somtawin
นาง สมถวิล somtawin โชติคณาทิศ

การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค แบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์ (STAD)


การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค แบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์ (STAD)เป็นรูปแบบการจัดการเรียนรู้ หรือจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่มีสมาชิกกลุ่ม 4-5 คน  มีระดับสติปัญญาแตกต่างกัน คือ เก่ง 1 คน: ปานกลาง 2-3 คน: อ่อน 1  คน  มีขั้นตอนการจัดการเรียนรู้ตามลำดับ ดังนี้
        http://gotoknow.org/file/somtawin/DSC02596.JPG                                                                     
                                ครูทบทวนบทเรียนที่เรียนมาแล้ว ด้วยการซักถามและอธิบาย  ตอบข้อสงสัยของนักเรียนแล้วจัดกลุ่มนักเรียนคละความสามารถ แต่ละกลุ่มศึกษาแบบฝึกกิจกรรมที่1สมาชิกทุกคนในกลุ่ม  ทำแบบฝึก
 กิจกรรมที่ 1 ด้วยตนเอง แลกเปลี่ยนกันตรวจคำตอบในกลุ่ม  และ บันทึกคะแนนในช่อง  STAD  กิจกรรมที่ 1  สมาชิกในกลุ่มร่วมกัน  อภิปรายแลกเปลี่ยนแนวคิดสรุปกระบวนการคิดที่ถูกที่สุดหาคำตอบได้เร็ว  ปฏิบัติกิจกรรมที่ 2  เป็นรายบุคคล โดยทำแบบทดสอบกิจกรรมที่ 2  ด้วยตนเอง   แลกเปลี่ยนกันตรวจคำตอบระหว่างกลุ่ม  บันทึกคะแนนลง
ในแบบบันทึกช่อง  STAD  กิจกรรมที่ 2   เปรียบเทียบผลต่างของคะแนน   STAD 
 กิจกรรมที่ 1  และ STAD  กิจกรรมที่ 2         เพื่อหาค่าพัฒนาการ  รวมคะแนนพัฒนาของกลุ่ม กลุ่มใดมีคะแนนเฉลี่ยสูงสุดจะได้รับรางวัลและคำชื่นชม
http://gotoknow.org/file/somtawin/DSC02604.JPG
                                            ผลของการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิคแบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์ (STAD) ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น   ทั้งนี้เนื่องจากผู้เรียนได้  แลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกัน   เมื่อครูเสนอบทเรียนใหม่ต่อนักเรียนทั้งชั้นเรียน   นักเรียนเก่งจะมีความเข้าใจเนื้อหาได้เป็นอย่างดี ถ้าไม่เข้าใจจะรีบถาม  แต่นักเรียนที่ปานกลางและอ่อนจะมีความเข้าใจเนื้อหามากขึ้นในขั้นกิจกรรมกลุ่ม   ทั้งนี้เพราะการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิคแบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์ (STAD)  เป็นกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ปฎิบัติกิจกรรมโดยอิสระสมาชิกในกลุ่มเป็นเพื่อนกันจึงสามารถถามปัญหาที่ไม่เข้าใจได้สะดวก  ไม่เกรงกลัวหรือหวาดหวั่นเหมือนถามครูผู้สอน   เพื่อนที่เข้าใจเนื้อหาเมื่อได้อธิบายให้เพื่อนในกลุ่มฟังจนเข้าใจก็เป็นการทบทวนความรู้ของตนเองและเพิ่มความมั่นใจให้ตนเองมากขึ้นอีกด้วย   และเมื่อถึงขั้นตอนการทำแบบทดสอบย่อยนักเรียน    จึงสามารถทำข้อสอบได้คะแนนสูง   ดังนั้นการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิคแบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์ (STAD)  จึงเป็นการจัดกิจกรรมที่ให้ผู้เรียนเรียนรู้อย่างเป็นธรรมชาติและนักเรียนมีความสนุกสนานในการเรียน
http://gotoknow.org/file/somtawin/DSC02601.JPG
ด้านพฤติกรรมของผู้เรียน   เนื่องจากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิคแบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์ (STAD)  เป็นกิจกรรมการเรียนการสอนที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ปฏิบัติกิจกรรมอย่างอิสระ   ทำให้เกิดผลด้านพฤติกรรมที่ดี  มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกันเพราะความเป็นเพื่อนกันทำให้นักเรียนได้พูดคุยซักถามอย่างสะดวก  มีความเป็นกัลยาณมิตร
หมายเลขบันทึก: 174192เขียนเมื่อ 30 มีนาคม 2008 12:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:53 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

สรุปเนื้อหาได้ดีมากๆ เลยค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท