงคิวที่ศิลปินนำเสนอผลงานเป็นกลุ่มๆ ซึ่งส่วนนี้ได้รับข้อมูลจากพี่บอลมาอีกเช่นกันว่า ศิลปินจะรวมกันเป็น 4 กลุ่มแยกตามสถานที่ต่างๆ และมีคีย์เวิร์ดในการสร้างงาน  คือ กลุ่มวัดโพธิ์: Nutchaphan (Thailand) Jolene (Hong Kong) Miha (Slovenia) Tan Dat (Vietnam) Mihaela (Bulgaria) Keyword สำหรับเก็บข้อมูล: Synchronicity / Visible-Invisible / Sweat / Map  กลุ่มสยามสแควร์: Boonsri (Thailand) Jazmi (Malaysia) Lisa (Japan) Bat-Amgalan (Mongolia) Adam (UK) Maria (Portugal) Keyword สำหรับเก็บข้อมูล: Link-Click/ Bio-Craft / Line / Longitude-Latitude  กลุ่มสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอส: Adithep (Thailand) Andreas (Indonesia) Branko (Austria) Jette (Denmark) Darrah (Ireland) Rares (Romania)  Keyword สำหรับเก็บข้อมูล: Fluid / Pollution / Death / Path / Open-end / Intervention / Derive  และกลุ่มสุดท้าย คือ กลุ่มถนนข้าวสาร: Preeyachanok (Thailand) Tengal (Philippines) Timo (Estonia) Birte (Germany) Maris (Latvia)  ใช้ Keyword สำหรับเก็บข้อมูล: Senses-Sensors / Poetry / Knot / Food / Landscape 

ซึ่งกระบวนการทำงานศิลปะก็คือ การที่ศิลปินทั้ง 4 กลุ่ม จะเข้าไปสังเกตการณ์ เก็บข้อมูล ตีความ ในพื้นที่ 4 แห่ง จากนั้นศิลปินจะแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ตั้งคำถามและสร้างกระบวนการทางความคิดร่วมกัน  จนกระทั่งสร้างสรรค์ออกมาเป็นงานศิลปะภายใต้บริบทของสถานที่  โดยใช้นิวมีเดียเป็นสื่อในการสร้างปฏิสัมพันธ์โต้ตอบระหว่างตัวศิลปินเองกับพื้นที่และระหว่างศิลปินกับผู้คนทั้งไทยและต่างชาติที่ใช้พื้นที่ร่วมกัน 

อ่านมาถึงตอนนี้ก็รู้สึกงงๆ สงสัย และอยากรู้ว่าศิลปินจะทำงานศิลปะหน้าตาออกมาอย่างไรกัน  คิดในใจยังไม่ทันได้คำตอบ  ก็ได้เวลาที่ศิลปินเข้าจะเริ่มนำเสนองานกันแล้วล่ะค่ะ  ระหว่างที่ศิลปินกลุ่ม วัดโพธ์เตรียมความพร้อมนำเสนองานเป็นกลุ่มแรก  ก็จะมีเอกสารแจกให้ผู้ที่ร่วมชมได้รู้จักโครงการ ผู้เกี่ยวข้องต่างๆ และศิลปินในโครงการนี้กันอย่างคร่าวๆ พร้อมด้วยกระดาษครึ่งแผ่น A4 ที่มีconcept และคำร้องขอให้ทำตามป้ายต่างๆ ที่จะโชว์ขึ้นมาระหว่างการนำเสนองาน Wat-Pho-VIP ซึ่งเป็นชื่องานของกลุ่มแรกมาให้อ่านกันระหว่างรอ  (ผู้เขียนนึกไปถึงเมื่อคราวที่ต้องนำเสนองานหน้าชั้นเรียน ป.โท ด้วยสื่อประกอบการนำเสนอที่สุดแสนจะอลังการ  แล้วหันคุยกับเพื่อนว่า จริงๆ เราทำเอกสารเรียบๆ ง่ายๆ แค่นี้ก็เพียงพอแล้วนะเพราะสิ่งที่สำคัญที่สุดคือวิธีคิดมากกว่า) 

 

การนำเสนอของกลุ่มวัดโพธิ์เป็นไปอย่างสนุกสนาน มีรอยยิ้ม เสียงหัวเราะ เพราะผู้ชมมีส่วนร่วมในการนำเสนองานของกลุ่มนี้กันถ้วนหน้าด้วยการยืนขึ้น นั่งลง ปรบมือ ร้องฮู ฯลฯ ตามป้ายคำสั่งที่ศิลปินจะโชว์ขึ้นมาในแต่ละช่วงเวลาซึ่งสอดคล้องกับเนื้อหาวีดีโอที่กำลังนำเสนอเรื่องราว  เสมือนผู้ชมได้ร่วมสร้างงานไปกับศิลปิน แม้แต่ผู้เขียนก็เพลิดเพลินจนลืมข้อจำกัดด้านภาษาและการบีบคั้นตัวเองให้เข้าใจเนื้อหาของงาน   

กลุ่มต่อไปเป็นกลุ่มสยามสแควร์  การนำเสนอมีวีดีโอที่มีภาพศิลปินในกลุ่มเดินอยู่ภายใต้ร่มสีเหลืองที่มีผ้าบางๆ สีเดียวกันคลุมไว้ (ลักษณะคล้ายกรดของพระธุดงค์ในศาสนาพุทธ)เดินไปมาตามจุดต่างๆ บริเวณสยามสแควร์(ซึ่งมีมุมภาพและองค์ประกอบของภาพสวยงามทีเดียว)  ตัดสลับกับปฏิกิริยาสีหน้าของผู้คนที่อยู่ในบริเวณนั้น  ประกอบกับการเคลื่อนไหวร่างกายแบบช้าบ้างเร็วบ้างของศิลปินหญิงชาวญี่ปุ่น  ผู้เขียนคิดเอาเองว่าคล้ายลีลาของโยคะและการเต้นรำผสมผสานกัน  ในขณะที่ศิลปินหนุ่มอีกคนยืนสงบนิ่งอยู่ในกรดเช่นเดียวกันกับภาพในวีดีโอ  สำหรับงานของกลุ่มนี้เพื่อนผู้เขียนแอบกระซิบบอกว่าไม่เข้าใจศิลปินสาวชาวญี่ปุ่นที่กำลังเคลื่อนไหวร่างกายนั้นสื่อความหมายถึงอะไร  ผู้เขียนแอบคิดเอาเองว่าเป็นการสื่อถึงความวุ่นวายสับสนที่เคลื่อนไหวและคืบคลานแทรกซึมไปทั่วบริเวณ   แต่ข้อสันนิฐานนี้ไม่เป็นที่ยืนยันนะคะ  เพราะเป็นเพียงแค่ความคิดจากผู้เขียนเพียงคนเดียวเท่านั้น  เราไม่จำเป็นต้องเข้าใจทุกเรื่องราวที่เกิดขึ้นกับชีวิต  และศิลปะก็ได้เปิดปลายให้กว้างไว้เพื่อให้ผู้ชมไปขบคิดต่ออย่างอิสระไม่มีข้อจำกัดว่าความคิดนั้นผิดหรือถูก

 

ผู้เขียนดูได้แค่ 2 กลุ่มแรก แล้วจากนั้นก็เริ่มหิวเลยไม่ได้ดูจนครบทุกกลุ่มต้องบอกลาพี่บอลกลับออกมาก่อน(ซึ่งภายนอกก็ฟ้าก็มืดแล้วอีกเช่นกัน)  คราวนี้ต้องขอบคุณพี่บอลที่ส่งข่าวดีๆ มาบอก  และคงต้องหาโอกาสกลับไปที่หอศิลป์อีกหลายๆ ครั้ง แน่นอนค่ะ

หมายเลขบันทึก: 174586เขียนเมื่อ 1 เมษายน 2008 15:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:54 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (18)

สวัสดีคะ แวะมาติดตาม

โชคดีของน้องๆ นะคะ ที่มีหอศิลปในมหาวิทยาลัย จึงทำให้ได้เรียนรู้อะไรเพิ่มมากขึ้น

พี่แจ๋วพาทัวร์ได้สนุกดีด้วยคะ

ขอบคุณค่ะ...

อ่านแล้ว...สนุก..แม้จะเป็นเรื่องเล่าภายใต้..

มุมมองของผู้เขียน..แต่นั่นแหละค่ะ...

ทำให้ผู้อ่านรู้สึก...สนุกไปตามอารมณ์ความรู้สึกนึกคิดของผู้เขียนค่ะ...

(^_____^)

กะปุ๋ม

สถาบันการศึกษาหลายๆ ที่ มีหอศิลป์ของตัวเองค่ะน้องมะปรางเปรี้ยว

อาจเป็นเพราะบ้านเรายังไม่มีหอศิลป์ดีๆ ที่รัฐเป็นเจ้าภาพจัดสร้างหรือเปล่าก็น่าจะเป็นเหตุข้อหนึ่งได้

จะว่าไปแล้วบ้านเราควรจะมีหอศิลป์ มีโรงละคร ให้มากกว่าห้างสรรพสินค้านะคะ ถ้าเป็นไปได้จะดีต่อสังคมมากๆ

ขอบคุณน้องมะปรางเปรี้ยวที่มาทัวร์หอศิลป์กับพี่แจ๋วนะคะ

แล้วจะพาไปเที่ยวอีกค่ะ

สวัสดีค่ะคุณ Ka_Poom

ขอบคุณที่แวะมาอ่าน และแสดงความคิดเห็นค่ะ

โดยปกติทั่วไปคนส่วนใหญ่ไม่ไปหอศิลป์ถ้าไม่จำเป็น

ก็เลยคิดว่าเขียนให้อ่านสบายๆ เหมือนกับได้ไปเที่ยวก็น่าจะดี เลยลองดูค่ะ

ขอบคุณค่ะ

อยากไปดูหอศิลป์เค้ามั่งจังค่ะ...

คงจะยิ่งใหญ่...อลังการณ์...และมีงานศิลปะมากมายเลย...

สวัสดีค่ะ

ได้เข้ามาอ่านทำให้เปิดโลกทัศน์ มีหอศิลป์ใหม่สวยอย่างนี้ ขอบคุณที่นำมาเล่าให้ฟัง ต้องหาโอกาสอยากไปดูบ้างค่ะ

สวัสดีค่ะคุณ Wardah

หอศิลปมหาวิทยาลัยกรุงเทพ เป็นสถานที่อีกแห่งหนึ่งที่คนรักศิลปะไม่ควรพลาดค่ะ

ถ้ามีโอกาสแวะมาที่กรุงเทพฯ อย่าพลาดไปชมนะคะ

ขอบคุณที่แวะมาอ่านบันทึกของพี่นะคะ

สวัสดีค่ะคุณ a l i n l u x a n a

หอศิลปมหาวิทยาลัยกรุงเทพ(ส่วนที่สร้างใหม่นี้)เปิดมาระยะหนึ่งแล้วค่ะ

ก็นึกเสียดายเหมือนกันว่าน่าจะได้ไปชมตั้งนานแล้ว

ถ้ามีโอกาสลองแวะไปนะคะ

ขอบคุณที่แวะเข้ามาอ่านบันทึกค่ะ

ว่าจะมาลงรูปเพิ่มเติมให้ แต่ไม่เห็นที่จะ add เพิ่มได้เลย

เอาเป็นว่า พี่เขียนแล้วอ่านสนุกเช่นเคยค่ะ :)

แนทคะ

ส่งรูปที่ต้องการจะให้ลงเพิ่มเติมมาให้พี่ทาง e-mail ก็ได้ค่ะ

ขอบคุณค่ะ

  • มาเยี่ยม ๆ มอง ๆ อมยิ้มค่ะ
  • น่าไปเหมือนกันนะคะ โดยมากที่ไปจะเป็นร้านขายหนังสือ วัด สวนสัตว์ อะไรประมาณนั้นมากกว่าน่ะค่ะ
  • คงจริงอย่างที่คุณแจ๋วว่านะคะ ตามปกติคนจะไม่เข้าหอศิลป์ถ้าไม่จำเป็น...คือเข้าไปแล้วมัน...งง ๆ น่ะค่ะ...ฮา..ไปที่เรารู้เรื่อง...อาจจะปลอดภัยกว่าค่ะ. 

สวัสดีค่ะคุณพี่คนไม่มีราก

ไว้ว่างๆ แจ๋วชวนคุณพี่คนไร้รากไปเที่ยวหอศิลป์ด้วยกันดีกว่าค่ะ

สวัสดีค่ะน้องจิ คนสวย

แวะมาทักทายกันทุกบันทึกเลยน่ารักมากจ๊ะ :)

Sasinanda

อ่านแล้ว น่าไปจังค่ะ

สวัสดีค่ะคุณพี่ศศินันท์

ดีใจที่พี่ศศินันท์เข้ามาอ่านบันทึกนี้ และสนใจจะไปที่หอศิลป์นะคะ

ขอบคุณค่ะ

น่าสนใจครับ

แล้วจะมาติดตามข่าวคราวเรื่องศิลปะครับ

สวัสดีค่ะ คุณผู้ประสงค์ไม่ออกนาม(แหมชื่อเรียกยาวนะคะเนี่ย)

ยินดีค่ะ...ถ้ามีโอกาสไปที่ไหนก็จะมาเล่าอีกค่ะ แต่เป็นมุมมองจากผู้เขียน สาระอาจไม่มากนักนะคะ

ขอบคุณค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท