BM.chaiwut
พระมหาชัยวุธ โภชนุกูล ฉายา ฐานุตฺตโม

ตรัง


ตรัง

 รูปดวงตราประจำจังหวัด

(อ้างอิง).....





เครื่องหมายตราประจำจังหวัดซึ่งเป็นสะพานกระโจมไฟ หมายถึง จังหวัดตรังนี้เคยเป็นเมืองท่า ทำการค้าขายกับต่างประเทศมาแต่โบราณ ลูกคลื่น คือความหมาย ของคำว่า "ตรัง ในภาษาของชาวมัชฌิมประเทศ (อ้างอิง)

...........

ตามนัยนี้ ท่านก็อธิบายไว้ว่าคำว่า ตรัง แปลว่า ลูกคลื่น ... ซึ่งตรงกับคำบาลีว่า ตะรังคะ แปลว่า คลื่น หรือ ระลอกคลื่น ....และในคัมภีร์อภิธานมีคำอธิบายอยู่ ๒ มติ ดังนี้

  • ตรนฺโต คจฺจตีติ ตรงฺโค
  • ระลอกใดเมื่อข้ามไป ไปอยู่ ดังนั้น ละลอกนั้น ชื่อว่า ตะรังคะ (เมื่อข้ามไปก็ไปอยู่)

 

ตะรังคะ มีคำว่า ตรํ (ตะรัง) เป็นบทหน้า แปลว่า เมื่อข้ามไป ... นำมาบวก รากศัพท์คือ คม ซึ่งบ่งชี้ความหมายว่า ไป โดยลบ ม.ม้า ด้วยอำนาจกฺวิปัจจัย จึงคงเหลือแต่ ... ดังนั้น ตรํ +ค = ตะรังคะ (แปลงนิคคหิตเป็น ง.งู ตามหลักไวยากรณ์ ) แต่เมื่อมาเป็นไทยแท้ในปัจจุบันเขียนว่า ตรัง (ภาษาไทยโบราณเขึยนว่า ตรังค์)

ความหมายของคำว่า ตรัง (ตรังค์) ว่า เมื่อข้ามไปก็ไปอยู่ นี้... คงจะพิจารณาถึง ระลอกคลื่น ซึ่งจะข้ามลูกหนึ่งแล้วก็ผ่านไปอีกลูกหนึ่ง สลับกันไปเรื่อยๆ แม้บางลูกอาจสลายไป แต่ก็จะมีการก่อตัวเป็นคลื่นลูกใหม่ ข้ามไปข้างหน้าอยู่เรื่อยๆ... ทำนองนี้เองจึงได้ชื่อว่า ตรัง (ตรังค์)

............

อีกนัยหนึ่ง ท่านตั้งอรรถวิเคราะห์ว่า

  • ตีรํ คจฺฉตีติ ตรงฺโค
  • ระลอกใด ย่อมไป สู่ฝั่ง ดังนั้น ระลอกนั้น ชื่อว่า ตะรังคะ (ไปสู่ฝั่ง)

 

ตรัง (ตรังค์) ตามนัยนี้ ท่านว่า มี ตีรํ เป็นบทหน้า แปลว่า ฝั่ง แล้วก็แปลงสระี อี เป็นสระ อะ กล่าวคือ จาก ตีรํ ก็กลายเป็น ตรํ... เมื่อนำ ตรํ มาผสมกับ (ซึ่งมาจาก คม รากศัพท์ แปลว่า ไป) จึงได้ว่า ตะรังคะ (ตรํ + ค = ตรงฺค) เหมือนอย่างนัยก่อน...

ความหมายของคำว่า ตรัง (ตรังค์) ว่า ไปสู่ฝั่ง นี้ ... เข้าใจไม่ยาก เพราะผู้เขียนไม่เคยเห็นคลื่นตามปกติที่วิ่งออกไปจากฝั่งเลย มีแต่คลื่นที่วิ่งเข้าหาฝั่งทั้งนั้น...

..........

อนึ่ง ในคำบาลี มีศัพท์ที่แปลว่าคลื่น ระลอก หรือกระแส อยู่ ๖ คำ กล่าวคือ

  • ตรังคะ ภังคะ อูมิ และ วีจิ  ๔ คำนี้ หมายถึงคลื่นทั่วๆ ไป
  • อุลโลละ และ กัลโลละ ๒ คำนี้ หมายถึงคลื่นขนาดใหญ่

 

คำสำคัญ (Tags): #ตรัง
หมายเลขบันทึก: 172462เขียนเมื่อ 23 มีนาคม 2008 09:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 22:32 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

นมัสการพระอาจารย์ครับ

เคยอ่านเจอว่า มีนักวิชาการบางท่านสันนิษฐานว่า ตรัง มาจากภาษามลายูว่า Terang แปลว่าแสงสว่าง จึงได้ เอา ค์ ออก ขอรับ พระอาจารย์

P

กวินทรากร

 

  • ยังไม่เคยได้ยิน...
  • อนุโมทนาด้วย...

เจริญพร

นมัสการค่ะ

เคยมีคุณอาทำงานที่ตรัง และไปเที่ยวที่ตรังหลายหน ชอบหมูย่างค่ะ และบ้านเมืองก็สะอาดใช้ได้ค่ะ

กราบ 3 หนค่ะ

P

Sasinanda

 

  • ชาวตรังเข้ามาอ่าน น่าจะภูมิใจ

เมื่อก่อนหมูย่างตรังได้ยินเพียงชื่อ... เดียวนี้ หมูย่างตรังเห็นมีขายทั่วๆ ไป... ใกล้ๆ วัดก็มีขาย แต่อาตมาก็ไม่เคยไปอุดหนุน (.......)

เจริญพร

นมัสการพระคุณเจ้า

     ได้มาเรียนรู้ด้วยครับ ขอบพระคุณครับ

เข้ามาศึกษาของพระอาจารย์ แต่ไม่ค่อยทิ้งร่องรอย พอมาเห็นท่านเขียนถึงตรัง ก็เลยเข้ามาเรียนรู้อีก และปรากฏตัวหน่อย

ผมเป็นเขยตรังครับ ทุกปีก็จะไป เช็งเม้งในตระกูลของภรรยา เมื่อคุณแม่ขึ้นไปอยู่ด้วยและไม่สะดวกที่จะเดินทาง เลยไม่ได้ลงไปตรังหลายปีแล้ว มีแต่ญาติขึ้นไปเยี่ยมคุณแม่

เมื่อคุณแม่มาเสียเมื่อปีก่อน ต่อไปคงมีเวลาลงไปบ้าง หมูย่างนั้นขึ้นชื่อ อาหารการกินหลายอย่างครับ โดยเพาะอาหารเช้า เพียบเลย โกทั้งหลายทำอร่อยมาก

กราบนมัสการครับ 

P

บางทราย (คนเข็นครก ขึ้นภูเขา)

 

  • อาตมาก็แวะเวียนเจอคุณโยมอยู่เสมอ...

จังหวัดตรังนั้น ที่ตั้งใจไปจริงๆ รู้สึกว่าเพียง ๒ ครั้ง... นอกนั้นก็ผ่านไปผ่านมาเท่านั้น... แต่คนตรังที่เชื่อมโยงเป็นญาติทำนองว่าเขยหรือสะใภ้นั้นก็มีอยู่หลายคน...

เจริญพร

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท