การจัดการความรู้


ความรู้เปรียบ เหมือน อาวุธประจำกาย
วันนี้ที่โรงเรียนจัดอบรมการจัดการความรู้ โดยเชิญท่านศึกษานิเทศก์เขตพื้นที่การศึกษาแม่ฮ่องสอน เขต 1 อาจารย์สมจิต สุวรรณบุษย์ เป็นผู้บรรยายให้ความรู้แก่คณะครู โดยการอบรมครั้งนี้ วิทยากร เน้นองค์ความรู้ที่นำไปปฏิบัติได้จริง ให้เกิดประโยชน์แก่โรงเรียน นักเรียน ครู บุคลากรสถานศึกษาในโรงเรียน ทั้งนี้ ในการอบม ต้องมีการสร้างกติกา หรือกฎที่ใช้ร่วมกันในการเข้ารับการอบรม เป็นระยะเวลา 2 วัน วันแรกของการเข้ารบการอบรม มีการแจกเอกสารความรู้ให้แก่คณะครูทุกคนที่เข้าร่วม ซึ่งคณะครูทุกคนร่วมมือร่วมใจกันศึกษาเอกสาร สร้างความเข้าใจ มีกิจกรรมนันทนาการ เพื่อให้บรรยากาศเป็นกันเอง แล้วค่อยๆ แทรกความรู้เชิงปฏิบัติในทางบวก มองอย่างสร้างสรรค์ ด้วยความมั่นใจร่วมกัน ปราศจากอคติต่อกันในการทำงานร่วมกัน ซึ่งต้องปรับทรรศนะต่อตนเอง ต่อเพื่อนร่วมงาน สร้างสำนึกใหม่ ซึ่งถือได้ว่าต้องใช้ความเพียรพยายาม ครับ และทางวิทยากรได้ให้การบ้านแก่คณะครูไปศึกษาเรื่องความรู้ นับว่าเป็นโอกาสอันดีที่ผมได้ศึกษามาบ้างจากการอ่านและซื้อหนังสือตั้งแต่ปี 7 กุมภาพันธ์ 2547 อาจารย์วิจารณ พานิช กล่าวไว้ว่า เมื่อพูดถึง "ความรู้" โดยทั่วไปเรามักไม่ได้ตระหนักว่าความรู้มีหลายชนิด อย่างน้อยมีสามกลุ่ม ได้แก่ ความรู้เปิดเผย (explicit knowledge)เป็นความรู้แบบที่เราคุ้นเคย สามารถแลกเปลี่ยนกันได้ง่าย เช่น อาจค้นหาได้ในหนังสื ห้องสมุด หรืออินเตอร์เน็ต เป็นต้น แต่ความรู้อีกสองชนิดที่เรามักไม่คุ้นเคยกัน คือความรู้แฝง (embeded knowledge)ซึ่งเป็นความรู้ที่แฝงอยู่ในกระบวนการทำงานหรือขั้นตอนการทำงาน แฝงอยู่ในวัฒนธรรมองค์กร หรืออยู่ในกฏเกณฑ์กติกาของหน่วยงาน และความรู้ฝังลึก (tacit knowledge)ซึ่งมีอยู่ในตัวคน เป็นความรู้ที่ฝังอยู่ในความคิด ความเชื่อ ค่านิยม ประสบการณืที่สั่งสมมาของบุคคล เป็นความรู้ที่มีพลังสูงสุด หรือนำไปสู่ประโยชน์ได้มาก แต่ดึงมาใช้ยากที่สุด จะต้องใช้วิธีการทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนหรือมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้คน เห็นหน้ากัน คุยกัน เกิดความสนุกร่วมกัน เกิดแรงบันดาลใจร่วมกัน ถึงจะทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนความรู้ฝังลึกแล้วนำไปสู่การใช้ประโยชน์ ดังนั้น ช่องว่างระหว่างความรู้กับการกระทำ ก็คือ การมีความรู้กับการใช้ความรู้เป็นคนละสิ่ง และไม่จำเป็นต้องอยู่ด้วยกันเสมอไป ดังคำกล่าวล้อเลียนว่า การประชุมหรือองค์กรเป็น NATO ซึ่งหมายถึง no action, talk only ผู้จัดการความรู้ต้องมีวิธีทำให้ความรู้ไปสู่การกระทำ วัดผลสำเร็จที่การประยุกต์ใช้ความรู้ และผลกระทบอันเกิดจากการประยุกต์ใช้ความรู้ ตัวอย่างของแนวทางลดช่องว่างตรงนี้ ได้แก่ - ส่งเสริมการเรียนรู้จากการกรทำ ไม่ใช่การเรียนรู้จากการฟังหรืออ่าน การเรียนรู้จากการกระทำร่วมกันเป็นเครื่องมือสร้าง "ชุมชนแห่งการเรียนรู้" ไปในตัว และทำให้เกิดการเรียนรู้ที่รู้ลึกและรู้จริงกว่าการเรียนโดยฟังหรืออ่าน - รับถ่ายทอดความรู้จากภายนอกโยมีเป้าหมายการใช้งานโดยตรงและใช้ทันที - สร้างวัฒนธรรมยอมรับความผิดพลาดหรือล้มเหลว ถ้าความผิดพลาดหรือล้มเหลวนั้นเกิดจากความพยายามทำงานให้ดีขึ้น วัฒนธรรมดังกล่าวจะทำให้คนไม่กลัวความล้มเหลว และกล้าทดลองหาแนวทางใหม่ๆ ใช้ความรู้เพื่อทำสิ่งใหม่ด้วยวิธีการใหม่ๆ - ขจัดความกลัวอำนาจหรือผู้มีอำนาจ โดยการแสดงให้เห็นว่าสิ่งที่สำคัญที่สุดขององค์กรคือ คน และสร้างบรรยากาศภายในองค์กรให้เป็นบรรยากาศแนวราบหรือเครือข่าย ไม่ใช่บรรยากาศของการควบคุมสั่งการ - ส่งเสริมความร่วมมือ ไม่ใช่การแข่งขัน ภายในองค์กร - วัดช่องว่างระหว่างความรู้กับการกระทำ - สร้างวัฒนธรรมองค์กรที่เห็นคุณค่าของความรู้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การนำควมารู้มาประยุกต์ใช้ในองค์กร เป็นอย่างไรบ้าง ครับ ความรู้ หนักเอาการเหมือนกันนะ ครับ ท่านวิทยากร....
หมายเลขบันทึก: 172799เขียนเมื่อ 24 มีนาคม 2008 22:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 23:16 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

     สวัสดีค่ะ อ.ทวิช

  • วันหลังลงรูปให้ดูด้วยสิคะ  
  • เห็นอาจารย์แอบงีบไม่ใช่หรือคะ อิอิ
  • พักผ่อนมากๆนะคะจได้หายไวๆ
  • ราตรีสวัสดิ์ค่ะ  

สวัสดีครับ อาจารย์ทวิช

  • แหม แวะมาเยี่ยมครับ
  • บันทึกของอาจารย์อ่านยากไปหน่อยครับ ลองจัดให้เป็นทีละช่วงประโยค อาจจะอ่านง่ายกว่านะครับ

ขอบคุณครับ :)

สวัสดีครับ คุณ Wasawat Deemarn

ขอบคุณมากครับที่ให้ข้อคิดเห็น ผมพิมพ์ไปเสร็จลืมจัดหน้าและเล่นเน้นสีสันตัวอักษร อาจชวนไม่น่าอ่านครับ จะแก้ไขโอกาสต่อไป ครับ

สวัสดีครูแก้วตา เบอร์ลี่

ขอบคุณครับที่เขียนมาถึง อย่าทำงานดึกนะครับ เป็นห่วง อย่ากินบีต้า เบอร์ลี่ นะครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท