เผยแพร่งานวิจัย...ครูอ้อย(นางลักขณา ใจเที่ยงกุล)หวัง..ไล่ตามครูพิสูจน์


เผยแพร่งานวิจัย...ครูอ้อย

(นางลักขณา ใจเที่ยงกุล)

     เดือน มีนาคม นี้ดิฉันจะต้องส่งผลงานทางวิชาการเพื่อขอเลื่อนวิทยฐานะเป็นครูชำนาญการพิเศษดิฉันเลือกทำผลงานการวิจัยในชั้นเรียนเรื่อง

การพัฒนาแบบฝึกเอกสารและแบบฝึกอิเล็กทรอนิกส์ หลักเกณฑ์ทางภาษากลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒

สรุปผลการวิจัยเป็นอย่างไร ดิฉันขอยกบทที่ ๕ มาให้ท่านที่สนใจอ่านกันเลย อ่านแล้วช่วยแสดงความเห็นให้ดิฉันด้วยนะคะ ดิฉันจะได้ ได้คะแนนเพิ่มขึ้น เผื่อจะได้เป็น ค.ศ.๓ ไล่ครูพิสูจน์ ใจเที่ยงกุล ให้ทัน

    ต้องขออภัยที่ขึ้นข้อมูลไม่ครบ...และเครื่องหมายบางส่วนก็หายไป เช่นค่าเฉลี่ย X  ขีดบนจะหายไป

เนื่องจากความไม่สันทัดในเทคโนโลยี นะคะ

 

วัตถุประสงค์ของการวิจัย

               ๑.   เพื่อสร้างและพัฒนาแบบฝึกเอกสารและแบบฝึกอิเล็กทรอนิกส์ หลักเกณฑ์ทางภาษากลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒ ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ ๘๐/๘๐

       ๒. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลักเกณฑ์ทางภาษา กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒ ในเรื่องพยัญชนะไทย ตัวสะกด ไตรยางศ์  ตัวการันต์ คำควบกล้ำ คำคล้องจอง ก่อนและหลังการเรียนโดยแบบฝึกเอกสาร เรื่องสระในภาษาไทย อักษรนำ คำนาม คำสรรพนาม และคำกริยา ก่อนและหลังการเรียนโดยแบบฝึกอิเล็กทรอนิกส์

      ๓. เพื่อศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อการเรียนโดยใช้แบบฝึกเอกสารและแบบฝึกอิเล็กทรอนิกส์ หลักเกณฑ์ทางภาษา กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษา

ปีที่ ๒

สมมุติฐานการวิจัย

                      ๑.  แบบฝึกเอกสารและแบบฝึกอิเล็กทรอนิกส์ หลักเกณฑ์ทางภาษา  กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒ มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ ๘๐/๘๐

                      ๒.  ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลักเกณฑ์ทางภาษา กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒ ในเรื่องพยัญชนะไทย  ตัวสะกด   ไตรยางศ์  ตัวการันต์ คำควบกล้ำ คำคล้องจอง  ที่เรียนโดยใช้แบบฝึกเอกสาร  เรื่องสระในภาษาไทย อักษรนำ  คำนาม คำสรรพนาม และคำกริยา ที่เรียนโดยใช้แบบฝึกอิเล็กทรอนิกส์ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน

                      ๓.  นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒ ที่ได้รับการพัฒนาโดยแบบฝึกเอกสารและแบบฝึกอิเล็กทรอนิกส์ หลักเกณฑ์ทางภาษากลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย มีความพึงพอใจต่อการเรียนโดยใช้แบบฝึกเอกสารและแบบฝึกอิเล็กทรอนิกส์ หลักเกณฑ์ทางภาษา   กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ในระดับมากขึ้นไป

 

 

 

 แบบแผนการวิจัย

               การวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยใช้แบบแผนการวิจัยแบบ กลุ่มเดียวทดสอบก่อนเรียนและ

หลังเรียน (One group , Pretest – Posttest design)

กลุ่มประชากร

        กลุ่มประชากรเป้าหมายที่เป็นหน่วยวิเคราะห์ คือนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒ ปีการศึกษา ๒๕๕๐ ทั้งโรงเรียนของโรงเรียนบ้านบัวขาว ตำบลทุ่งคอก อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา สุพรรณบุรีเขต ๒ ซึ่งเป็นนักเรียนที่ผู้วิจัยสอนประจำชั้นมีอยู่ทั้งสิ้น จำนวน ๗  คน(จากจำนวนเต็ม ๘ คน เพราะเป็นนักเรียนที่มีความบกพร่องทางด้านการเรียนรู้ ๑ คน) นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒ ทั้งหมดนี้นั่งเรียนร่วมกับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ อีก ๑๐ คน

 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย

                ๑.  แบบฝึกเอกสารหลักเกณฑ์ทางภาษา กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒ ในเรื่องพยัญชนะไทย(ตั้งชื่อแบบฝึกว่าเรียนรู้พยัญชนะไทย) ตัวสะกด (ตั้งชื่อแบบฝึกว่าสนุกกับตัวสะกด)ไตรยางศ์  ตัวการันต์ คำควบกล้ำ คำคล้องจอง  รวม ๖ ชุด  ทุกชุดจะมีแบบทดสอบประเมินตนเอง ก่อนเรียนหลังเรียนชุดละ ๑๐ ข้อ                           

                     ๒.  แบบฝึกอิเล็กทรอนิกส์หลักเกณฑ์ทางภาษา กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒   เรื่องสระในภาษาไทย(ตั้งชื่อแบบฝึกว่าเรียนรู้สระไทย)  อักษรนำ  คำนาม คำสรรพนาม และคำกริยา  รวม ๕ ชุด ในแบบฝึกเรื่องเรียนรู้สระไทย อักษรนำ และคำนาม มีแบบทดสอบประเมินตนเอง ก่อนเรียนหลังเรียนชุดละ ๑๐ ข้อ เรื่องคำสรรพนามและกริยา ชุดละ ๕ ข้อ

       ๓.  แบบทดสอบก่อนเรียน - หลังเรียนเรื่องพยัญชนะไทย ตัวสะกด ไตรยางศ์  ตัวการันต์ คำควบกล้ำ คำคล้องจอง  ตามจุดประสงค์ในแบบฝึกเอกสารทั้ง ๖ ชุด เป็นข้อสอบปรนัยชนิดเลือกตอบมี ๓ ตัวเลือก จำนวน ๓๐ ข้อ มีค่าความยากง่าย(p) อยู่ระหว่าง       ๐.๗๕-๐.๘๐                      มีค่าอำนาจจำแนก(r) ตั้งแต่ ๐.๒๐ -๐.๖๐  และมีค่าความเชื่อมั่น ๐.๗๖

                       ๔.  แบบทดสอบก่อนเรียน - หลังเรียนเรื่อง เรื่องสระในภาษาไทย  อักษรนำ  คำนาม  คำสรรพนาม และคำกริยา  ตามจุดประสงค์ในแบบฝึกอิเล็กทรอนิกส์ทั้ง ๕ ชุด เป็นข้อสอบปรนัยชนิดเลือกตอบมี ๓ ตัวเลือก จำนวน ๓๐ ข้อ มีค่าความยากง่าย(p) อยู่ระหว่าง     ๐.๗๕ ๐.๘๐                        มีค่าอำนาจจำแนก(r) ตั้งแต่ ๐.๒๐- ๐.๘๐ และมีค่าความเชื่อมั่น ๐.๗๖

               

๑๐๑

        

                    ๕.  แบบสำรวจความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒ ที่เรียนโดยแบบฝึกเอกสารและแบบฝึกอิเล็กทรอนิกส์หลักเกณฑ์ทางภาษา กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย มีคำถาม    ประเภทแบบฝึกละ ๑๐ คำถาม ระดับความพึงพอใจ ๕ ระดับ คือ มากที่สุด มาก ปานกลาง น้อย และน้อยที่สุด

การดำเนินการทดลอง

                       ผู้วิจัยดำเนินการทดลองด้วยตนเอง ในภาคเรียนที่ ๒ ปีการศึกษา ๒๕๕๐ ใช้เวลาในการฝึกสำหรับแบบฝึกที่เป็นเอกสาร แบบฝึกละ ๒ ชั่วโมง สำหรับแบบฝึกอิเล็กทรอนิกส์แบบฝึกละ ๑ ชั่วโมง โดยดำเนินการดังนี้

                       ๑. ทดสอบก่อนเรียนด้วยแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์หลักเกณฑ์ทางภาษาทั้ง ๖ เรื่องคือ เรื่องพยัญชนะไทย(ตั้งชื่อชุดแบบฝึกว่าเรียนรู้พยัญชนะไทย) ตัวสะกด (ตั้งชื่อชุดแบบฝึกว่าสนุกกับตัวสะกด)ไตรยางศ์  ตัวการันต์ คำควบกล้ำ คำคล้องจอง จำนวน ๓๐  ข้อตามจุดประสงค์และเนื้อหาในแบบฝึกเอกสารทั้ง ๖ ชุด แล้วให้นักเรียนทำแบบฝึกแต่ละชุด เริ่มจาก เรียนรู้พยัญชนะไทย ตัวสะกด ไตรยางศ์ ตัวการันต์ คำควบกล้ำ คำคล้องจอง เมื่อครบแล้ว จึงทดสอบหลังเรียนด้วยข้อสอบชุดเดียวกับการทดสอบก่อนเรียนใช้เวลาในการสอบ ๖๐ ครั้งละนาที

               ๒. ให้นักเรียนทำแบบสำรวจความพึงพอใจหลังจากการเรียนโดยแบบฝึกเอกสารทั้ง ๖ ชุด

                      ๓. ทดสอบก่อนเรียนด้วยแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์หลักเกณฑ์ทางภาษาทั้ง ๕ เรื่องคือ เรื่องสระในภาษาไทย(ตั้งชื่อแบบฝึกว่าเรียนรู้สระไทย)  อักษรนำ  คำนาม คำสรรพนาม และคำกริยา จำนวน ๓๐  ข้อตามจุดประสงค์และเนื้อหาในแบบฝึกอิเล็กทรอนิกส์ทั้ง ๕ ชุด แล้วให้นักเรียนทำแบบฝึกแต่ละชุดเริ่มจาก เรียนรู้สระไทย อักษรนำ คำนาม คำสรรพนามและคำกริยา เมื่อครบแล้วจึงทดสอบหลังเรียนด้วยข้อสอบชุดเดียวกับการทดสอบก่อนเรียน ใช้เวลาในการสอบครั้งละ ๖๐ นาที

             ๔. ให้นักเรียนทำแบบสำรวจความพึงพอใจหลังจากการเรียนโดยแบบฝึกอิเล็กทรอนิกส์ทั้ง ๕ ชุด

                      ๕. การวิเคราะห์ข้อมูลและตรวจสอบสมมุติฐานดังนี้

           ๕.๑  นำผลการใช้แบบฝึกทั้ง ๒ ประเภท มาคำนวณหาประสิทธิภาพของแบบฝึก ตามเกณฑ์ ๘๐/๘๐

                           ๕.๒. วิเคราะห์ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนจากการใช้แบบฝึกทั้ง ๒ ประเภท โดยใช้ ค่าเฉลี่ย X ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ( S.D.) และ นำคะแนนมาเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของคะแนนก่อนเรียนและหลังเรียน โดยการทดสอบ t-test

 

 

๑๐๓

                  

                       ๕.๓. วิเคราะห์ความพึงพอใจของนักเรียนที่เรียนโดยแบบฝึกเอกสารและแบบฝึกอิเล็กทรอนิกส์โดยใช้ ค่าเฉลี่ย (X) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)

สรุปผลการวิจัย

               ผลการวิจัยมีดังนี้

                        ๑. ประสิทธิภาพของแบบฝึกเอกสาร หลักเกณฑ์ทางภาษา ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒

E1 /  E2  = ๘๖.๙๐ / ๘๔.๗๖ สูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้ง

                         ๒. ประสิทธิภาพของแบบฝึกอิเล็กทรอนิกส์ หลักเกณฑ์ทางภาษา ชั้นประถมศึกษา

ปีที่ ๒    E1 /  E2  = ๘๖.๔๓ / ๘๕.๒๔ สูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้ง

                  ๓. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังการเรียนโดยใช้แบบฝึกเอกสาร หลักเกณฑ์ทางภาษาไทย ชั้นประถมปีที่ ๒ สูงกว่าก่อนเรียน โดยแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๑

                       ๔. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังการเรียนโดยใช้แบบฝึกอิเล็กทรอนิกส์ หลักเกณฑ์ทางภาษาไทย ชั้นประถมปีที่ ๒  สูงกว่าก่อนเรียน โดยแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๑

                         ๕. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒ มีความพึงพอใจต่อการเรียนโดยใช้แบบฝึกเอกสาร หลักเกณฑ์ทางภาษาไทย ในภาพรวม ในลำดับความพึงพอใจมากที่สุด( X =  ๔.๗๒ , S.D. = ๐.๔๙ )

                  ๖. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒ มีความพึงพอใจต่อการเรียนโดยใช้แบบฝึกอิเล็กทรอนิกส์ หลักเกณฑ์ทางภาษาไทย ในภาพรวม ในลำดับความพึงพอใจมากที่สุด

( X =  ๔.๗๔ , S.D. = ๐.๔๘ )

อภิปรายผล

                   การวิจัยการพัฒนาแบบฝึกเอกสารและแบบฝึกอิเล็กทรอนิกส์ หลักเกณฑ์ทางภาษา

กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒ เป็นการวิจัยในชั้นเรียน ซึ่งเป็นการวิจัยจากสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นในชั้นเรียนในชั้นเรียน เกี่ยวกับการเรียนการสอน เป็นการวิจัยเพื่อนำผลวิจัยไปพัฒนาการเรียนการสอนและเป็นการวิจัยควบคู่กับการเรียนการสอนคือสอนไปวิจัยไปแล้วนำผลการวิจัยไปใช้แก้ปัญหาในชั้นเรียนและทำการเผยแพร่เพื่อประโยชน์ผู้อื่น               ( กาญจนา  วัฒายุ  ๒๕๔๔ : ๒๓ )  การวิจัยในครั้งนี้เกิดขึ้นเพราะผู้วิจัยมีปัญหาในการสอนหลักเกณฑ์ทางภาษาแก่นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒ โรงเรียนบ้านบัวขาว ตำบลทุ่งคอก อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี ซึ่งเป็นชั้นเรียนที่ผู้วิจัยรับผิดชอบสอนอยู่ จากการวัดผลในระหว่างเรียนหลักเกณฑ์ทางภาษาหลายเรื่องตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน และหลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนบ้านบัวขาว 

 

๑๐๔

 

คือ  (๑.) พยัญชนะไทย  นักเรียนได้คะแนนคิดเป็นร้อยละ ๔๘.๕๗  (๒.) คำคล้องจอง ได้ร้อยละ  ๔๗.๑๔  (๓.) มาตราตัวสะกด ได้ร้อยละ ๕๑.๔๓  (๔.)  ไตรยางศ์  ได้ร้อยละ๕๔.๒๙    (๕.)  ตัวการันต์ ได้ร้อยละ ๔๔.๒๙  (๖.) คำควบกล้ำ  ได้ร้อยละ  ๔๕.๗๑   (๗.)  อักษรนำ ได้ร้อยละ ๒๘.๕๗  (๘.) สระไทย ได้ร้อยละ ๔๑.๔๓  (๙.) คำนาม  ได้ร้อยละ ๓๗.๑๔   (๑๐.) คำสรรพนาม ได้ร้อยละ ๓๔.๒๙  (๑๑.) คำกริยา ได้ร้อยละ  ๔๔.๒๙ ทำให้ผู้วิจัยคิดทบทวนศึกษาถึงสาเหตุและหาแนวทางแก้ปัญหา พบสาเหตุที่สำคัญประการหนึ่งคือ ผู้วิจัยต้องสอนนักเรียน ๒ ระดับชั้นรวมกันในห้องเรียนเดียวกัน และที่สำคัญนักเรียนที่ต้องรับผิดชอบเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ นักเรียนระดับชั้นนี้มีอยู่ ๑๐ คน เป็นชั้นที่จะต้องเริ่มเรียนรู้ในการอ่านออก เขียนได้ คิดคำนวณเป็น ผู้วิจัยจึงต้องให้ความสนใจเป็นพิเศษ ทำให้บางครั้งต้องละเลย นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒ ไปบ้าง

จึงทำให้ผลการเรียนด้านหลักเกณฑ์ทางภาษาไทยตกต่ำไปหลายเรื่อง ผู้วิจัยจึงคิดสร้างนวัตกรรมขึ้นมาช่วยสอน มาช่วยฝึก มาช่วยแก้ปัญหา และพัฒนาการเรียนการสอนซึ่งได้แก่แบบฝึกเอกสารและแบบฝึกอิเล็กทรอนิกส์ หลักเกณฑ์ทางภาษา กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒ อันเป็นเครื่องมือในการวิจัยในครั้งนี้ เหตุที่มีแบบฝึก ๒ ชนิดก็เพื่อให้นักเรียนได้เรียนรู้จากสื่อที่หลากหลายทั้งจากแบบฝึกเอกสารซึ่งนักเรียนสามารถนำติดตัวไปได้สะดวก และแบบฝึกอิเล็กทรอนิกส์ที่ให้นักเรียนได้เรียนรู้จากเทคโนโลยีใหม่ๆ ทั้งนี้เพราะห้องเรียนของผู้วิจัยมีเครื่องคอมพิวเตอร์ ที่สามารถให้บริการนักเรียนไ

หมายเลขบันทึก: 173066เขียนเมื่อ 26 มีนาคม 2008 10:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มิถุนายน 2012 15:56 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)
  • เรื่องการสอน ๒ ระดับเคยได้ยินมาบ้าง
  • เพราะปัญหาขาดครู คุณครูต้องเก่ง
  • ปัญหามีอยู่ว่าทำอย่างไร จึงจะสอนได้พร้อมกันทั้ง ๒ ระดับ
  • ในกรณีของครูลักขณา ใช้แบบฝึกอิเล็กทรอนิกส์
  • ใช้คอมพิวเตอร์  นักเรียนต้องมีความสนใจมากขึ้น
  • คนเดียวสอนได้พร้อมกันทั้ง ๒ ระดับ
  • แบบมีคุณภาพด้วย
  • ต้องดีใจกับนักเรียนโรงเรียนบ้านบัวขาว
  • ที่มีครูดีดี แบบครูลักขณา

สวัสดีเจ้าค่ะ ครูอ้อย สุดสวย คิคิ

น้องจิแวะมาเยี่ยมเจ้าค่ะ เอิกๆๆ...คิคิ ครูอ้อยตามครูพิสูจน์ทันแน่ๆเจ้าค่ะ ครูอ้อยเก่งอยู่แล้ว คิคิ

เป็นกำลังใจให้เจ้าค่ะ ----> น้องจิ ^_^

ขอขอบพระคุณท่านผอ.ประจักษ์ ปานอินทร์ ที่ให้ความเมตตา และให้กำลังใจค่ะ

ขอบใจน้องจิ...ที่ชม...แต่คงสวยสู้น้องจิไม่ได้หรอก...ได้ข่าวว่ากำลังดัง...ใหญ่แล้ว

สวัสดีค่ะ ครูอ้อย ****

หนูเล็กเองค่ะ

ที่รำเพลงทรงเครื่องไงค่ะ

เด็กเก่าอาจารย์พิสูจน์ ค่ะ

เป็นกำลังใจให้น่ะค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท