ทำไมต้องชื่อ"ผีเสื้อ"??


??

ความจริงก็คืออยากจะทราบว่า..คำว่า"ผีเสื้อ"มันมีที่มาที่ไปอย่างไร..เพราะสงสัยว่า..ผีเสื้อ เป็นสัตว์ที่ดูน่ารักดี..แต่ทำไม๊ ทำไม ..ต้องตั้งชื่อกันซะน่ากลัวเลย.."ผี..เสื้อ.."

ลองค้นหาข้อมูลดูบางคนก็เชื่อว่าเป็นเรื่องของจิตวิญญาณผู้ตาย..หรือบางคนก็แค่ให้ความหมายไว้ว่า.."ผีเสื้อ"..หมายถึง?? http://www.ru.ac.th/butterfly/frameright/r-intro.html และนอกจากนั้นก็ยังมีชื่ออีกหลายชื่อ..แม้แต่"ฟาแลนนอพซิส"..ก็ยังแปลไป แปลมาก็ไปเกี่ยวกับคำว่า"ผีเสื้อ"อีก..อิๆๆ..

..แล้วคำดั้งเดิมก่อนที่จะมาเป็นคำว่า.."ผีเสื้อ"..มันมีที่มาอย่างไร??... ..บางคนก็เชื่อในเรื่องของ"ผีเสื้อ"ว่า..(คัดลอกเขามาบางส่วน..)(เป็นเรื่องของจิตวิญญาณของผู้ที่ตายไปแล้ว..เขียนไว้น่าสนใจ..อิๆๆ)"...ผีเสื้อก็เป็นการเกิดจากผู้ที่ตายไปแล้ว วิญญาณอาจจะยังจำที่เก่าได้ ก็บินมา บางทีมีญาติจะมา ก็อยากจะมารอรับด้วย แต่พอบินเข้ามา เขาก็ไล่ออกไปบางทีก็โดนเขาตีตาย โดยเขาไม่รู้ว่า นั่นคือญาติของเขา อาจจะเป็นพ่อ เป็นแม่ หรือเป็นญาติที่ได้ตายไปแล้ว แล้วอยากจะมาดูลูกๆหลานๆเพราะยังมีจิตนิวรณ์อยู่ แต่อนิจจาเขาต้องมาตายด้วยมือลูกหลานแท้ๆของเขา นี่แหละพระพุทธองค์จึงสอนไม่ให้ฆ่าสัตว์ เพราะบางทีก็เป็นญาติของตัวเองโดยที่ตัวเองไม่ทราบ(อันนี้เป็นความเชื่อส่วนบุคคล..ที่ไปคัดลอกเขามา..ให้ใช้ดุลพินิจเองนะคะ..)..

ส่วนกรณีนี้ก็เป็นเรื่องของชื่อ..ที่ชื่อว่า"ฟาแลนนอพซิส"..กับคำว่า"ผีเสื้อ"..แล้วมันไปเกี่ยวโยงกับคำว่าผีเสื้อ..ได้อย่างไร..แล้วมันมีที่มาที่ไปกันอย่างไร..?ไหนก็..ก็หลวมตัวมาจนป่านนี้แล้ว..ก็เลยอ่านต่อ..ว่ามันไปเกี่ยวอย่างไรกับ"ผีเสื้อ"..อีก

ฟาแลนนอพซิส

 ฟาแลนนอฟซิส(Phalaenopsis)
ตำราเล่นกล้วยไม้: พระนิพนธ์ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต

ความเป็นมาของกล้วยไม้แต่ละสกุลแต่ละชนิดล้วนเป็นประวัติเล่าขานที่ถูกบันทึกไว้ ทั้งการผจญภัยที่มีชีวิตเป็นเดิมพัน กระทั่งการซึมซับจนเป็นประเพณีของคนในท้องถิ่นที่มีกล้วยไม้เป็นสื่อ หรือถูกเล่าขานเป็นนิยายปรัมปราสืบเนื่องกันมา ดังเช่น

"...นานมาแล้ว บนภูเขาไฟแห่งหนึ่งในมหาสมุทรแปซิฟิค ทุกๆปี หญิงสาวพรหมจารีผู้มีสรีระรูปโฉมสคราญจะถูกเลือกส่งไปบูชายันต์เป็นเจ้าสาวของอัคคีเทพซึ่งเชื่อกันว่า สิงสถิตย์อยู่ในภูเขาไฟนั้น พิธีการนี้ หญิงที่เป็นเจ้าสาวจะต้องใช้กล้วยไม้เป็นบุปผาชาติประดับเรียกตามภาษาพื้นเมืองว่า "ช่อเจ้าสาวแห่งอัคคีเทพ"ถ้าเราพิจารณาตามลักษณะที่อธิบายกันไว้แล้ว กล้วยไม้ที่กล่าวมานี้จะเป็นอื่นใดไม่ได้นอกจากกล้วยไม้สกุลฟาแลนนอพซิสชนิดหนึ่ง..."


ประวัติความเป็นมา(History)

ก่อนที่เราจะเริ่มปลูกเลี้ยงกันก็ตัองทราบประวัติกันก่อนว่ามีที่มาที่ไปยังไง คำว่า ฟาแลนนอฟซิส นั้นเกิดจากการนำภาษากรีกมารวมกันคือ " ฟาไลนา"แปลว่าผีเสื้อ และคำว่า"ออปสิส์"แปลว่าละม้าย รวมกันแล้วความว่า แม้นผีเสื้อ โดยปราชญ์พฤกษศาสตร์นามว่าบลูเม(Blume) เห็นว่ารูปทรงของดอกคล้ายผีเสื้อกระำพือปีกนั่นเอง ซึ่งในฟิลิปปินส์เรียกว่า มาริโำำพเสส(Mariposes)คือ ผีเสื้อ,ชีประขาว,ผีเสื้อกลางคืน(สรุปว่ามีลายๆเหมือนผีเสื้อที่เราเรียกกัน..ก็เลยใช้ชื่อที่แปลว่าผีเสื้อ..อิๆๆ..ยังไม่ได้คำตอบอีกเรา..)

ฟาแลนนอพซิส พันธ์แท้นั้นมีอยู่ประมาณ 40 ชนิดถิ่นกำเนิดกระจายอยู่กว้างขวางในเอเชีย นับตั้งแต่เทือกเขาหิมาลัย ธิเบต เนปาล อินเดีย พม่า ไทย จีน อินโดนีเชีย มาเลเซีย สุมาตรา บอร์เนียว เซเลเบส ฟิลิปปินส์ หมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิก อินโดนีเซีย ปาปัวนิวกีนี รวมทั้งตอนเหนือของออสเตรเลีย ที่มีพันธ์ไม้พันธ์กล้วยไม้ต่างๆเหมือนปาปัวนิวกีนี และหมู่เกาะตอนใต้ โดยมีการสันนิษฐานว่า ในยุคก่อนเคยเป็นผืนแผ่นดินเชื่อมติดกันก่อนที่จะแยกตัวออก

มีการสำรวจกันมากบริเวณเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ตอนล่าง และหมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิก ซึ่งมีฟาแลนนอพซิสหลายชนิดขึ้นอยู่มาก ได้พบว่าฟาแลนนอพซิสมีขึ้นอยู่ทั้งบนต้นไม้สูงๆในป่าที่มีความชื้น บางทีขึ้นอยู่บนต้นไม้สูงถึง 100 ฟุต และตามต้นไม้เตี้ยที่มีร่มเงาบังแต่มีอากาศถ่ายเทดี ตามริมธารใกล้ภูเขา รวมทั้งบริเวณชายฝั่งทะเล

ในฟิลิปปินส์ซึ่งประกอบด้วยหมู่เกาะถึง 7,000 กว่าเกาะ ภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นภูเขา หลายลูกมีความสูงกว่าระดับน้ำทะเล 1,500-6,000 ฟุต ระดับอุณหภูมิแตกต่างกันตามระดับความสูง กล่าวคือ เมื่อความสูงเพิ่มขึ้นอุณหภูมิก็จะลดลงต่ำเรื่อยๆ กล้วยไม้แต่ละสกุลแต่ละชนิดจะเลือกขึ้นตามลักษณะความชื้น และสภาพบรรยากาศที่ต้องการ เช่นที่ ซูริก้า(Suligao) บนเกาะมินดาเนา(Mindanao)ซึ่งได้ชื่อว่าแวนด้าแซนเดอเรียนามีขึ้นอยู่เฉพาะเพียงที่นี่เท่านั้น และบนเกาะนี้ถือว่าเป็นบ้านของฟาแลนนอพซิสที่มีขึ้นอยู่มากมาย ณ บนเกาะนี้เีรียกได้ว่าไม่มีหน้าแ่ล้ง อุณหภูมิเฉลี่ยตลอดปีต่ำสุดอยู่ที่ 72-75 องศาฟาเรนไฮต์ และสูงสุดอยู่ที่ 84-90 องศาฟาเรนไฮต์ มีฝนประมาณ 25 ลูกบาศก์นิ้วต่อเดือน ความชื้นสัมพัทธ์ 79-88% มีเมฆปกคลุม 58-78% ในระหว่างวัน


ลักษณะต้นและใบ
ฟาแลนนอฟซิส มีการเจริญเติบโตแบบ โมโนโพเดียล(Monopodial)คือเจริญทางยอดขึ้นไปเรื่อยๆ แบบแวนด้า ทรงต้นเตี้ย ใบกว้าง อวบน้ำ เรียงซ้อนสลับกันในด้านตรงข้าม 3-5 คู่ บางชนิดต้นใหญ่ใบใหญ่ เช่น กิแกนเตีย(Phal.gigantea)ซึ่งใบกว้างถึง 25 ซ.ม. และยาว 50 ซ.ม.

ไปคัดลอกเขามา..เห็นน่าสนใจดีเหมือนกันค่ะ..

อิๆๆสรุป..ก็คือ..ยังไม่ทราบอีก..ว่า..คำว่า"ผีเสื้อ"มีที่มาที่ไปอย่างไร..??แต่ความเห็นส่วนตัว..มีแนวโน้มถ้าอ่านจากชื่อ"ผีเสื้อ"..ก็พอจะเชื่อได้ว่า..สัตว์ปีกชนิดนี้..อาจเป็นตัวที่สื่ออะไรบางอย่างที่คนสมัยก่อน..อาจเชื่อกันว่า..หากบ้านใดพบเห็นสัตว์ปีกชนิดนี้มาเกาะตามสิ่งของในบ้าน เช่น เสื้อผ้า หนังสือ ต้นไม้..เป็นต้น..อาจมองว่าเป็นวิญญาณของญาติๆที่ตายไปแล้ว..มาเยี่ยมเยียน หรือยังวนเวียนอยู่ด้วยจิตใจที่เป็นห่วงลูกหลาน..ก็ได้..อิๆๆ..(คราวนี้..ถ้ามาเกาะบ้านเรา..เราจะขอหวยสักหน่อย..อิๆๆ)..คุยกันสนุกๆๆอย่าไปซีเรียสนะคะ..เปิดกว้างรับฟังความคิดเห็นทุกความเห็น..ส่วนเราจะเชื่อหรือไม่..เราสามารถใช้ดุลพินิจได้...อิๆๆ

ด้วยรักจากใจยายหมูอ้วนเอง

หมายเลขบันทึก: 173247เขียนเมื่อ 26 มีนาคม 2008 18:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:53 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

สวัสดีค่ะน้องหมูอ้วน

 

  • คิดคล้ายๆกับครูอ้อยเลยค่ะ
  • และครูอ้อยคิดว่า  มีผีเสื้อ  แล้วทำไม ไม่มี ผีกางเกง บ้างล่ะค่ะ

คิดถึงค่ะ

สวัสดีค่ะคุณครูพี่อ้อยที่เคารพรัก

  •  อิๆ..จับได้แล้ว..คุณครูพี่อ้อยนี่เอง..ที่พูดถึง"ผีกางเกง"..เขากำลังหาตัวอยู่พอดี..
  • ฮา.ๆๆๆ นั่นนะซิค่ะ..มี"ผีเสื้อ"..แล้วก็น่าจะมี"ผีกางเกง"ด้วยนะ..อิๆๆ
  • หนูยิ่งเป็นคนช่างสงสัย..อยู่วันนี้เลยไปหาเพิ่ม..เรื่องนี้อีก..อิๆๆ แต่ก็ยังไม่ได้คำตอบ..
  • แต่ก็ได้มุมมองของคนอื่นเพิ่มเติมมาค่ะ ..เกี่ยวกับ"ผี-เสื้อ" แต่เป็นเรื่องของความเชื่อของแต่ละบุคคล..ใส่เพิ่มไปด้านบนดีกว่า..
  • ด้วยความเคารพรักและคิดถึงคุณครูพี่อ้อยเสมอ..ค่ะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท