เวทีเชิงวิชาการ : การจัดระดับความเหมาะสมของสื่อเกมคอมพิวเตอร์ที่เชียงใหม่


ห้องทดลองเชิงปฏิบัติการเคลื่อนที่ การจัดระดับความเหมาะสมของเกมคอมพิวเตอร์

ห้องทดลองเชิงปฏิบัติการเคลื่อนที่ การจัดระดับความเหมาะสมของเกมคอมพิวเตอร์

พื้นที่นำร่องที่จังหวัดเชียงใหม่  วันที่ ๒๔ มีนาคม พ.ศ.๒๕๕๑ เวลา ๑๓.๓๐ ๑๖.๐๐น.  

ห้องประชุม ๑๐๒  คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

เป็นอีกครั้งหนึ่งที่ทีมนักวิจัยในชุดโครงการวิจัยและพัฒนาระบบการจัดระดับความเหมาะสมของสื่อ : โทรทัศน์ อินเทอร์เน็ต เกมคอมพิวเตอร์ ภาพยนตร์ ได้เดินทางลงพื้นที่ที่จังหวัดเชียงใหม่เมื่อวันที่ ๒๑ ถึง ๒๕ มีนาคมพ.ศ.๒๕๕๑ สำหรับโจทย์ของการทำงานสำหรับวันที่ ๒๔ มีนาคม ๒๒๕๑ การลงพื้นที่ในครั้งนี้เป็นการลงไป เพื่อแสวงหาองค์ความรู้เกี่ยวกับการจัดระดับความเหมาะสมของเกมคอมพิวเตอร์

ทางทีมวิจัยได้วางรูปแบบกิจกรรมในห้องทดลองเชิงปฏิบัติการไว้เป็น ๖ ช่วง

ช่วงที่หนึ่ง กระบวนการขาว เทา ดำ เป็นการให้ผู้เข้าร่วมทดลองดูเกมคอมพิวเตอร์ จำนวน ๘ เกม โดยแบ่งเป็นเกมแบบออนไลน์จำนวน ๔ เกม และ เกมแบบออฟไลน์จำนวน ๔ เกม โดยพิจารณาจากเกมคอมพิวเตอร์ที่ได้รับความนิยมในร้านเกมคาเฟ่ โดยให้ผู้เข้าร่วมทดลองพิจารณาให้ระดับความเข้มของสีเป็น ๓ สี ก็คือ สีขาว มีเทา และ สีดำ โดยไม่ได้มีการให้นิยามของสีไว้ เพื่อให้ผู้เข้าร่วมได้พิจารณาภายใต้กรอบแนวคิดของตนเอง ซึ่งจะเป็นการพิจารณาโดยใช้สามัญสำนึกของผู้เล่น โดยไม่มีกรอบแนวคิดของผู้นำกระบวนการมาชี้นำ

ช่วงที่สอง กระบวนการให้นิยามสี เป็นการแลกเปลี่ยนแนวคิดของการให้คำนิยามของระดับสีทั้งสามสี ว่า สีขาว สีเทา และ สีดำ หมายถึงอะไร เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนความรู้ในการกำหนดนิยามสีระหว่างผู้เข้าร่วมกระบวนการ

ช่วงต่อมา นำเสนอผลการจัดระดับสีของเกมคอมพิวเตอร์ เป็นการนำเสนอผลการพิจารณาระดับสีของเกมคอมพิวเตอร์ทั้ง๔ เกม โดยเรียงลำดับจากสีขาวไปยังสีดำ ว่าแต่ละเกมมีระดับสีเป็นอย่างไร แล้วพิจารณาเลือกเกมที่มีระดับสีที่มี่ความชัดที่สุดในแต่ละสีออกมาพิจารณาในช่วงต่อไป

ช่วงที่สี่   กระบวนการสร้างเกณฑ์ในการพิจารณาระดับความเหมาะสมของเกมคอมพิวเตอร์ โดยทีมวิจัยจะแจกกระดาษให้ผู้เข้าร่วมกระบวนการเพื่อเขียนเกณฑ์ในการจัดระดับความเหมาะสมของเกมอีกครั้งหนึ่ง โดยเขียนแผ่นละหนึ่งประเด็น โดยทีมงานจะนำกระดาษไปติดที่ผนังด้านหนึ่งของห้องโดยจัดกลุ่มและระดับความเข้มของประเด็น

ช่วงที่ห้า หลังจากผ่านช่วงที่ ๔ แล้ว ห้องทดลองก็จะมีเกณฑ์ร่วมกันในการพิจารณาระดับความเหมาะสมของเกมคอมพิวเตอร์ หลังจากนั้นก็จะเป็นการทดลองจัดระดับความเหมาะสมของเกมคอมพิวเตอร์ ภายใต้ เกณฑ์ที่สร้างให้ห้องทดลอง โดยให้ผู้เข้าร่วมกระบวนการดูเกมในรอบแรกอีกครั้งหนึ่ง แล้วทดลองจัดระดับความเหมาะสมของเกม โดยใช้เกณฑ์ที่สร้างขึ้นในห้องทดลองเชิงปฏิบัติการ ในครั้งนี้ ทีมงานจะแจกสติ๊กเกอร์ให้กับผู้เข้าร่วมทดลอง ๓ สี ก็คือ สีเขียว สีเหลือง และ สีแดง โดยให้ผู้เข้าร่วมกระบวนการดูทีละเกม และ นำสติ๊กเกอร์ไปแปะที่กระดานหน้าห้องที่รายชื่อเกม และ เกณฑ์ในการพิจารณาระดับความเหมาะสมของเกมใน ๓ กลุ่ม ก็คือ เพศ ภาษา และความรุนแรง

ช่วงที่หก การสรุปผลการจัดระดับความเหมาะสมของเกมคอมพิวเตอร์ โดย เชื่อมความรู้ระหว่างพัฒนาการมนุษย์และเกณฑ์ที่ได้จากห้องทดลอง หลังจากผู้เข้าร่วมห้องทดลองได้ทดลองจัดระดับความเหมาะสมของเกมคอมพิวเตอร์เสร็จแล้ว ก็จะให้นักวิชาการด้านจิตวิทยา จิตแพทย์ นักพัฒนาการมนุษย์ หรือ นักประสาทวิทยา ร่วมสรุปผล โดยวิเคราะห์จากผลการทดลองจัดระดับความเหมาะสมของเกมคอมพิวเตอร์ที่ได้จากการจัดในห้องทดลองเชิงปฏิบัติการ โดยพิจารณาจาก ระดับความเข้มข้นของเกณฑ์ และ เรื่องของช่วงอายุของผู้เล่นเกม

รายชื่อตัวอย่างเกมคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในกระบวนการทดลอง

          เกมคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในห้องทดลองเชิงปฏิบัติการมีจำนวน ๘ เกม โดยแบ่งเป็นเกมในระบบออนไลน์ จำนวน ๔เกม ก็คือ (๑) Special force (๒) Audition   (๓) cabal (๔) Tales Runner เกมในระบบออฟไลน์ จำนวน ๕ เกม ดังนี้ (๑) GTA (๒) ลักหลับ (๓) The sim (๔) Winning

 

เครือข่ายที่เข้าร่วมกระบวนการทดลองเชิงปฏิบัติการ

ในการทำห้องทดลองครั้งนี้มีผู้เข้าร่วมกระบวนการทดลองจำนวน  ๒๗ คน ประกอบด้วย ผู้ประกอบการร้านเกมคาเฟ่ ร้านอินเทอร์เน็ตคาเฟ่ เครือข่ายผู้ปกครอง เครือข่ายเด็ก และ เยาวชน นักวิชาการวัฒนธรรม  เจ้าหน้าที่สาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่  เจ้าหน้าที่พัฒนามนุษย์และความมั่นคง

ผลการทำงานในห้องทดลอง

ผลการทำงานในช่วงที่ ๑ และ ๓           ผลการจัดระดับความเหมาะสมของเกมโดยทฤษฎีสามัญสำนึก : ขาว เทา และ ดำ พบว่า

ลำดับที่

ชื่อเว็บไซต์

ค่าคะแนน

     ระดับความเหมาะสม

อันดับที่

 
 

SF  (เกมออนไลน์)

๑๓๑

สีเทาระดับ ๒

 

Audition (เกมออนไลน์)

๔๖

สีขาวระดับ ๒

 

CABAL (เกมออนไลน์

๑๑๑

สีเทาระดับ ๒

 

Talesrunner (เกมออนไลน์)

๔๗

สีขาวระดับ ๒

 

GTA (เกมออฟไลน์)

๑๘๓

สีดำระดับ ๑

 

ลักหลับ (เกมออฟไลน์)

๒๔๓

สีดำระดับ ๓

 

The Sim (เกมออฟไลน์)

๘๖

สีเทาระดับ ๑

 

Winning (เกมออฟไลน์)

๗๑

สีขาวระดับ ๓

 

 

 

ผลการทำงานในช่วงที่ ๒      ผลการให้คำนิยามเรื่องสี ขาว เทา และ ดำ

ขาว หมายถึง เกมที่สร้างสรรค์ ซึ่งมีผลต่อจินตนาการ มีประโยชน์ในการฝึกความไว มีการฝึกการทำงาน เป็นทีม ให้ความรู้เชิงวิชาการ อาทิ ภาษาอังกฤษ มีผลทางบวกต่ออารมณ์   เช่น คลายเครียด สนุกสนาน ฝึกสมาธิ ศิลปวัฒนธรรม และเป็นเกมที่เหมาะสำหรับคนทุกวัย โดยไม่มีลกระทบเชิงลบในทางอารมณ์ ไม่มีภาพของการใช้ความรุนแรง ไม่มีเรื่องของพฤติกรรมที่เลียนแบบแล้วเกิดอันตรายสำหรับเด็ก

เทา หมายถึง เกมที่สร้างสรรค์ในลักษณะเดียวกับกลุ่มสีขาว แต่ในส่วนของเนื้อหาของเกมจะเหมาะสำหรับผู้เล่นที่มีอายุมากกว่า ๑๓ ปีซึ่งจำเป็นทีจะต้องได้รับคำแนะนำจากผู้ใหญ่ เพราะมีเนื้อหามีส่วนดีกับส่วนไม่ดี มีความรุนแรง สามารถสร้างความเครียดให้กับเด็กได้

ดำ หมายถึง เนื้อหาของเกมมีรุนแรงมาก เช่น มีการฆ่าคน มีการทำร้ายคนอื่น มีการใช้อาวุธ มีการใช้ภาษาที่ไม่สุภาพ หยาบคาย

ผลการทำงานในช่วงที่ ๔       การร่วมสร้างเกณฑ์ ผู้เข้าร่วมห้องทดลองเชิงปฏิบัติการได้ร่วมกำหนดเกณฑ์ในการพิจารณาระดับความเหมาะสมของเกมคอมพิวเตอร์ ดังนี้

ความรุนแรง

·         เป็นการปลูกฝังสิ่งไม่ดี  ไม่ยินยอม/ต้องชนะ การใช้อารมณ์

หมายเลขบันทึก: 173451เขียนเมื่อ 27 มีนาคม 2008 15:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 พฤษภาคม 2012 15:37 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

น่าจะมีรูปหน้าตาเกมส์ และบรรยากาศห้องทดลองให้ดูประกอบด้วยนะคะอี๋

แต่คงจะมีอีกหลายๆ บันทึกจากทีม ME ตามมาอีกใช่มั้ยคะ

เท่าที่อ่านมารู้จักแค่ The Sim เกมส์เดียวเองล่ะ :)

เสียดายจังที่มาอ่านข่าวช้าไป ... ไม่งั้นจะแวะไปฟังที่ห้องสัมมนา แล้ว

เสียดาย ครับ เสียดาย :)

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท