ตัวชี้วัดความสุข


ตัวชี้วัดความสุข ระดับบุคคล และ ระดับชุมชน

  เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาดิฉันได้ร่วมประชุมคณะกรรมการกลั่นกรองโครงการแผนงานยุทธศาสตร์อยู่ดีมีสุขปี 2551 ของจังหวัดขอนแก่น ซึ่งสนับสนุนงบประมาณให้หมู่บ้าน/ชุมชน แห่งละ 40,000-100,000 บาท ใน 26 อำเภอ จำนวน 2 พันกว่าโครงการ ...มีหลายโครงการอ่านแล้วก็รู้สึกดีใจ  เป็นโครงการที่น่าสนใจถ้าทำได้คงจะพัฒนาชุมชนได้มาก   แต่มีอีกมากที่อ่านแล้วต้องถอนใจ... อึดอัด..เสียดายเงิน..เป็นการตำน้ำพริกละลายแม่น้ำ..หรือเกิดผลประโยชน์ต่อคนเพียงไม่กี่คน..เฮ่อ!..

   มีคำถามในหมู่คณะกรรมการว่าอะไรคือ  ตัวชี้วัดความสุข

   เออ..จริงสิ..เราทำงานต้องมีตัวชี้วัด..โดยเฉพาะงบประมาณอยู่ดีมีสุข..อะไรหละคือความสุข.. ได้ค้นหาข้อมูลทางเว็บไซค์  พบข้อมูลที่ทาง สสส.ร่วมกับกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และกระทรวงสาธารณสุข  นำเสนอผลงานที่ทำในพื้นที่ตำบลท่าเสา  อำเภอไทรโยค  จังหวัดกาญจนบุรี  น่าสนใจเลยจะนำมาเล่านะคะ

ตัวชี้วัดความสุข แบ่งเป็น 2 ระดับ

ระดับบุคคลและครอบครัว ให้ดูที่

  1. ตั้งใจทำมาหากิน พอกินพอใช้
  2. สามารถส่งบุตรหลานเรียนหนังสือได้
  3. บุตรหลานตั้งใจเรียน ผลการเรียนดี และได้เรียนโรงเรียนดี ๆ
  4. พักผ่อนเที่ยวด้วยกันทั้งครอบครัว
  5. ครอบครัวอบอุ่นไม่ทะเลาะกัน มีรอยยิ้มหวาน
  6. กินข้าวพร้อมกัน
  7. มีความเข้าใจกันในครอบครัวและปรึกษาหารือกัน
  8. ร่วมทำกิจกรรมของครอบครัว เช่น งานบวช ทำบุญ
  9. ปลอดอบายมุข ได้แก่ ยาเสพติด การพนัน เหล้า บุหรี่
  10. ใช้ชีวิตพอเพียง ไม่ฟุ้งเฟ้อ
  11. ช่วยเหลือเอื้ออาทร เสียสละ รู้จักการให้
  12. ไม่แบ่งแยกเชื้อชาติ
  13. มีความเท่าเทียมกันระหว่างคนต่างสัญชาติ
  14. บุตรหลานที่เกิดในเมืองไทยได้รับสัญชาติไทย มีนามสกุล และได้เรียนหนังสือ

 ระดับชุมชน

  • มีสถานีอนามัย  สถานพยาบาล  ศูนย์สุขภาพเพื่อตรวจรักษาและจ่ายยา
  • มีสนามกีฬา  สถานที่ออกกำลังกายเพื่อบริหารร่างกายให้แข็งแรงไม่เป็นหวัด
  • รณรงค์ให้ความรู้เพื่อป้องกันโรคไข้เลือดออก
  • มีอาชีพมั่นคงได้แก่ เกษตรผสมผสาน  เกษตรปลอดสารพิษ และงานรับจ้าง
  • มีผู้นำที่ดี  ( มีการจัดประชุมทุกเดือน / มีการจัดเวทีแลกเปลียนเรียนรู้)
  • มีความสามัคคี( การรวมกลุ่ม  ร่วมกันพัฒนา  มีความเอื้ออารีต่อกัน พึ่งพาช่วยเหลือซึ่งกันและกัน  ไม่ทะเลาะเบาะแว้งกัน)
  • ทรัพยากรธรรมชาติ (มีระเบียบข้อบังคับของชุมชนในการใช้ทรัพยากร   พัฒนาปาชุมชน  ไม่ทำลายสัตว์ป่า  ไม่ล่าสัตว์  ปลูกต้นไม้  ป่าอุดมสมบูรณ์  ไม่มีมลภาวะ  มีแหล่งน้ำลำธาร  แม่น้ำลำคลอง  มีหน่วยงานรับผิดชอบดูแลเคร่งครัด   ใช้พลังงานอย่างประหยัด)
  • โครงสร้างพื้นฐาน ( มีถนนสะดวก  น้ำประปาใสสะอาด  มีไฟฟ้าใช้ทุกครัวเรือน)
  • ความปลอดภัย (ปลอดยาเสพติด  ไม่มีอาชญากรรม  โจรขโมย)
  • รักษาและทำนุบำรุงวัฒนธรรมประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น

     อ่านแล้วก็ทำให้เข้าใจ  และตัวเองก็เปิดใจกว้างขึ้นเพราะเดิมนั้นมีอคติกับแผนชุมชนบางแห่งขอรับการสนับสนุนอุปกรณ์ Fitness มีตั้งแต่ลู่วิ่ง ไปจนถึงเครื่องลดพุง งบประมาณเป็นแสน.. แต่ต้องให้นะเพราะมันคือ  ความสุข..???

หมายเลขบันทึก: 171433เขียนเมื่อ 18 มีนาคม 2008 10:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 พฤษภาคม 2012 14:09 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

สวัสดีคะ

มาอ่านบันทึกนี้ ดิฉันก็เพิ่งจะทราบถึงตัวชี้วัดความสุข ว่ามี 2 ระดับ

แถมด้วยปิดท้ายบันทึกเห็นข้อความว่าแผนชุมชนบางแห่ง ขอรับการสนับสนุนอุปกรณ์ fitness นั้น หากคนในชุมชน ใช้อย่างรู้คุณค่า ความสุขก็ย่อมเกิดคะ เพราะนอกเหนือจากจะเป็นแค่ที่ออกกำลังกาย แต่มองดีๆ เหมือนเป็นสถานที่ให้คนในชุมชนมาพบปะกันด้วยนะคะ ทั้งนี้หากหากิจกรรมเสริมให้ทุกคนในชุมชนมาออกกำลังกายด้วย ยิ่งทำให้ทุกคนมีสุขภาพแข็งแรงอีกด้วย

ดิฉันว่าอาจจะต้องลองคิดว่า ชุมชนจะมีแผนจัดการอุปกรณ์พวกนี้อย่างไร และมีแผนจะทำกิจกรรมอะไรบ้าง ซึ่งสอดคล้องกับงบที่ขอไปเพื่อจัดซื้ออุปกรณ์ดังกล่าวมาคะ

พี่แอ๊ว- พี่ปรีชา ชนบท

สวัสดีค่ะ หัวหน้าอ้อ

บันทึก ตัวชี้วัดความสุข นี้พี่ชอบมากๆเลยกำลังค้นหาความสุขของตัวเองพอดี ( ระดับบุคคลและครอบครัว )ได้หมดทุกข้อก็เกินสุขที่จะสุขยิ่งแล้ว....แต่พี่ว่า " สุขเป็นก็เป็นสุข " ในทุกๆเรื่องนะ เหมือนพระท่านว่าไว้ไงคะ ส่วนความสุขระดับชุมชนพี่เข้าใจยิ่งๆๆๆๆๆๆๆๆๆ แค่ชุมชนเสนอขออะไรตัวพี่จะเป็นเสียงหนึ่งในการช่วยสนับสนุน....หล่ะ..มากกกกกก คงเป็นเพราะทำงานกับชุมชนมานานนี้เอง ดีใจจัง หัวหน้าอ้อ เปิดใจกว้างเข้าใจชุมชนมากขึ้นค่ะ

คุณมะปรางเปรี้ยว ขอบคุณคะ ที่ร่วมแสดงความคิดเห็น..เห็นด้วยว่า..ต้องช่วยเหลือในการบริหารจัดการและการดูแล เพื่อให้เกิดความยั่งยืนในทุกกิจกรรมที่ได้รับ.. ความสุขจะเกิดจากระดับบุคคลก่อน... แล้วจึงไปถึงระดับชุมชน.. ระดับบุคคล ก้จะเน้นการมีสุขภาพที่ดี ครอบครัวอบอุ่น เป็นตัวตั้งเลย.. ตอนนี้ดิฉันกำลังดูหนังซีรีย์เกาหลีเรื่องเพลงรักในสายลมหนาว.. คำอวยพรสุดท้ายที่พระเอกจะแยกจากนางเอกคือ..ขอให้กินอิ่ม นอนหลับ.. เออหนอเข้ากับประเด็นนี้เลย  ความเจ็บปวดจากการแยกทางยังไม่เท่ากับสุขภาพ  ถ้ากินอิ่มและนอนหลับ ร่างกายแข็งแรงก็ต้องต่อสู้กับอะไรได้ทั้งปวง..

พี่แอ๊ว

ขอบคุณฮะ.. ความสุข..มีหลายมุมมอง..คณะกรรมการกลั่นกรองโครงการฯทุกคนพยายามเปิดใจกว้างนะคะ.. แต่อย่างไรก็ตามการตัดสินใจสุดท้ายของการอนุมัติงบอยู่ดีมีสุขขึ้นกับคณะกรรมการบริหารจังหวัดแบบบูรณาการ..บางครั้งเขาก็มองคนละมุมกับเรา ส่วนใหญ่มองด้านเศรษฐกิจเป็นหลัก.. ถ้าพวกท่านเหล่านั้นถามความเห็นเราก็จะดีนะ..แต่ไม่รู้จะถามหรือปล่าว...

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท